บัญชีกลางแจงการจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐพ.ย.–ธ.ค. 64

บัญชีกลางแจงการจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐพ.ย.–ธ.ค. 64

บัญชีกลางแจงการจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐพ.ย.–ธ.ค. 64 ชี้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนและยังช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงปลายปี

 

นางแก้วกาญจน์ วสุพรพงศ์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เห็นชอบและอนุมัติการเพิ่มวงเงินสนับสนุนมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 โดยโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 ได้เพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งเฟส 3 เพิ่มเติมอีกจำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 นั้น กรมบัญชีกลางจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับการจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 ดังนี้

ทุกวันที่ 1 ของเดือน (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)

- วงเงินซื้อสินค้า 700/800 บาทต่อเดือน  (เป็นวงเงินเดิม 200/300 บาท และวงเงินจากโครงการเพิ่มกำลังซื้อ 500 บาท)

- ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อ 3 เดือน 

- ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย 

     ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน 

     ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน 

     ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ขสมก./ MRT/ BTS และ ARL 500 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล)     

ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถกดเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

- เงินคืนค่าไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน 

(สำหรับผู้ถือบัตรฯ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)

- เงินคืนค่าน้ำประปา 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน 

(สำหรับผู้ถือบัตรฯ ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท 

ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)

 ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถกดเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

- เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน

สำหรับโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้แก่กลุ่มที่มีรายได้น้อย นอกจากนี้ ยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2564 จากการเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการมากขึ้น