‘Youth Tubers’ ปั้นเยาวชนนักสร้างสรรค์ เท่าทันยาเสพติด

‘Youth Tubers’ ปั้นเยาวชนนักสร้างสรรค์ เท่าทันยาเสพติด

บทบาทสำคัญของสื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนยุคนี้อย่างชัดเจน การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ในเรื่องยาเสพติดจึงเป็นการบ่มเพาะให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ห่างไกลภัยร้ายจากยานรก

หนึ่งในวิธีสร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนในเรื่องยาเสพติดนั้นคือการใช้สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือทั้งเพื่อสื่อสาร และให้เยาวชนได้สร้างสรรค์ โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชนหนึ่งในวิธีสร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนในเรื่องยาเสพติดนั้นคือการใช้สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือทั้งเพื่อสื่อสาร และให้เยาวชนได้สร้างสรรค์ โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

โครงการ Youth Tubers เป็นการสร้างพื้นที่ให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาตนเองในการทำเนื้อหาในเรื่องที่ตนเองรักและชอบ เผยแพร่ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงฝีมือและพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างเนื้อหาของตนเองส่งประกวด

“โลกปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทอย่างมากในการเป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลในเรื่องต่างๆ ของคนทุกช่วงวัย ทั้งที่เป็นเรื่องทั่วไปหรือเรื่องที่มีความเฉพาะเจาะจง สำนักงาน ป.ป.ส. ได้วิเคราะห์แล้วเห็นว่าประชากรที่อยู่ในช่วงอายุ 15 - 24 ปี หรือเยาวชนเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจและใช้สื่อสังคมออนไลน์มาก” นิยม เติมศรีสุข เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) กล่าว

youth2

สำหรับโครงการ Youth Tubers ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เยาวชนจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะการสร้างสรรค์ผลงานโดยผ่านวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนรุ่นใหม่อย่างมาก เช่น น้าเน็ก - เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, บี้เดอะสกา - กฤษณ์ บุญญะรัง และ เบ๊นซ์ อาปาเช่ - อัครเดช โยธาจันทร์ ร่วมถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเทคนิคการสร้างเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะคนที่มีความฝันจะเป็นคอนเทนท์ครีเอเตอร์ วิทยากรเหล่านี้จะมาแบ่งปันความรู้และเทคนิคการใช้โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป และการถ่ายวิดีโออย่างมืออาชีพ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปคิดสร้างสรรค์จัดทำวีดิทัศน์สั้น (Short Clip) เพื่อส่งเข้าประกวด

“วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยในสังคมออนไลน์ด้วยการส่งเสริมเยาวชนไทยให้มีส่วนร่วมในการแสดงออกและแสดงความสามารถในเชิงสร้างสรรค์ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดโอกาสการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด” เลขาธิการ ป.ป.ส. ย้ำ

การรับสมัครแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ทีมละไม่เกิน 2-5 คน คือ ระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่าและระดับอาชีวศึกษา สำหรับทีมที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกประเภทละ 20 ทีม (รวม 40 ทีม) จะมีโอกาสได้ถาม-ตอบตัวต่อตัวพร้อมเรียนรู้อย่างเข้มข้นกับเหล่าวิทยากรชื่อดังผ่านโปรแกรม Zoom เพื่อพัฒนาความสามารถในการในการสร้างคอนเทนต์และตัดต่อคลิปวิดีโอพร้อมส่งผลงานเข้าประกวดชิงเงินรางวัลในรอบตัดสิน