'เฌอปราง BNK48' ร่วมนับถอยหลังเทียนกง-1ตกสู่โลก บทสรุปจากห้วงอวกาศ

'เฌอปราง BNK48' ร่วมนับถอยหลังเทียนกง-1ตกสู่โลก บทสรุปจากห้วงอวกาศ

นักร้องสาวเก่ง "เฌอปราง BNK48" จะร่วมนับถอยหลังเทียนกง-1ตกสู่โลก บทสรุปจากห้วงอวกาศ จัดขึ้นที่เซ็นทรัลเวิลด์ พรุ่งนี้

งาน "นับถอยหลังเทียนกง-1 ตกสู่โลก: บทสรุปจากห้วงอวกาศ" จัดขึ้นเพื่อให้สาธารณชนเกิดการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการติดตามและเฝ้าระวังวัตถุอวกาศและเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ สถานีอวกาศเทียนกง–1 ของจีน ที่คาดว่าจะตกลงพื้นผิวโลกราวกลางเดือน เมษายน 2561 ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในพิกัดเสี่ยงต่อการตกของชิ้นส่วนยานอวกาศ GISTDA - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา ในวันที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 16:00 น. ณ ลานเอเทรี่ยม 3 ชั้น 3 ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์

2_2

"เฌอปราง อารีย์กุล" กัปตันวงไอดอลเกิร์ลกรุ๊ป BNK48 จะร่วมเปิดมุมมองผ่านความคิดคนรุ่นใหม่ ร่วมกับ คุณพรเทพ นวกิจกนก หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์วงโคจรและวัตถุอวกาศจากจิสด้า คุณกฤษณ์ คุณผลิน ผู้แทนศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐ และ 3 นักเรียนทุนจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)

ภายในงานเสวนารับฟังข้อมูลเชิงวิชาการจาก ผศ.ดร.ชูเกีรยติ น้อยฉิม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอวกาศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์วงโคจรGISTDA (จิสด้า) และร้อยตรีพงศธร ศิริสาคร ผู้แทนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

-ความรู้จากอวกาศที่คนไทยควรรู้ ทำไมเทียนกงจึงต้องตก? ขนาดของชิ้นส่วนที่ตกลงมาจะขนาดใด? มีโอกาสทำลายบ้านเรือนเสียหายอย่างไร?

-ใครเสี่ยงโดนชิ้นส่วนของเทียนกง 1 ตกใส่ที่สุด เสี่ยงแค่ไหน? คุณอาจเป็นผู้โชคร้าย เพียงแค่คนเดียว ที่โดนชิ้นส่วนขยะอวกาศตกใส่หรือไม่?

3_3

-มาร่วมกันจับตาดูสถานการณ์ และเตรียมพร้อมรับมือกับ สถานีอวกาศเทียนกง–1
-สิ่งประดิษฐ์อวกาศ สัญญาณเตือนมวลมนุษยชาติให้คำนึงถึงสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นไปในอวกาศ และกำลังจะเป็นขยะอวกาศในอนาคต นี่ใช่เรื่องปกติไหม ? เราจะรับมืออย่างไรในอนาคต ?

นอกจากนั้นระหว่างเวลา 12.00- 20.00 น. ภายในบริเวณงานยังจัดนิทรรศการแสดงเกี่ยวกับสถานีอวกาศเทียนกง-1 , จำลองห้องควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม นิทรรศการวัตถุอวกาศ สถานีอวกาศและขยะอวกาศ รวมถึงระบบ EMERALD ระบบที่พัฒนาโดยจิสด้า เพื่อใช้ดูวงโคจรดาวเทียมและประยุกต์ใช้ดูวงโคจรของเทียนกง-1 ได้ และนอกจากนี้ยังมีดาวเทียมและสถานีอวกาศอื่นๆ บนอวกาศ ที่เป็นเรื่องราว บันดาลใจ ของเยาวชนที่มีความฝันอยากทำงานเกี่ยวข้องกับยานอวกาศ โดยประเทศไทย ยังมีดาวเทียมไทยโชต เพราะอวกาศใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ "นับถอยหลังเทียนกง-1 ตกสู่โลก บทสรุปจากห้วงอวกาศ" จะทำให้คนไทยรู้จักอวกาศได้มากขึ้น