จินตนาการในเจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์

จินตนาการในเจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์

ครั้งแรกของงานศิลปะแสดงเดี่ยวในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พระองค์ทรงจัดนิทรรศการศิลปกรรม “หลากลาย หลายชีวิต” Various Patterns; Diversity of Life ใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ก่อนสำเร็จการศึกษา ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 

อาคารทั้งสี่ชั้นของหอศิลป์ดังกล่าว อัดแน่นด้วยงานศิลปะที่มีทั้งงานประติมากรรมและภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ 239 ชิ้น สะท้อนเรื่องราวของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในห้วงเวลาต่างๆ  ผสานไปกับประสบการณ์ชีวิตส่วนพระองค์ในห้วงเวลาต่างๆ เกี่ยวกับความสนใจด้านการศึกษาต่อครั้งนี้ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร หนึ่งในผู้ถวายการสอน เล่าถึงงานเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  

906 เปิดงานศิลป_๑๘๐๔๐๓_0005  

"ทรงอยากเรียนศิลปะมาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์แล้วแต่ไม่ได้เรียน วันหนึ่งผมกับอาจารย์วิรัญญา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัญญา ดวงรัตน์)ถวายงานเกี่ยวกับเรื่องศิลปะไทย สนพระทัยเรื่องนี้เพราะทรงหาข้อมูลสำหรับการออกแบบจิลเวลรี่ ระหว่างนั้นผมได้ดูงานเขียนรูปเสือกับผีเสื้อ กราบบังคมทูลคำแนะนำถวายแด่ทูลกระหม่อม ว่างานที่ทูลกระหม่อมทรงทำ ไม่ใช่แค่งานดีไซน์เครื่องประดับแต่เป็นงานอาร์ต เพราะพูดถึงความหมายในการออกแบบ สีสัน พระองค์ท่านทรงอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องศิลปะเลยตัดสินใจเรียนต่อ ผมเองยังคิดว่าทูลกระหม่อมทรงล้อเล่นหรือเปล่า แต่ทรงย้ำมาหลายครั้งว่า

‘ใบสมัครอยู่ไหนล่ะ จะมาเรียน’

ก็แปลกใจ เมื่อทรงเข้ามาสู่ระบการศึกษา ก็มีอาจารย์พิษณุ (ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร) เป็นประธานหลักสูตร อาจารย์ปรีชา(ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง) เป็นที่ปรึกษาหลักและอาจารย์ท่านอื่นๆ  ส่วนผมเป็นที่ปรึกษาร่วม ซึ่งการศึกษาในระดับปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาบัณฑิต ก็เหมาะกับพระองค์ท่าน เพราะมีทั้งงานด้านวิชาการ งานปฏิบัติและแสดงงานวิทยานิพนธ์ 

การถวายการสอน ยึดผู้เรียนเป็นหลัก เน้นการทำงานค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปินอาจไม่มีความรู้สึกนึกคิดว่าตัวเองคิดและอยากทำอะไร แต่การมาวิเคราะห์ให้ความรู้เชิงศิลปะ คือหน้าที่ของอาจารย์ที่สอนปริญญาเอก วิเคราะห์ในงานทูลกระหม่อมเองว่า ในเชิงศิลปะเราสามารถพูดในเรื่องอะไรได้บ้าง หรือวิเคราะห์ว่าทูลกระหม่อมครีเอทเป็นอะไรได้อีก นอกจากการค้นหาแนวทางของตัวเองมาแล้ว

งานของทูลกระหม่อม ทรงงานศิลปะมานาน ไม่ใช่เพิ่งเรียนรู้ใหม่และมีข้อดีของการเป็น Self Taught Artist หรือการศึกษาด้วยตัวเองตามธรรมชาติ ทำให้มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง สามารถทำงานศิลปะด้วยความเข้าใจของตัวเอง ผิดกับศิลปินบางคน ยึดติดกับทักษะทางฝีมือ ความเชื่อนี้ทำให้นักศึกษาไม่สามารถใช้จินตนาการ หรือความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเพราะติดกับรูปแบบทักษะฝีมือ ดังนั้นหน้าที่ของอาจารย์ต้องพูดคุยหรือสอนในเชิงแลกเปลี่ยน ให้ข้อคิดเสนอแนะ มากกว่าครูสอนเพื่อให้ได้รับความรู้เพียงอย่างเดียว เหมือนเป็นพี่เลี้ยงในปริญญาเอก"

แม้การเป็นนักศึกษาปริญญาเอก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงปฏิบัติควบคู่ไปกับพระกรณียกิจประจำวัน ทว่าห้องเรียนของพระองค์มีอยู่ทุกที่ 

"ชั่วโมงเรียน มีการนัดแนะกันว่า เป็นที่มหาวิทยาลัยบ้าง ที่พระตำหนักทิพย์พิมานบ้าง หรือบางทีสถานที่ที่พระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจ ก็เป็นห้องเรียนได้เสมอ ทรงนำอุปกรณ์วาดภาพติดพระองค์ตลอด เหมือนในวันนี้ พระองค์ทรงมาเร็วว่ากำหนดการเปิดนิทรรศการ เลยไปประทับพักที่กองทัพบกก่อน ระหว่างที่รอเวลาก็ทรงวาดรูปไปด้วย วาดฝึกมือในแนวชุดใหม่เรื่องนก ว่าเป็นเรื่องอะไรบ้าง แล้วทรงนำมาส่งอาจารย์ให้ดู ได้คุยกันว่าทรงสนใจเรื่องอินลิเม้นท์ของนก  

เช่นเดียวกับตอนที่พระองค์ทรงสนใจผีเสื้อ เกิดแรงบันดาลใจ เป็นงานออกแบบจิวเวลรี่ 300 ชิ้น ตามคำกราบบังคมทูลเชิญจากบริษัทเอสปรี ลอนดอน สหราชอาณาจักร  ซึ่งเขาทึ่งในพระอัจฉริยะภาพเป็นอย่างมาก กราบบังคมทูลว่า พระองค์ท่านทรงเป็นดีไซเนอร์ไม่กี่พระองค์ทรงเขียนผลงานด้วยมือ แทนการวาดเส้นผ่านคอมพิวเตอร์

อีกทั้งผลงานเครื่องประดับรูปผีเสื้อเป็นที่นิยมมาก รายได้จากการจำหน่าย นำมาเป็นทุนช่วยเหลือผู้ป่วยในมูลนิธิจุฬาภรณ์ ซึ่งในงานนิทรรศการครั้งนี้ เราจะเห็นความหลากหลายของผีเสื้อจากจินตนาการ ไม่เน้นเรียลลิสติก เกิดความคิดสร้างสรรค์และลวดลายของผีเสื้อแต่ละตัว มีปีกไม่เหมือนกันที่ยังอิงกับความสวยงาม มีเรื่องราวของธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง 

906 เปิดงานศิลป_๑๘๐๔๐๓_0023

เมื่อก่อน สายพระเนตรที่ทรงมองผีเสื้อ จะทรงวาดออกมาเป็นดอกไม้มีผีเสื้อเป็นส่วนประกอบเล็กๆ ต่อมาขยายลวดลายแบบโคสอัพกลีบดอกไม้ใหญ่ขึ้น ผีเสื้อเล็กลง นับเป็นพัฒนาการลายเส้นอย่างหนึ่งที่ดูแตกต่างออกไปจากเดิม โดยเชื่อมโยงพื้นฐานความรู้เดิมที่ทูลกระหม่อมทรงมีทางด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์เข้ากับงานศิลปะ

906 เปิดงานศิลป_๑๘๐๔๐๓_0027

906 เปิดงานศิลป_๑๘๐๔๐๓_0022

ชุดผีเสื้อ 

ส่วนรูปเสือ ตั้งแต่ทูลกระหม่อมตัดสินใจเรียนปริญญาเอก ก็เขียนเสืออย่างจริงจังรับสั่งว่า มือว่างไม่ได้ อยากจะเขียนไปเรื่อยๆ อยากเรียนต่อ อยากมีความรู้ใหม่ และยังสะท้อนความคิดและจินตนาการ เคยรับสั่งว่า นึกถึงใคร ก็อยากเขียนเสือตัวนี้ถึงเรื่องอะไร

ดังนั้นเสือในพระทัยของทูลกระหม่อม หมายถึงความผูกพันกับบุคคลสำคัญ ลายเส้นของเสือที่ใครๆ มองว่าเป็นตัวที่หมายถึงความสง่างามและอำนาจ แต่เสือในพระทัยของพระองค์ คือความเมตตา สะท้อนไปในหลวงรัชกาลที่ 9 คือผลงานที่มีชื่อว่า ฝนทิพย์ เป็นภาพใบหน้าเสือแนบแผ่นดิน หมายถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จเยี่ยมดูแลราษฎร ภาพนี้เขียนช่วงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

29791199_1645555362188467_3038636400728415157_n

ผลงานชื่อว่า ฝนทิพย์

ความผูกพันระหว่างพ่อกับลูก เช่น ผลงานชื่อ ภาศน์ ทูลกระหม่อมเคยรับสั่งว่า พระองค์และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นๆ เสด็จพระราชดำเนินเรียนต่อต่างประเทศ อย่างที่พวกเราเคยเห็นในภาพถ่าย พอมาเป็นภาพเขียนปากกาสีน้ำบนกระดาษ จึงเป็นรูปลูกเสือสองตัวเกาะอยู่บนเสือตัวใหญ่ 

เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินกับราษฎร เป็น ภาพผลงานไม่มีชื่อ ทูลกระหม่อมทรงนึกถึงตอนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงต้องฝ่าอุปสรรคมากมายในการช่วยเหลืประชาชน สะท้อนผ่านรูปเสือลุยผ่านกองเปลวไฟที่เสือต้องลุยข้ามน้ำมาดับทุกข์ให้ราษฎร์ ส่วนพระอาทิตย์เปรียบเสมือนพลังที่ค่อยซัพพอร์ตท่าน

บางภาพยังหมายถึงทูลกระหม่อม คือภาพเสือสวมใส่จิลเวลรี่ และมีอักษร CM 1957 อักษรย่อพระนามและปีค.ศ.ประสูติ ส่วนภาพที่ศิลปินส่วนใหญ่ชอบกับมากที่สุด คือ ผลงานที่มีชื่อว่า โมเลกุล ใช้เทคนิคง่ายๆ แต่ความซับซ้อนอยู่ที่ดินสอสีที่ไล่ระดับตั้งแต่ 1-10 มาเขียนซ้อนกัน ทุกคนดูแล้วเป็นงานที่วิเศษมาก"

29683668_1645558955521441_7062176599087063148_n

ภาพเสือสวมใส่จิลเวลรี่ และมีอักษร CM 1957 อักษรย่อพระนามและปีค.ศ.ประสูติ

นี่จึงเป็นจุดเด่นที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงแสดงพระอัจฉริยภาพเป็นที่ประจักษ์ 

"ทรงไม่เน้นถึงอะนาโตมีหรือเน้นความเหมือนในตัวรูปทรง เพราะงานศิลปะยุคปัจจุบัน จะปฏิเสธทักษะ แล้วให้ความสำคัญกับความคิดและจินตนาการมากกว่า งานของท่านถือว่าเข้ายุคสมัยนะ ดูสด ตรงไปตรงมา ตาผู้ชมมองเห็นก็คิดเป็นอื่นไมได้ นอกจากความเป็นจริงที่เห็นตรงนั้น แล้วในงานแสดงครั้งนี้ ยังมีงานประติมากรรม ที่คณาจารย์เห็นเห็นว่างานทูลกระหม่อมน่าจะขยายงานเป็นอะไรได้บ้าง จึงกราบบังคมทูลว่างานสามารถทำเป็นเป็นอินเตอร์แอคทีฟ หรืองานประเภทประติมากรรม ทรงสร้างเป็นงานที่มีชื่อว่า เหล็กกล้า ทำจากแผ่นโลหะเชื่อมต่อกัน งานถักเส้นโลหะ เป็นหมู่ผีเสื้อบินรอบดอกกุหลาบ 

29791946_1645554695521867_6431319447565298507_n

ผลงานชื่อว่า เหล็กกล้า

906 เปิดงานศิลป_๑๘๐๔๐๓_0026

งานศิลปะแบบอินเตอร์แอคทีฟ

906 เปิดงานศิลป_๑๘๐๔๐๓_0024

งานถักเส้นโลหะ

งานผ้าในผลงานที่มีชื่อว่า วาเลนไทน์ กับผลงานที่มีชื่อว่า คิคุ เป็นเสือใส่กิโมโน เพราะทูลกระหม่อมเคยไปเรียนที่ญี่ปุ่น ทรงผูกพันกับประเทศนี้ พระองค์ทรงสนพระทัยผ้าปักจากพระราชมารดาที่เคยทรงทำงานผ้าปัก ก็ทรงเรียนรู้ สังเกตจากสิ่งที่เห็นวิธีการสีตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ผู้ถวายการสอนแนะนำให้มีผู้ช่วยศิลปิน ลองทำมาให้ดูเป็นสองมิติ สามมิติ เพื่อให้ทรงเห็นว่าพระองค์ทรงทำได้ เพราะความจริงแล้ว สิ่งสำคัญของศิลปินคือความคิด บางทีศิลปินอาจเข้าใจว่า งานคนๆ นั้นต้องทำด้วยตัวเอง แต่ปัจจุบัน งานศิลปะขยายวงออกไปกว้างมาก ศักยภาพศิลปินคนหนึ่งทำได้แค่ของตัวเองมันไม่ได้แล้ว ศิลปินอาจมีผู้ช่วยสามารถช่วยผลิตคิดงานในเทคนิคอื่นๆ ที่ไม่เคยมีความถนัดมาก่อน วงการศิลปะปัจจุบันพัฒนาเป็นลักษณะนี้ 

30127933_1645554775521859_6806953190506940237_n

ผลงานชื่อว่า วาเลนไทน์ 

906 เปิดงานศิลป_๑๘๐๔๐๓_0002

ผลงานชื่อว่า คิคุ

เช่นเดียวกันสมัยก่อนศิลปินมีผู้ช่วยเหมือนกัน เขียนรูปจิตรกรรมฝาผนังทั้งวิหาร ศิลปินต้องมีลูกมือคอยควบคุมกำกับ งานนี้จึงเกิดขึ้นโดยทูลกระหม่อมทรงปรึกษาร่วมกับผู้ถวายการสอนคัดเลือกงานที่ทรงวาดทุกวัน ตรงนี้เป็นผลดีต่อการปริญญาเอก เราเห็นเส้นทางของการทำงานศิลป ทูลกระหม่อมอยู่ในขั้นถ้าผ่าน ก็จะเข้าสู่ช่วงวิทยานิพนธ์ เป็นช่วงเวลาทำงานเพื่อเป็นศิลปนิพนธ์ ตามระเบียบที่นักศึกษาจะต้องเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้นก็ราวๆ ปีหน้า  

906 เปิดงานศิลป_๑๘๐๔๐๓_0014

ตุ๊กตาเย็บปักประกอบผ้าและลูกโป่ง

ทูลกระหม่อมทรงพระเกษมสำราญ ตอนที่พระดำเนินทอดพระเนตรงาน ทรงมั่นพระทัยมากขึ้น ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะทำงานศิลปะได้มากขนาดนี้ ทรงเล่ารายละเอียดเพิ่มเติมว่า พระองค์ทรงคิดอะไร งานเมื่อก่อนไม่ได้เห็นเป็นชิ้นใส่กรอบ งานของศิลปิน เวลาเห็นงานวางไว้เฉยๆ จะชิน ดูธรรมดา แต่ถ้านำไปใส่กรอบสมบูรณ์แล้ว ยิ่งนำไปติดในมิวเซียม คุณค่ามากขึ้น พอพระทัยมาก ซึ่งใครที่ได้มาชมนิทรรศการนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ผมคิดว่าศิลปะจะเป็นตัวสื่อความหมาย ชวนให้เกิดจินตนาการอันบริสุทธิ์ใจ และความรู้มากมายผ่านงานศิลปะร่วมสมัย"