พอร์ซเลนสีฟ้า 'รัญชา บริบาลบุรีภัณฑ์'

พอร์ซเลนสีฟ้า 'รัญชา บริบาลบุรีภัณฑ์'

เครื่องเคลือบ 'พอร์ซเลน' (Porcelain) หนึ่งในศิลปะชั้นสูงที่แสนวิจิตรบรรจงภายใต้แบรนด์ 'เว็ดจ์วูด' (Wedgwood) ก่อตั้งเมื่อ 261 ปีก่อน (ค.ศ.1759) เป็นที่นิยมในวังอังกฤษ และทั่วยุโรป

2.

เครื่องเคลือบ 'พอร์ซเลน' (Porcelain) หนึ่งในศิลปะชั้นสูงที่แสนวิจิตรบรรจงภายใต้แบรนด์ 'เว็ดจ์วูด' (Wedgwood) ก่อตั้งเมื่อ 261 ปีก่อน (ค.ศ.1759) รัญชา บริบาลบุรีภัณฑ์ ชื่นชอบเซรามิกพื้นผิวแมทท์ด้าน  โทนสีฟ้าพาสเทลดูสบายตา โดดเด่นด้วยลวดลายนูนสีขาวอันเป็นงานคราฟท์แสนประณีตบรรจง ภาชนะเหล่านี้เป็นที่โปรดปรานของราชวงศ์อังกฤษโดยเฉพาะพระราชินี Charlotte of Mecklenburg –Strelitz จนกระทั่งพระราชอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า 'Queen’s Ware' เป็นที่นิยมทั่วทั้งยุโรปและทั่วโลกจากอดีตจนถึงปัจจุบัความสุขของคุณรัญชา เธอตอบว่า 5 อันดับความสุขตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็คือ เมื่อครั้งไปเรียนหนังสือที่อังกฤษจนกระทั่งกลับมาเมืองไทยก็คือ กีฬา และ ท่องเที่ยว

3.

“ตอนเรียนอยู่ที่อังกฤษเป็นนักกีฬาขี่ม้า เล่นวอลเล่ย์บอล เทนนิส ปิงปอง แบดมินตัน โบว์ลิ่ง ยิงปืน กีฬาแทบทุกชนิด กลับมาก็แข่งยิงปืนแบบกระชั้นชิดของ 191 ตอนไปเรียนฝึกหนักมากก็ได้ที่ 1 เหรียญทองมา ขี่ม้านี่ก็ขี่ที่อังกฤษกับอเมริกา อีกความสุขหนึ่งก็คือ “คอมพิวเตอร์” เรียนจบทางด้านคอมพิวเตอร์ ชอบสอนคอมพิวเตอร์และชอบเล่นเกมส์ เหมือนเป็นการฝึกเอาสติอยู่กับเกมส์ทำให้เรานิ่ง เวลานั่งวิปัสนาก็จะนิ่งไม่วอกแวก เพราะอยู่ในเกมส์ เราจะคิดค้นวิธีการเอาชนะวางแผนวิ่งในหัวเพราะฉะนั้น ใจของเราจะไม่ไปคิดเรื่องอื่นฝึกมาตลอด จนไปช่วยงานเป็นผู้พิพากษาสมทบก็ไม่เคยเอาคดีออกมานอกสถานที่ เหมือนเราไปทำหน้าที่จบก็วางตรงนั้นไม่เอาออกมา เราช่วยเขาแล้วจบตรงนั้น”  

ความสุขถัดมาคือ แต่งตัว- ช้อปปิง  เวลาเครียดได้แต่งตัวออกไปจับจ่ายซื้อของ ทานอาหารอร่อยๆนอกบ้านนั่นก็คือความสุขแบบผู้หญิง  ความสุขอีกแบบก็คือได้ครอบครอง พอร์ชเลน เหล่านี้ด้วยเงินน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง

5.

“พูดถึงของสะสมชาก็มีหลายอย่าง สะสมไว้เยอะเหมือนกัน แต่อันนี้ (พอร์ชเลน)เป็นของที่สะสมตั้งแต่เรียนที่อังกฤษ เวลาไปเที่ยวพระราชวังก็จะเห็นพวกเว็ดจ์วูด ห้องต่างๆในวังจะเป็นเว็ดจ์วูดหมดเลย ทั้งที่พระราชวังแวร์ซาย และพระราชวังต่างๆในฝรั่งเศสก็มี เราจะเห็นสีฟ้า สีเหลือง สีชมพู ขลิบขาวแบบนี้ตลอด เป็นคนที่ชอบสีฟ้า ทั้งๆที่ไม่ได้เกิดวันศุกร์นะ (หัวเราะ)

7.

 เพราะเป็นสีที่ดูแล้วสบายตา ดูแล้วเคลิ้ม เวลาตื่นขึ้นมาเห็นท้องฟ้าใสๆ ทำให้จิตใจเราสดใสไปด้วย ก็เลยชอบสีฟ้ามาตั้งแต่ไหนแต่ไร เวลาไปอังกฤษก็จะไปที่ร้านชื่อ Wedgwood อยู่ตรง Oxford Street เขามีหลายสีมากสีเขียว สีดำ สีชมพู สีเหลือง แต่เราชอบสีฟ้ามาก ตอนนั้นด้วยความที่เป็นเด็ก กลับบ้านที (หมายถึงกลับเมืองไทย)ก็ซื้อ 1 ชิ้น ราคาหลายสิบปอนด์ ตอนนี้บริษัทเขาเลิกผลิตไปแล้วยิ่งแพงเข้าไปใหญ่ เพราะกลายเป็นของคลาสสิคหายาก ต้องไปหาตามหาที่ร้านแอนทีคเท่านั้น  และคนอังกฤษเวลาที่เวลาเขาตาย ก็จะเอาข้าวของมากองขายหน้าบ้าน เราก็เคยเดินไปเจอเหมือนกัน แหล่งที่ชอบไปเดินซื้อของอีกที่คือตลาดนัด Portobello Market ในลอนดอน”

6.

คุณรัญชาเล่าให้ฟังว่า บางครั้งซื้อได้ในราคาถูก 10-30 ปอนด์ บางชิ้นราคาแพง 100 กว่าปอนด์ก็มี วันนี้เธอนำมาให้ชมแค่บางส่วน อาทิเช่นกรอบรูป ขวดน้ำหอม แก้วกาแฟ กาใส่นม ขวดใส่น้ำตาล ขวดพริกไทย ไฟแช็ค จานที่ระลึกคริสต์มาสหลายเวอร์ชั่นเพราะผลิตออกมาทุกปี เหรียญสำหรับแขวนต้นคริสต์มาส

9.

จานเขี่ยบุหรี่ที่ระลึกมีรูปของเจ้าของแบรนด์  ฯลฯ มีทั้งภาชนะเว็ดจ์วูดแบบสีดั้งเดิม สีน้ำเงิน และสีฟ้าอ่อน ซึ่งไม่ได้รับความนิย ต่อมาพัฒนาเป็นสีฟ้าเข้มขึ้นมาหน่อย มีทั้งแบบที่เคลือบด้านนอก และเคลือบด้านใน เวอร์ชั่นล่าสุดจะเป็นแบบสีด้านไม่เคลือบ(พื้นผิวแมทท์ด้าน)ทำให้ลวดลายสีขาวนั้นเนียนละเอียดชัดเจนสวยงามลงตัว

8.

“แบบที่เคลือบมันๆนั่นผลิตตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 18 คนที่ทำชื่อ Josiah Wedgwood เขาไม่ยอมหุ้นกับใครเพราะทำมาหลายรุ่น จนตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น Jasperware ผลิตเพื่อนำมาใช้ในพระราชวัง  ใต้ผลิตภัณฑ์จะมีมาร์คเล็กๆเป็นสัญลักษณ์ว่าผลิตปีไหน มีการทำซ้ำหรือเปล่า เป็นการบ่งบอกด้วยว่าเป็นของจริงหรือของปลอม  ชอบมากจนกระทั่งกลับมาอยู่เมืองไทยสร้างห้องทั้งห้องเป็นเว็ดจ์วูด

ทำโดยบริษัทชูจักร์ ซึ่งเขารับเหมาทำพระราชวังเช่นที่อังกฤษ ดูไบ มาเลเซีย ฯลฯ หลายที่รวมทั้งเมืองไทยด้วย บังเอิญตอนที่ชาไปขอให้เขามาทำห้อง โชคดีที่เขายังมีสต๊อกเหลือจากที่ไปทำพระราชวัง ก็เลยเอาสต๊อกนี้มาทำห้องให้ชาหมดเลย มันเป็นความสุขไง เข้าไปในห้องนอนเว็ดจ์วูดสีฟ้าสวย เราก็อยากจะนอนอย่างมีความสุขสบาย ทั้งเตียง  ตู้โชว์เป็นเว็ดจ์วูด ทุกวันนี้ก็ยังขยันซื้อก่อนโควิด-19 ระบาดก็เพิ่งไปลอนดอน ซื้อกลับมาอีก ตรงที่เห็นนี่จุ๋มจิ๋มมากเพราะมีอีกเป็นร้อยอยู่ข้างบนบ้าน จานชามนี่ซื้อซ้ำหลายอันเลยเพราะจำไม่ได้ว่าซื้อมาหรือยัง(หัวเราะ)”

4.

สิ่งเหล่านี้คืออาหารตา อาหารใจ แค่มองและได้ครอบครองรู้สึกมีความสุขในขณะจิตที่ยังมีลมหายใจอยู่ เข้าไปในห้องนอนเหมือนเป็นวิมาณเว็ดจ์วูด ถือว่าเป็นห้องสุดท้ายที่บริษัทชูจักร์ทำเพราะวัสดุหมดเกลี้ยงแล้ว ปัจจุบันคุณชามีงานที่ต้องรับผิดชอบมากมาย ทั้งดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการเงิน โรงเรียนอนุบาลเปล่งประสิทธิ์ สายลม เป็นธุรกิจของคุณแม่(คุณหญิงโรส) และงานสังคมอีกมากมาย เช่น นายกสโมสรซอนต้า(หยุดการกระทำรุนแรงในผู้หญิงและเด็ก) ซึ่งคุณป้า(ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา)เป็นผู้ก่อตั้ง  มูลนิธิโสสะ (เพื่อเด็กกำพร้า) แล้วยังเป็นผู้พิพากษาสมทบ (ทำมา 15 ปี) ที่เพิ่งหยุดทำหน้าที่ไป

1.

คุณชาทิ้งท้ายว่าในยุคโควิด-19 ระบาด เป็นยุคที่เราต้องห่างจากสังคม งดออกงานสังคม ทำให้ได้อยู่บ้านกับครอบครัว ได้แสดงความรักความห่วงใยกัน รักกันดูแลกันและกัน มีเวลาทำความสะอาดบ้านที่ไม่เคยทำเองตั้งนานมาแล้ว มีเวลาจัดเอกสาร  ปรับปรุงทาสีขัดพื้นโรงเรียนอนุบาล จัดระบบให้ครูสอนทางออนไลน์เตรียมไว้ แล้วประชุมไลน์ต่างๆเช่นล่าสุดเพิ่งประชุม(Zoom)กับสมาคมเรียนเก่าอังกฤษที่เธอดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอยู่  เราสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสดีๆได้เสมอ