'ประยุทธ์'ชี้ถ้าทุกอย่างเสร็จปี58ได้เลือกตั้ง

'ประยุทธ์'ชี้ถ้าทุกอย่างเสร็จปี58ได้เลือกตั้ง

"ประยุทธ์"ลุยโรดแม็พ3ระยะ เผยรธน.ชั่วคราวเกือบสมบูรณ์ แย้มทุกอย่างเสร็จปี58จะได้เลือกตั้ง แต่ต้องช่วยกัน

27มิ.ย.2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ว่า วันนี้มาพบกันอีกครั้งหนึ่งในทุกวันศุกร์ เมื่อวานนี้ ได้มีการสรุปผลการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีผลสรุปการดำเนินการในด้านต่างๆ มาตามลำดับ

อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาอีกหลายเรื่องที่เราต้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อปากท้อง และความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ที่เราได้สรุปมามีอยู่หลายด้านด้วยกัน พี่น้องประชาชนบางท่าน ได้แสดงความห่วงใยและเป็นกังวลว่า คสช. จะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไรในหลายๆ ด้าน เช่น มีความสลับซับซ้อนหลายมิติ ซึ่งครอบคลุมเชื่อมโยง

ทั้งด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง จิตวิทยาและอื่นๆ และเป็นปัญหาที่สะสมมายาวนานหลายปี หลายรัฐบาล ก็เป็นห่วงว่าเราจะทำได้สำเร็จหรือไม่ วันนี้ คสช. จะมาเรียนให้ทราบว่า เราจะพยายามทำอย่างเต็มที่โดยใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น ให้เกิดผลโดยเร็วที่สุด ซึ่งวันนี้เรามีแผนการในการปฏิบัติหน้าที่อยู่หลายขั้นตอนด้วยกัน มีการนำปัญหามาจัดอันดับ จัดความเร่งด่วน จัดได้เป็นระยะ ดังนี้


พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ระยะแรก คือ ระยะเฉพาะหน้า เราจะดำเนินการภายในห้วง 3 เดือนของการดำเนินการ ซึ่งเราได้ดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยทันที แก้ไขรายวัน เช่น เรื่องการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การพนัน ยาเสพติด การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การปราบปรามจับกุมอาวุธสงคราม การปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพลต่างๆ ผู้ประกอบการรถรับจ้างที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขบวนการลักลอบนำพาแรงงานต่างด้าว มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องค่าครองชีพ การช่วยเหลือเกษตรกร การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อปลดล็อคปัญหาอุปสรรคในด้านการค้า การลงทุน ทั้งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 โดยได้มีการการตรวจสอบมาตามลำดับ ในทุกโครงการที่เป็นของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ในด้านความจำเป็น ความมีประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ก่อนการอนุมัติจะต้องผ่านการตรวจสอบ กลั่นกรอง อีกชั้นหนึ่ง ในส่วนของการดำเนินการระยะแรก อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ เรื่องของการเตรียมการในการปฏิรูปเพื่อเข้าสู่การปรองดอง สมานฉันท์ และการปฏิรูปในระยะที่สอง

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ส่วนของระยะสั้นนั้น เมื่อสักครู่ตนได้พูดถึงเรื่องด่วน ซึ่งมีความเดือดร้อนโดยตรง ระยะสั้น เราจะใช้ระยะเวลาประมาณไม่เกิน 300 วัน เพื่อดำเนินการปฏิรูปในทุกด้าน ให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม เช่น ปัญหาการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น การปฏิรูปการเมือง กระบวนการการเข้าสู่อำนาจ การใช้อำนาจ กระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ การปฏิรูปพลังงาน สื่อสารมวลชน การศึกษา ระบบคุณธรรมจริยธรรม การสร้างความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ลดความเลื่อมล้ำ การเข้าถึงทรัพยากร และอื่นๆ อีกมากมาย ในขั้นนี้เราจะดำเนินการเมื่อมีรัฐบาล สภานิติบัญญัติ และสภาปฏิรูป สำหรับปัญหาสำคัญอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาทบทวนละเอียด และคำนึงถึงผลได้ผลเสีย ที่จะกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชนส่วนใหญ่ในวงกว้าง

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับระยะยาว คงหลังจากการเลือกตั้ง จะนำปัญหาจากระยะที่ 1 และ 2 ไปสู่ระยะที่ 3 ปัญหาใดที่ยังไม่แล้วเสร็จ คงต้องไปดำเนินการให้ต่อเนื่อง และแก้ไขโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้การปฏิรูปที่เราทำมาทั้ง 2 ระยะนั้น มีความสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์สุขของคนทุกกลุ่มทุกฝ่ายต่อไป เรื่องประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการบริหารประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ คสช. มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วน ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน

" นนี้เรารับฟังนโยบายและเสียงจากประชาชน และได้เสนอแนะนโยบายต่างๆ ที่ประชาชนได้เสนอมา นำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เช่น การพบปะพูดคุยกับสภาหอการค้าไทย สภาหอการค้าต่างประเทศ เร่งรัดให้กระทรวงพาณิชย์ ลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ และเน้นย้ำให้กระทรวงต่างๆ เร่งรัด แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน ทั้งนี้เราจะรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะของทุกกลุ่ม เพื่อให้การบริหารงานเหล่านั้น เป็นไปตามความคาดหวังของประชาชน และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ให้ทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดช่องทางในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ วันนี้ได้มีการจัดตั้งหลายหน่วย เพื่อจะนำคำร้องทุกข์และคำแนะนำต่างๆ มาสู่การพิจารณาแก้ไขในทั้ง 3 ระยะ " พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว


ระบุคสช.ไม่นิ่งนอนใจหลังผลโพลล์พบปชช.พอใจมากขึ้น

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนของโพลล์เมื่อไม่นาน ได้ระบุว่าความพึงพอใจของประชาชนอยู่ที่ 8.82 เต็ม 10 ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตาม คสช. ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือยินดีกับผลสำรวจมากนัก ตนเห็นว่างานต่างๆ ยังมีอยู่อีกมากมาย เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องทำให้ทุกคนมีความสุข ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ ความทุกข์กลับมาอยู่ที่ คสช. เราก็ยินดีและเต็มใจที่จะทำให้กับพวกท่าน เราจะต้องแก้ไขอีกมาก หลายเรื่อง หลายประการ วันนี้ได้เร่งให้กระทรวง ส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ไปจัดหาและจัดทำความคิดเห็นของประชาชน ความคาดหวังต่างๆ เพื่อนำมาพิจารณาดำเนินการต่อไปทั้งหมด

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องของการจัดกลุ่ม จัดระเบียบ วันนี้ดำเนินการมาเป็นลำดับ วันนี้เรารู้ว่าต้องทำอะไรในระยะที่ 1 และอะไรต้องไประยะที่ 2 และต้องเตรียมอะไรในระยะที่ 3 เราทำทั้ง 3 อย่างไปในเวลาเดียวกัน มีคณะทำงานมากมายในขณะนี้ สำหรับเรื่องของความมั่นคงนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ความเร่งด่วน เราจะต้องนำความมั่นคงเข้ามาบูรณาการ เข้ามาเกี่ยวข้องในทุกมิติ ในทุกด้าน ในส่วนของงานปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเศรษฐกิจ สังคม จิตรวิทยา หรืออื่นๆ ยังขาดมิติงานทางด้านความมั่นคง จะทำให้มีปัญหาอื่นๆ ตามมามากมายในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของความขัดแย้งกันทางการเมือง จนนำไปสู่ความแตกแยก การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ที่เน้นในเรื่องผลกำไร แรงงานราคาถูก ส่งผลให้เกิดปัญหาร้ายแรง เกิดแรงงานนอกระบบ ผิดกฎหมาย ปัญหาค้ามนุษย์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน

หัวหน้า คสช. กล่าวว่า เรื่องของการท่องเที่ยว โดยมองที่ปริมาณเป็นหลัก มีรายได้อย่างเดียว จะทำให้เกิดปัญหามาเฟียและกลุ่มก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ถ้ามุ่งหวังอย่างเดียว ก็จะเกิดการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป สำหรับด้านการพัฒนาการค้าการลงทุน ตามแนวชายแดน ระเบียบประเทศเพื่อนบ้านตลอดระยะทาง 5,800 กิโลเมตร ถ้าหากเราไม่คำนึงถึงความมั่นคง ปัญหาเขตแดน ปัญหาเรื่องการหลั่งไหลของอาชญากรรม แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายก็จะเข้ามา เพราะว่าเราไม่ได้มีรั้ว วันนี้ก็ต้องเพิ่มวิธีการ ทำอย่างไรเราจะเฝ้าระวังให้เต็มที่ในพื้นที่แนวชายแดน สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลงานด้านความมั่นคงด้วย และเสริมด้วยทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น กล้อง หรืออุปกรณ์ในการดักจับความเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่เป็นที่รกทึบ

สำหรับการสร้างความมั่นคง นอกจากเราจะมีความเข้มแข็งของทหาร หรือกองกำลังที่เข้มแข็งแล้ว ตนเห็นว่าสิ่งที่สำคัญวันนี้เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกภาคส่วน ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ประชาชน ภาคประชาสังคม นิสิตนักศึกษา นักเรียนที่ต้องมีจิตสำนึก ในเรื่องความมั่นคง มีความรับผิดชอบ มีวิสัยทัศน์ว่า เราจะทำอย่างไรให้ประเทศชาติปลอดภัย ทุกคนต้องถือว่าเป็นงานของทุกคน จะต้องยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวม กฎหมายว่าอย่างไร ผลประโยชน์ของประเทศชาตินั้นสำคัญแค่ไหน อันนี้ต้องยึดถือเป็นที่ตั้ง ปัญหาต่างๆ ก็จะได้ลดลำดับลงไป ถ้าหากเราเข้มแข็งเพียงพอ ปัญหาเหล่านั้นจะไม่สามารถลุกลามบานปลายได้ในระยะต่อไป

"วันนี้ต้องร่วมมือกัน เราก็พยายามสร้างความเข้าใจ มีการประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมต่างๆ ให้ทุกได้มาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผู้ที่เห็นต่างกันก็จะได้รับรู้ความเป็นไป และเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ยอมรับกันได้ เห็นต่างแค่ไหนก็ตาม แต่ต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และมีกติกาของสังคม คือกฎหมายที่จะทำให้สังคมนั้น เป็นสังคมที่ปลอดภัย ร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศชาติ ให้ต่างชาติเขายอมรับเรา ปัญหามากมายในเรื่องของต่างชาติในปัจจุบัน เพราะเรายังพึ่งพาในเรื่องของการส่งออกเป็นหลัก รายได้ของประเทศในปัจจุบันประมาณ 70% เราต้องพึ่งพาการส่งออกทั้งสิ้น และเป็นการส่งออกในส่วนของวัตถุดิบ ที่มีมูลค่าต่ำเป็นจำนวนมาก ก็ต้องแก้ไขกันต่อไปในเรื่องนี้ " หัวหน้า คสช. กล่าว


ยันสมาคมผู้ประกอบการ-นักธุรกิจอียู-สหรัฐยังลงทุนกับไทย

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับท่าทีนานาชาติในปัจจุบันที่พวกเราทุกคนเป็นห่วง ไม่ว่าจะเป็น ที่ประชุมคณะมนตรีต่างประเทศของ อียู ประจำเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศไทย และได้พิจารณาทบทวนความร่วมมือกับไทยบางประการ เพื่อมุ่งหวังให้ไทยเดินหน้าจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว ตนได้เรียนให้ทราบถึงปัญหาว่า ปัญหาของเราคืออะไร การเป็นประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์นักจะเป็นอันตรายต่อทั้งเราและเขาด้วย เราพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะทำตามที่สังคมโลกจับตามองอยู่ให้ดีที่สุด วันนี้การจัดการเลือกตั้งในปัจจุบัน ถ้าหากเรายังจัดอยู่ จะเป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และประเทศชาติจะกลับไปสู่วังวนเดิม ในเรื่องของการขัดแย้งกัน ใช้ความรุนแรงต่อกัน ทุจริตคอรัปชั่นของกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง การก่อการร้าย การใช้อาวุธสงคราม เราคงยอมตรงนั้นไม่ได้อยู่แล้ว ตนคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่คงเข้าใจ และไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น

"ถ้าเราดูต่างประเทศวันนี้ หลายประเทศในโลกมีการสู้รบกัน มีการใช้อาวุธสงคราม มีการแบ่งพวก แบ่งฝ่าย รบกันในเมือง และต่างชาติก็เข้าไปแก้ไข ผมคิดว่าเราไม่น่าจะไปถึงจุดนั้น ต้องระมัดระวังให้มากที่สุด เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะปฏิรูปให้ได้โดยเร็ว และทำให้ประเทศไทยนั้นเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อียูหรือสหรัฐอเมริกา จะมีความเข้าใจที่เหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศในปัจจุบัน ที่เข้าใจสถานการณ์ดี และมีความพึ่งพอใจในการแก้ไขปัญหาของพวกเราในวันนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

หัวหน้า คสช. กล่าวอีกว่า วันนี้สมาคมผู้ประกอบการและนักธุรกิจจากกลุ่มประเทศอียูเอง จากสหรัฐอเมริกาเอง ก็ได้มีการพบปะพูดคุยกันอยู่แล้ว และยังคงดำเนินความสัมพันธ์ในเรื่องการค้าการลงทุนกับไทยอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในส่วนมาตรการต่างๆ ของสากล หรือประชาคมโลก ตนอยากให้พี่น้องคลายกังวล เราจะพยายาม เราไม่อยากจะไปแก้ตัว หรือไปโต้ตอบให้เกิดความรุนแรงต่อกัน เราเป็นมิตรประเทศกันมา บางประเทศเป็น 100 กว่าปี บางประเทศก็ 50 ปี 30 ปี ตามลำดับ เราต้องสร้างความเข้าใจให้เขา และให้เขารู้ว่าเรามีความมุ่งหมายอย่างไร มีเจตนารมณ์ในการบริหารครั้งนี้อย่างไร เราไม่อยากจะไปประนามเรากันเองให้ต่างชาติเขารู้ว่าเรามีข้อบกพร่องต่างๆ มากมายอย่างไร แต่บางครั้งมีความจำเป็นเหมือนกัน เพราะเขาไม่เข้าใจ

พล.อ.ประยุทธ กล่าวว่า เมื่อที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง ท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ให้การต้อนรับท่านทูตสหรัฐฯ ในการเข้าหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน รับทราบแนวทางโรดแมป หรือการบริหารงานของ คสช. ในขั้นต้นไปแล้ว ท่านก็ได้กล่าวว่ามียินดีที่ไทยมีแนวทางชัดเจน และแก้ไขในเรื่องของการปราบค้ามนุษย์ ท่านก็เห็นดีด้วย ขณะเดียวกันก็จะแก้ปัญหาในระบบของเราอื่นๆ ไปด้วย และเรียนให้ท่านทราบไปแล้ว ในส่วนของวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ (พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ได้พบปะพูดคุยกับสภาหอการค้า กลุ่มผู้ประกอบการต่างๆ ของต่างประเทศ และรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะ ตลอดจนแนวทางแก้ไข ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบจากมาตรการดังกล่าว ของอียูและของสหรัฐอเมริกาด้วย และผู้ประกอบการเหล่านั้น จากต่างประเทศก็มีความเข้าใจ ในสถานการณ์ของเราดีขึ้น และพยายามจะช่วย คสช. แก้ไขปัญหาเหล่านั้น ทุกคนต้องช่วยกันในองค์กรแต่ละระดับ ทางภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ก็ต้องดำเนินการในส่วนของเขาไปด้วย

ทั้งนี้ หากเราแก้ไขทุกอย่างได้ ในระยะเวลาอันสั้น มาตรการต่างๆ เหล่านั้น ก็น่าจะลดลำดับลงในอนาคต ปัญหาหนักๆ ตอนนี้ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือเรื่องของแรงงาน การค้ามนุษย์และปัญหาในเรื่องประชาธิปไตยของไทย อันนี้ผมเรียนไปแล้วว่าต้องใช้เวลาในการปรับทั้งคนและระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย กติกาต่างๆ ให้เป็นสากล และป้องกัน การใช้อำนาจรัฐในทางที่ไม่ถูกต้อง การใช้จ่ายงบประมาณ การลงโทษ มาตรการในการลงโทษของการทุจริตคอรัปชั่นจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงให้มากขึ้น

"ส่วนของการทำงานของข้าราชการในวันนี้ ผมคิดว่าเพื่อให้ทันต่อภัยคุกคามในอนาคตที่มีมากขึ้นตามลำดับ หลังจากเราเปิดประเทศเป็น AEC ประเทศเราก็จะเปิดมากขึ้น เพราะฉะนั้นภัยคุกคามก็จะเข้ามาในบ้านเมืองของเรามากขึ้น เราต้องปรับวิธีการทำงานของข้าราชการให้เป็นมาตรการเชิงรุก และป้องกัน มากกว่าเชิงรับหรือแก้ไข ซึ่งที่ผ่านมาเราทำมาแบบนั้นตลอด ฉะนั้นเราต้องปรับยุทธศาสตร์ในการทำงานใหม่ และกำหนดยุทธศาสตร์ ให้ชัดเจนทั้งในประเทศ และต่างประเทศว่า เราจะเดินประเทศไทยไปอย่างไร ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน เศรษฐกิจ สังคมต่างๆ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ต้องปรับให้ได้ เพื่อรองรับกับคนที่จะมากขึ้น และการเปิดประเทศที่จะมีมาในระยะอันใกล้นี้ ในส่วนของการประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของทุกส่วนนั้น เราต้องปรับปรุงในระบบต่างๆ เหล่านี้ให้เกิดความโปร่งใส เราจะนำไปแก้ในระยะที่ 2 เรามีเรื่องต้องแก้มากมาย " หัวหน้า คสช. กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องกฎหมายเร่งด่วน วันนี้เราได้แก้โดยการเชิญ ผู้แทน 20 กระทรวง ประชุมเพื่อพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเร่งด่วนที่ค้างอยู่ วันนี้ตนเรียนให้ทราบว่า ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีมากกว่า 400 เรื่อง เช่น กฎหมายฟอกเงิน ในเรื่องการอนุญาตการนำเงินเข้า-ออกประเทศ การพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่ออนุมัติการตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การต่อต้านทุจริต ปีพ.ศ.2546 ที่เสนอโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งเรายังไม่เรียบร้อย ถ้าหากเราทำได้ก็จะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามหลักกฎหมายสากล

เรื่องของการพิจารณาทบทวนการมีกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตประจำจังหวัด วันนี้ก็มีการหารือกันว่าจะเดินกันอย่างไรต่อไป ตนเกรงว่าจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่น และเพิ่มภาระด้านงบประมาณ หลายหน่วยงาน ไม่ใช่เฉพาะ ป.ป.ช. อย่างเดียว วันนี้จะต้องเพิ่มขั้นตอนในการดำเนินการให้ชัดเจนขึ้น ใครทำที่ไหน อย่างไร และมีในทุกพื้นที่อันนี้ต้องแก้ไขในระยะที่ 2 เรื่องการจับกุมอาวุธสงคราม อันนี้เป็นอันตราย ตนเรียนมาทุกครั้ง วันนี้ก็มียอดมากกว่า 2,000 กระบอก ที่หน้ากลัวคือ ปืนสงคราม ปืนกล เครื่องยิงลูกระเบิด อาวุธต่อสู้รถถัง ลูกกระสุนคอ ลูกระเบิดขว้าง และเครื่องกระสุนเป็นจำนวนมาก วันนี้ก็มีการจับกุมทุกสัปดาห์ และต่อไปก็จะสรุปในรอบเดือน ท่านจะได้เห็นว่ามีมากน้อยแค่ไหน อย่างไรและอันตรายแค่ไหน ท่านจะได้เข้าใจว่าวันนี้เราทำอะไรกันอยู่ ถ้าเราไม่ทำ อาวุธเหล่านี้ก็จะมาฆ่าฟันพ่อแม่พี่น้องพวกเรากันเอง

ส่วนเรื่องการพนัน เป็นอันตรายต่อผู้ปกครอง พ่อแม่ ครอบครัว มีผลของการจับกุมกวาดล้างบ่อนการพนัน ตู้ม้า และสิ่งผิดกฎหมาย วันนี้ได้สั่งการแล้ว สิ่งใดก็ตามที่หลุดจากการดำเนินการทางคดีแล้ว จะต้องนำไปทำลาย เหมือนกับยาเสพติด เช่น ตู้สล็อต ตู้ม้า ประมาณ 1,000 ตู้ และอุปกรณ์การพนันเป็นจำนวนมาก ต้องขอร้องกันให้ลดปัญหาสังคม ลดการเล่นการพนันในลักษณะนี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด เด็กอาจไม่มีอนาคต เหมือนกับปัญหายาเสพติด รุนแรงเช่นกัน

ประสานกัมพูชาตั้งศูนย์รับแรงงานสองฝ่าย

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ วันนี้เรากำหนดเป็น 3 ระยะ ซึ่งจะเป็นไปตามโรดแม็พ ของ คสช. วันนี้ได้มีการเริ่มจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้รวดเร็ว ถูกกฎหมาย ลดขั้นตอน และประหยัด จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ขออนุญาตทำงาน มีแผนการดำเนินงานในรายละเอียด ดังนี้

จัดตั้งศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานใน 4 พื้นที่ มีกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกระทรวงแรงงาน และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ในการออกใบอนุญาตชั่วคราวให้นายจ้างสามารถนำแรงงานกัมพูชาไปจดทะเบียนขออนุญาตทำงาน ณ จังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ ภายใน 60 วัน โดยให้ซักซ้อมและรายงานผลการปฏิบัติใน 25 มิถุนายน 2557 และเปิดดำเนินการใน 26 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป

จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) วันนี้เราได้มีการเตรียมการเพื่อจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทำงานและแรงงานชาวกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตกลับเข้าทำงานใหม่ วันนี้ใช้พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดนำร่อง พร้อมเปิดดำเนินการตั้งแต่วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน 2557 เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติและขออนุญาตทำงาน

จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานแบบเบ็ดเสร็จ สำหรับป้องกันการลักลอบเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะแรงงานในอุตสาหกรรมประมงใน 22 จังหวัดที่มีอาณาเขตพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล พร้อมเปิดบริการตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม2557 เป็นต้นไป

สำหรับจังหวัดอื่นที่เหลือ จะเริ่มดำเนินการให้ได้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 รูปแบบการดำเนินการ คือจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ใช้แนวทางของจังหวัดสมุทรสาครเป็นแนวปฏิบัติ วันนี้ก็แจ้งเตือนและประสานกระทรวงมหาดไทย แจ้งให้จังหวัดต่างๆ เตรียมดำเนินการตามแผนที่ได้กำหนดไว้แล้วนี้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คสช. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในสถานประกอบการต่างๆ เพื่อดูแลสภาพความเป็นอยู่ของเขาเหล่านั้นมีมาตรฐานอย่างไรมีสวัสดิการอย่างไรให้เป็นมาตรฐานสากล วันนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้ประกอบการ สำหรับแรงงานชาวกัมพูชาที่เดินทางกลับประเทศ วันนี้เริ่มทยอยเดินทางกลับเข้ามาทำงานตามลำดับ ได้ประสานงานกับกัมพูชาว่าให้ร่วมจัดตั้งศูนย์รับแรงงานทั้งสองฝ่าย เพื่อลดขั้นตอน ทั้งนอกประเทศและในประเทศให้ได้ ลดค่าใช้จ่าย ดูแลความเป็นอยู่ให้ดีที่สุด ให้มีการพบกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง โดยตรงเพื่อตัดอิทธิพลจากกลุ่มมาเฟีย หรือกลุ่มอิทธิพลรีดผลประโยชน์ต่างๆ


สั่งตั้งศูนย์ช่วยเหลือผลผลิตการเกษตรในทุกพื้นที่

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีในปีการผลิต 2557/58 ว่า คสช. ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผลผลิตทางการเกษตร เพื่อจะเชื่อมต่อการดำเนินงานของทุกหน่วยงานให้มีการบูรณาการ มีการติดตามกำกับดูแลทุกมาตรการให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยศูนย์ต่างๆ เหล่านั้นให้กระจายอยู่ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทุกจังหวัด ถ้าเป็นไปได้ก็ทุกอำเภอ เกษตรกร สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก และสามารถจะเสนอแนะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับเรา ในการที่จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

"วันนี้ได้มีการสั่งการให้ทบทวนมาตรการการประกันภัยนาข้าว เรามีการดำเนินการมาทุกๆ ปี วันนี้ก็จะปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์กับชาวนาอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1.5 ล้านไร่ที่ประสบปัญหาภัยพิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี จะต้องหามาตรการในการช่วยเหลือ โดยการจัดสรรพื้นที่ ที่มีความเหมาะสม ดูแลระบบชลประทาน ระบบป้องกันอุทกภัย จัดทำโซนนิ่งพื้นที่ในการเพาะปลูกให้มีความเหมาะสม พื้นที่ใดที่มีปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นประจำซ้ำซาก จะต้องให้ชาวนาลำบากในการปลูกต่อไป ก็ต้องหาพืชที่ทนแล้งได้ หรือต้องการน้ำน้อยได้ แต่มีราคาที่ใกล้เคียงกับราคาของข้าว คล้ายๆ กับการโซนนิ่งในอนาคต เพราะวันนี้เราต้องดูคนเหล่านี้ก่อน เช่นพื้นที่ที่อยู่นอกชลประทาน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ถ้าปลูกข้าวทั้งหมด เท่าไหร่น้ำก็ไม่พอ จะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้เขาได้ทำอย่างอื่นแทน แต่เขาต้องมีความพึงพอใจด้วย เพราะคนไทยทราบดีไม่ชอบถูกบังคับอยู่แล้ว แต่ก็ลำบากมาตลอดคงต้องแก้ไขกัน " หัวหน้า คสช. กล่าว

หัวหน้า คสช. กล่าวอีกว่า เรื่องการระบายข้าว ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ไปชี้แจงทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนว่า คสช. ไม่ได้มีนโยบายให้ระงับข้อตกลงที่ได้ทำไว้แล้วกับผู้ประกอบการต่างๆ ในเรื่องการระบายข้าว ก็ทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง ท่านสามารถดำเนินการตามสัญญาเดิมต่อไปได้ เฉพาะในส่วนที่ไม่มีปัญหาในเรื่องการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นของ ป.ป.ช. เข้าใจ การค้าขายก็มีปัญหาไม่ต่อเนื่อง และขอความกรุณาอย่าไปอ้าง คสช. ไม่ให้ขายข้าว ไม่ใช่แบบนั้น ตรงไหนที่ทำสัญญาแล้วก็ต้องดำเนินการไปให้โปร่งใส

นอกจากนี้คสช.เห็นชอบให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อนำมาช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยในฤดูกาลผลิตปี 2556 - 2557 อัตราตันอ้อยละ 160 บาท จะจ่ายตรงกับชาวไร่อ้อยทุกตันอ้อย ที่ส่งเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลทราย รวมผลผลิตอ้อยทั้งสิ้น 103.70 ล้านตัน เป็นเงินมูลค่าประมาณ 16,592 ล้านบาท และให้กระทรวงอุตสาหกรรมควบคุม ไปตรวจสอบกำกับดูแล การจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้ถึงมือ ชาวไร่อ้อยที่มีสิทธิ์ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ให้คงการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศ นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผช.ผบ.ทบ. และ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ได้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบในระยะยาว เพื่อนำเสนอ คสช. พิจารณาต่อไป

หัวหน้า คสช. กล่าวอีกว่า คสช.ยังได้อนุมัติงบประมาณให้กับกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการแก้ปัญหากุ้งตายด่วน ที่วันนี้เป็นปัญหากับผู้เลี้ยงกุ้งเป็นจำนวนมาก วันนี้เราได้อนุมัติเงินจากงบกลางเป็นจำนวนหนึ่งประมาณ 90 กว่าล้านบาท จากวงเงินที่ขออนุมัติมากว่า 200 ล้าน เป็นระยะแรกจะใช้งบกลางให้ไปเพราะมีระยะเวลาดำเนินการเพียงช่วง 3 เดือน ก่อนที่จะสิ้นปีงบประมาณ 57 ในส่วนของที่ยังขาดจะไปปรับแก้ในงบประมาณของกระทรวง งบประมาณปี 2558 และทำให้ครบถ้วนต่อไป วันนี้ต้องปรับปรุงทั้งเทคโนโลยีวิธีการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการเลี้ยง ทั้งนี้ เพื่อให้มีการผลิตและส่งออก คือต้องเพิ่มกำลังผลิต สำหรับกุ้งขาวเพราะวันนี้มีราคาที่สูงและเรายังไม่ได้พันธุ์เองได้ โดยได้ซื้อพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ เข้ามาจำนวนหลายร้อยคู่ก่อน กรมประมงของเรามีความสามารถสูงในการดำเนินการเหล่านี้ ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์โครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ PGS สำหรับผู้ประกอบการ OTOP และวิสาหกิจชุมชน ได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการเป็นวงเงินไม่เกิน 1,600 ล้านบาท จะให้เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 และปีต่อๆ ไป เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และวิสาหกิจชุมชนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการ


สั่งส่วนราชการจัดเตรียมช่องทางพิเศษรับเรื่องร้องทุกข์จากปชช.

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการจัดการปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ว่า คสช. ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและมีปัญหาที่ต้องการให้ คสช .แก้ไข ได้เดินทางไปยังส่วนราชการที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ ได้สั่งการให้กระทรวงและส่วนราชการจัดเตรียมช่องทางพิเศษ เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ จากพี่น้องประชาชนทุกคน และ คสช. จะคอยติดตาม รับฟังประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาแก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนให้บรรลุผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว นอกจากนั้น ได้สั่งการในที่ประชุมให้กระทรวงและส่วนราชการต่างๆ ไปสำรวจความเดือดร้อน ความต้องการของภาคส่วนต่างๆ เช่น ข้าราชการ พลเรือน นิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ภาคประชาสังคม กลุ่มผู้ประกอบการต่างๆ ที่มีปัญหาที่ต้องการให้ คสช. แก้ไขช่วยเหลือเร่งด่วน ไม่ขัดกับระเบียบและกฎหมาย ตลอดจนในเรื่องรักษาวินัยการเงินการคลังของประเทศและเราเราจะดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนในระยะเวลาต่อไป

หัวหน้าคสช. กล่าวอีกว่า เรื่องการปฏิรูป ทุกคนมีความห่วงใยว่าจะเดินไปได้อย่างไร ซึ่งตอนนี้เราอยู่ในระยะที่หนึ่ง ในปัจจุบันนั้นเราได้เน้นให้มีการสร้าง การมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วน ได้เชิญคู่ขัดแย้ง ผู้นำทางการเมือง ภาควิชาการ ผู้นำชุมชน เข้าหารือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อจะนำไปสู่ระยะที่สอง ในสภาปฏิรูป ให้มีข้อมูลที่เพียงพอ ในส่วนภาคประชาสังคมจะเชิญมาให้ร่วมแสดงความคิดเห็นเช่นกัน สำหรับความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ปัญหาอุทกภัยน้ำท่วม ปัจจุบันเริ่มเข้าสู่หน้าฝน วันนี้ได้มอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินขุดลอกคูคลอง ทางระบายน้ำ เพื่อให้มีความพร้อมก่อนถึงฤดู และได้สั่งการให้กองทัพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยติดตามสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิด เมื่อมีเหตุให้ดำเนินการเข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทันที วันนี้ ตนเห็นคูคลองต่างๆ มีผักตบชวา จอกแหน เป็นจำนวนมาก ซึ่งกีดขวางการระบายน้ำและไม่สวยงาม ทั้งสกปรก ต้องรีบดำเนินการเนื่องจากสั่งการไปแล้ว ต้องเรียบร้อยภายใน 3 เดือนนี้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ด้านพลังงาน ไฟฟ้า ประปา ภาษี ระบบขนส่งมวลชน สาธารณูปโภค ว่า นโยบายต่างๆในเรื่องนี้คสช.ได้ใช้มาตรการเร่งด่วน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนชั่วคราวไปก่อน สำหรับการปฏิรูปพลังงานทั้งระบบ ซึ่งมีความสลับซับซ้อน ต้องดำเนินการในระยะที่สอง เช่น การให้สัมปทาน การแข่งขันอย่างเสรี รัฐจะไม่อุดหนุนได้อย่างไร สัดส่วนค่าตอบแทนรัฐที่เหมาะสม ตรงนี้เป็นการสนับสนุนในเรื่องอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้านพลังงาน ถ้าเรากำหนดมากเกินไปก็จะไม่มีคนลงทุน กำหนดน้อยเกินไป ประเทศชาติ รัฐจะเสียประโยชน์ต้องหาทางแก้ไขในระยะที่สองให้ได้ ในส่วนของค่าตอบแทนต่างๆ สิทธิประโยชน์ของบอร์ด ตนเรียนไปแล้วจะปรับปรุงให้ดีขึ้น ให้ทุกคนพอใจ ให้ประชาชนมั่นใจ


สั่งตั้งอปท.ขับเคลื่อนงบค้างจ่ายปี57พร้อมจัดทำงบปี58


พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการบริหารจัดการงบขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า บางพื้นที่ยังไม่สามารถเลือกตั้งได้ในช่วงเวลานี้ ทาง คสช. ได้สั่งการให้มีการจัดผู้รักษาการ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เพื่อขับเคลื่อนงบประมาณที่ยังค้างอยู่ในปี 2557 และเตรียมการจัดทำงบประมาณปี 2558 เพื่อให้การใช้จ่ายเหล่านั้นสอดคล้องกับการปฏิบัติของส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ในลักษณะสอดคล้องเกื้อกูลกันในกลุ่มงานเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นไปตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 สศช. ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ทำไว้แล้วจะต้องดำเนินการตามนั้น วันนี้ถ้าส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคทำไปแล้วและท้องถิ่นไม่ทำตามนี้จะเกิดการซ้ำซ้อนกันเช่น