‘คืนสู่ธรรมชาติ’ 100 ภาพถ่าย กับ 32 ช่างภาพ

‘คืนสู่ธรรมชาติ’  100 ภาพถ่าย กับ 32 ช่างภาพ

ในวาระครบรอบ 30 ปี การจากไปของ ‘สืบ นาคะเสถียร’ และ 'วันสิ่งแวดล้อมโลก' มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมกับ 'สห+ภาพ' จัดงานนิทรรศการภาพถ่าย ‘คืนสู่ธรรมชาติ’

 

เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปี การจากไปของ ‘สืบ นาคะเสถียร’ และวันสิ่งแวดล้อมโลก (5 มิถุนายน 2563) มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมกับ สห+ภาพ จัดนิทรรศการภาพถ่าย ชุด ‘คืนสู่ธรรมชาติ’ (Back to Nature) นำเสนอแง่มุมงดงามของสิ่งแวดล้อมความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่ช่วยค้ำจุนสมดุลแก่โลกอาทรคุณประโยชน์แก่ทุกสรรพชีวิตทั้งจากระบบนิเวศภูผาป่าเขาจนถึงลมหายใจในมหาสมุทร โดย 32 ช่างภาพสายป่า สัตว์ป่า ทะเล

เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ถึง 28 มิ.ย.6บริเวณชั้น 3-4 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เวลา 10.00 – 19.00

  224

 

จิระนันท์ พิตรปรีชา ที่ปรึกษามูลนิธิสืบนาคะเสถียร ผู้ซึ่งเป็น ภัณฑารักษ์นิทรรศการครั้งนี้ กล่าวถึงที่มาในการจัดงานว่า

 “เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปี การจากไปของสืบ นาคะเสถียร จึงได้มีการจัดนิทรรศการนี้ขึ้น เพื่อรำลึกถึงคุณสืบ และการอนุรักษ์ธรรมชาติ สำหรับภาพถ่ายที่ได้รับการคัดเลือกมาจัดแสดง มาจากช่างภาพสายอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่ารวม 32 ชีวิต ซึ่งเปรียบเสมือนสื่อที่พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติผ่านภาพที่เราไม่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป”

 

225

 

ขณะที่ ช่างภาพอาวุโส หม่อมหลวงปริญญากร วรวรรณ ผู้ร่วมแสดงผลงานในครั้งนี้ แสดงทัศนะว่า “การที่เราต้องเผชิญกับโควิด - 19 ในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นการบอกของธรรมชาติว่าเราต้องปรับตัวแบบไหน ซึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือเราจะต้องมีการแบ่งปันกันไม่ใช่แค่สังคมมนุษย์ แต่เราต้องคำนึงถึงธรรมชาติและสัตว์ป่าด้วย ซึ่งรูปภาพที่ได้มีการจัดแสดงในนิทรรศการฯ นี้ จะช่วยให้มนุษย์เราได้ตระหนักถึงการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างไร”

 

222

 

โดยเฉพาะภาพถ่ายนกเงือกที่หาดูได้ยากมาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ ผู้บุกเบิกการศึกษาวิจัยนกเงือกในระดับโลก กล่าวว่า นกเงือก คือตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของผืนป่า

“นกเงือกมีเฉพาะในแอฟริกากับเอเชีย มีวิวัฒนาการมา 50 ล้านปี เป็นนกขนาดใหญ่ ช่วงอายุอย่างน้อย 30 ปี ผลิตลูกได้ประมาณ 10 กว่าตัว ทำรังทุกปีแต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมด เพราะคนตัดไม้ใหญ่ทำให้นกเงือกไม่มีที่ทำรัง ที่เขาใหญ่เราต้องช่วยเรื่องโพรงรังกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เข้าไปซ่อมโพรงธรรมชาติที่นกเงือกไม่เคยใช้ ไปปรับให้เขาสนใจมาดู ทางใต้มีพวกที่เคยล่าแล้วเปลี่ยนมาเป็นผู้ช่วยวิจัย ไปเฝ้าดูจดรายงานจนเกิดความผูกพัน บางปีฝนตกหนักมาก นกทิ้งรังเยอะเพราะน้ำท่วมขัง ต้องช่วยกันเซาะร่องให้น้ำออก นกเงือกบินไปทั่ว กินผลไม้ 100 ชนิด เป็นตัวกลางที่ดีมากสำหรับการแพร่พันธุ์ของพืช บางพื้นที่ไม่มีนกเงือกแล้ว”

 

223

 

ช่างภาพชวนชมงาน

https://www.facebook.com/fotounited/videos/256828868880400/UzpfSTcyOTQ5MTE3OToxMDE1ODY5MDQyNDQ3MTE4MA/