เปิดพฤติกรรมสุขภาพคนไทยแต่ละเจเนอเรชั่น

เปิดพฤติกรรมสุขภาพคนไทยแต่ละเจเนอเรชั่น

เปิดพฤติกรรมสุขภาพคนไทยแต่ละเจเนอเรชั่น หญิงเจนวายเขตเมืองมีคู่นอนเฉลี่ย 5 คนเท่ากับชาย ทำงานเก่ง-แต่งงานช้า-ไม่อยากมีลูก

ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีการแถลงข่าว “เข้าใจพฤติกรรมต่างเจน ผ่านตัวชี้วัดสุขภาพคนไทย” โดยผศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ หนึ่งในคณะทำงานรายงานสุขภาพคนไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าโดยทั่วไปจะมีการแบ่งคนออกเป็น4รุ่นหรือ4เจเนอเรชัน โดยใช้เกณฑ์ตามช่วงปีเกิด ได้แก่ ไวเลนต์เจน(SilentGeneration) เกิดช่วงปี2468-2485เบบี้บูมเมอร์(Baby Boomer) เกิดปี2486-2503เจนเอกซ์(Generation X) เกิดปี2504-2524เจนวาย(Generation Y)เกิดปี2525-2548

นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งเป็นเจเนอเรชันอื่นอีก3กลุ่ม คือ เจนแซด (Generation Z) เด็กที่อายุประมาณ 10 ขวบ เจนอัลฟ่า(GenerationAlpha) อายุประมาณ5ขวบ และเจนซี (Generation C) ซึ่งไม่ได้แบ่งตามปีเกิดแต่เป็นกลุ่มคนที่มีชีวิตเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ตลอดเวลา หรือ คอนเน็คเท็ด(Connected)โดยประชากรไทยมีกลุ่มเจนเอ็กซ์มากที่สุด ราว 23 ล้านคนเจนวาย 22 ล้านคน เบบี้บูมเมอร์ 11.7 ล้านคน หลังเจนวายราว7.8ล้านคน และไซเลนต์เจน ประมาณ3ล้านคน

 ผศ.ดร.เฉลิมพล กล่าวอีกว่าจากการศึกษาสุจภาพคนไทย2559ทั้งพฤติกรรมทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมของคนในแต่ละรุ่น พบว่าเบบี้บูมเมอร์ พฤติกรรมทางสังคมเป็นกลุ่มที่เคารพกติกาทางสังคมมากที่สุดแต่ยอมรับความหลากหลายได้น้อยกว่ารุ่นอื่นๆ โดย70-80%แต่งงานก่อนอายุ30ปี มีการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย5ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้เพื่อติดตามข่าวสารทั่วไปโดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ และมีคนรุ่นนี้จำนวนมากที่อยู่ในวัยทำงาน ยังไม่มีหลักประกันรายได้ยามชราที่มั่นคง มีเพียง18%ที่มีหลักประกันรายได้ยามชราภายใต้กองทุนใดกองทุนหนึ่งเท่านั้น สำหรับพฤติกรรมทางสุขภาพ เป็นกลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุดถึง77%

เจนเอกซ์ที่เติบโตมากับวัฒนธรรมไทยกลิ่นอายต่างชาติจากการเข้ามาของรายการต่างชาติ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด และความเป็นเมืองมากขึ้น พฤติกรรมทางสังคมจึงเปิดกว้างกับความหลากหลายในสังคมและเทคโนโลยีมากขึ้นกว่าเมื่อเทียบกับเบบี้บูม มีอัตราการแต่งงานที่ช้าลงและครองโสดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า เป็นกลุ่มคนที่มีหลักประกันรายได้หลังเกษียณดีขึ้น แต่อาจต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น พึ่งลูกหลานได้น้อยลง ส่วนพฤติกรรมทางสุขภาพพบว่า ในบางด้านมีความเสี่ยงเพิ่มมากกว่าเบบี้บูม เช่น อายุเริ่มสูบบุหรี่และดื่มสุรา รวมถึงพฤติกรรมทางเพศ

เจนวาย พฤติกรรมทางสังคมพบว่า แต่งงานช้าและไม่ต้องการมีบุตร โดยให้เหตุผลว่าอยากมีอิสระ ดำรงชีวิตตามที่ต้องการโดยไม่มีห่วง รวมถึง สังคมปัจจุบันมีอันตรายมาก กลุ่วบุตรมีอันตราย หรือประพฤติผิด และกลัวจะไม่สามารถหาเลี้ยงบุตรได้คนเจนนี้ยังมีการเปลี่ยนงานบ่อย ใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดเฉลี่ย8ชั่วโมงต่อวัน ชอบใช้ชีวิตอิสระโดยมากกว่า1ใน3ใช้ชีวิตอยู่ในคอนโดมิเนียม หอพัก ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารสูงสุดถึง77%ของรายจ่ายทั้งหมด โดยนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านหรือซื้ออาหารสำเร็จมากขึ้น รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อย1ครั้ง/เดือนมากที่สุดถึง38%ขณะที่พฤติกรรมทางสุขภาพพบว่า เจนวายมีกิจกรรมพฤติกรรมทางกายน้อยที่สุด เพียง1.14ชั่วโมงต่อวัน เจนวายในเขตเมือง มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุเฉลี่ย15ปี และจำนวนคู่นอนเฉลี่ยในผู้หญิงสูงขึ้น โดยวัยรุ่นหญิง15-19ปี จำนวนคู่นอนเฉลี่ยอยู่ที่5คน เท่ากับวัยรุ่นชาย

“มีข้อกังวลสำหรับคนในเจนวายที่เมื่อเทียบเจนวายไทยและเจนวายในชาติตะวันตก พบว่ามีความแตกต่างกัน โดยในเรื่องสุขภาพ เจนวานตะวันตกจะรักสุขภาพ แต่เจนวายไทยยังมีการรักษาสุขภาพมากนัก เห็นได้จากอัตราการมีพฤติกรรมทางกายที่น้อย มีอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลืและสูบบุหรี่ด้านสังคม เจนวายตะวันตกจะมีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่เจนวายมีข้อมูลบางส่วนที่สะท้อนว่ามีการเคารพกฎกติกาสังคมต่ำกว่าคนในเจนอื่น และมีการมองในส่วนของตัวเองมากกว่า และด้านเทคโนโลยี เจนวายไทยมีการใช้เทคโนโลยีมากที่สุดวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง แต่การรู้เท่าทันสื่อยังอยู่ในระดับต่ำ”ผศ.ดร.เฉลิมพลกล่าว

ด้านรศ.ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การที่คนเจนวายมีการแต่งงานที่ช้าเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคม เนื่องจากอยู่ในวัยเรียนนานขึ้นจนถึงระดับอุดมศึกษา ขณะที่คนรุ่นเดิมอาจจะเพียงแค่ระดับประถมฯหรือมัธยมฯ ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ในอายุที่น้อยลงและมีคู่นอนมากขึ้น เป็นสิ่งที่ห้ามไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความมีอิสระในการใช้ชีวิต เช่น เด็กต่างจังหวัดมาเรียนในเมือง การเรียนแบบสหศึกษา ซึ่งบริบทและการเปลี่ยนแปลงโอกาสให้เพศสัมพันธ์ในอายุที่น้อยลงมากขึ้นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องนี้จึงต้องเน้นที่การให้ทักษะชีวิตและความรู้ที่ถูกต้องเพื่อป้องกันโรคติดต่อและการตั้งครรภ์ไม่พร้อม นอกจากนี้ ต้องดำเนินการโคงการกับผู้ใหญ่ให้เข้าใจเด็กด้วย เพราะถ้าไม่เปลี่ยความคิดที่ผู้ใหญ่มีต่อเด็กโอกาสที่จะทำโครงการต่างๆสำเร็จก็ทำได้ยาก

รศ.ดร.ชื่นฤทัย กล่าวอีกว่า หากเทียบระดับความเครียด นับว่าคนเจนวายมีความเครียดมากกว่าคนเบบี้บูมเมอร์เนื่องจากคนเบบี้บูมเมอร์อยู่ในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจ ความคาดหวังในการดำเนินชีวิตจึงไม่สูงมาก ช่วงใกล้เกษียณชีวิตจะประสบความสำเร็จมากกว่าช่วงเริ่มต้นทำงาน จึงมีความสุข ส่วนคนเจนวาย อยู่ในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หากไม่เตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาชีวิตอาจจะตกยุค จึงต้องมีการพัฒนาตนเองตลอดเวลาและต้องมีทักษะการใช้สื่อต่างๆ จึงต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน มีการเรียนรู้ที่สูงมาก จึงมีความเครียดค่อนข้างมาก แต่ก็มีส่วนที่ดีคือมีการพัฒนาตนเอง ไม่อยู่นิ่งและมีทักษะหลากหลาย

“การเข้าใจและยอมรับความแตกต่างของคนแต่ละยุคเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเติบโตในแต่ละยุคที่มีวิธีคิดและความเชื่อต่างกันจึงไม่ควรคาดหวังให้คนแต่ละยุคต้องคิดเหมือนกัน ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานขององค์กรเช่น การดึงจุดแข็งของเจนวายที่สามารถทำงานได้หลากหลายในเวลาเดียว โดยปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อจูงใจในการทำงาน เช่น ไม่ต้องตอกบัตรเข้างาน ไม่ถูกตีกรอบจนเกินไป รูปแบบการทำงานรวมถึงการศึกษา จึงไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเดียว จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆในการทำงานและการศึกษามากขึ้น อาจไม่จำเป็นต้องแตกต่างระดับบุคคลแต่ควรเป็นแบบรายความคาดหวัง”รศ.ดร.ชื่นฤทัยกล่าว

นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานกรรมการ คนที่2สสส. กล่าวว่า ทิศทางการพัฒนาสุขภาพคนไทยต้องให้เท่าทันพฤติกรรมของคนในแต่ละยุค เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมทางสังคมล้วนเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางสุขภาพ การทำงานของสสส.จึงเน้นในมิติต่างๆที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางสุขภาพสำหรับกลุ่มคนในแต่ละช่วงวัย อย่างเช่น มิติเศรษฐกิจกลุ่มเบบี้บูมเป็นกลุ่มที่มีหลักประกันรายได้วัยชราน้อยที่สุด จึงทำงานร่วมกับกระทรวงแรงงานในการสนับสนุนการขยายอายุและโอกาสในการทำงานของแรงงานในระบบพร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการออมในกองทุนการออมแห่งชาติตั้งแต่อายุยังน้อยในส่วนของปัจจัยทางสุขภาพนั้น ล่าสุดได้ร่วมมือกับกรมอนามัย กระทรวงแรงงานในการสร้างเสริมสุขภาพแก่กลุ่มคนวัยแรงงาน เป็นต้น