กรมชลฯรับนโยบาย นายกฯเป็นแนวทางทำงานบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยา

กรมชลฯรับนโยบาย นายกฯเป็นแนวทางทำงานบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยา

นายกฯ ลงพื้นที่ติดตามบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ย้ำต้องเอาน้ำท่วมปี 54 เป็นบทเรียน ด้านกรมชลฯรับนโยบายนายกฯ นำเป็นแนวทางทำงาน

วันที่ 15 ก.ย.64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการบริหารน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา-ชัยนาท  โดยกล่าวว่าพอใจกับการบริหารน้ำ ซึ่งนายกเป็นห่วงประชาชนทุกคน  ดังนั้นในการบริหารน้ำให้รับเอาข้อเสนอของ สส.และประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งบทเรียนจากปี 2554  มาประกอบด้วย ซึ่งในการบริหารน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา ก็พบว่ากรมชลประทานจะมีการตัดยอดน้ำฝนที่ตกท้ายเขื่อนใหญ่ ก่อนจะมาถึงที่เขื่อนเจ้าพระยา โดยผันเข้าระบบบริหารฝั่งซ้ายและขวา ลดยอดน้ำที่จะผ่านเขื่อน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

อย่างไรก็ตามได้กำชับใหัทุกฝ่ายทำแผนเผชิญเหตุไว้ด้วยทั้งกรณีน้ำแล้ง หรือน้ำท่วม ร่วมทั้งสำรองน้ำในฤดูถัดไปด้วย ขณะที่ด้านการเกษตรก็จะต้องมีปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกด้วย

กรมชลฯรับนโยบาย นายกฯเป็นแนวทางทำงานบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยา

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่า ให้บริหารอย่างปราณีตและเพื่อสำรองน้ำในฤดูแล้งด้วย ขณะที่การระบายน้ำจากเขื่อนให้กระทบกับประชาชนน้อยที่สุด ทั้งนี้ได้กำชับให้ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนให้ทราบว่าน้ำที่ระบายจากเขื่อนเจ้าพระยาชับนาทขณะนี้เป็นน้ำฝนที่ตกในพื้นที่หรือน้ำไซด์โฟร์ที่ไหลมาสบทบในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ใช่จากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ไม่มีการระบายน้ำทิ้งอย่างแน่นอน

"ขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือเริ่มลดลงแล้ว โดย ณ  วันที่ 15 ก.ย.2564  ที่สถานีน้ำC2 จ.นครสวรรค์มีปิริมาณน้ำไหลผ่านที่อัตรา 1,864 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาที  ระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา-ชัยนาท 1,423 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาที  ลดลงจากวันที่ 14 ก.ย.ที่มีอัตราการไหลที่1,909 ลบ.ม.ต่อวินาที แนวโน้มน้ำเหนือลดลง  ซึ่งกช.จะควบคุมการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนท้ายน้ำให้มากที่สุด และไม่ให้กระทบกับพื้นที่เกษตรกรรม อย่างไรก็ตามหากมีผลกระทบไม่ว่ามากหรือน้อย หรือประชาชนต้องการความช่วยเหลือให้แจ้งความต้องการต่อชลประทานในพื้นที่ได้ทันที" นายประพิศกล่าว

กรมชลฯรับนโยบาย นายกฯเป็นแนวทางทำงานบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยา

อธิบดีกรมชลฯกล่าวด้วยว่าสำหรับประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่บ้านหัวเวียง อ.เสนา บ้านดินแดง อ.ผักไห่ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยานั้นได้ให้เจ้าหน้าที่กรมชลฯไปดูแลช่วยเหลือซึ่งคาดว่าระดับน้ำจะลดลงต่อเนื่องจากน้ำเหนือที่ลดลง

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลฯกล่าวว่า ปริมาณฝนที่ตกขณะนี้หากตกในอ่างเก็บน้ำจะเก็บทั้งหมด เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนหลักยังน้อยกว่าร้อยละ30

อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามสถานการณ์การก่อตัวของพายุในมหาสมุทรแปซิฟิคซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าอาจจะเกิดในระหว่างวันที่ 25 -26  ก.ย.  อย่างไรก็ตามจากสภาวะฝนขณะนี้ต้องบริหารน้ำอย่างปราณีต  เพราะต้องกักเก็บน้ำสำหรับฤดูแล้งปี 64/65