'สสส.'จี้'นายกฯ'ปฏิรูปตำรวจขนานใหญ่ เซ่นปม'ผกก.โจ้'คลุมถุงฆ่า

'สสส.'จี้'นายกฯ'ปฏิรูปตำรวจขนานใหญ่ เซ่นปม'ผกก.โจ้'คลุมถุงฆ่า

"สสส." ออกจดหมายเปิดผนึกถึง "นายกฯ" หลังเกิด กรณี "ผกก.โจ้" ชี้ ตร.ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง กระทบความเชื่อมั่นปชช. จี้ เร่งปฏิรูป แยกงานสอบสวนจาก "สตช." ติดกล้องบันทึกภาพ เสียง ขณะสอบสวน ยุบ กองบัญชาการ9ภาค แก้ซ้ำซ้อน แต่งตั้งยึดหลักอาวุโส

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มีจดหมายเปิดผนึก ถึงนายกรัฐมนตรี กรณี การซ้อมทรมานผู้ต้องหาจนเสียชีวิต

 

ตามที่ปรากฏข่าวในสื่อมวลชนกรณีผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ เรียกเงินจากผู้ต้องหาคดียาเสพติด เพื่อมิให้ถูกดำเนินคดี มีการใช้ถุงดำครอบหัวจนขาดอากาศหายใจ เสียชีวิตในเวลาต่อมา แต่มีการแจ้งกับแพทย์ประจำโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ว่า ผู้ต้องหาที่เสียชีวิตเสพยาเสพติดเกินขนาด แพทย์นิติเวช ทำบันทึกสาเหตุการตาย ในหนังสือรับรองการตาย ระบุว่าสันนิษฐานว่า พิษจากสารแอมเฟตามีนต่อมาปรากฏคลิปเหตุการซ้อมทรมานผู้ต้องหาภายในห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเผยแพร่ตามโซเชียลมีเดียออกสู่สาธารณชนทำให้เห็นพฤติกรรมของกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ร่วมกระทำความผิดในครั้งนี้อย่างชัดเจนนั้น

ข้อเท็จจริงที่สรุปได้จากคลิปเหตุการซ้อมทรมานผู้ต้องหาจนเสียชีวิตในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า

1) หน่วยงานตำรวจซึ่งเป็นต้นธารแห่งกระบวนการยุติธรรม ยังเป็นหน่วยงานที่ยังมีการใช้ความรุนแรง

การซ้อมทรมานผู้ต้องหาในรูปแบบต่างๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร หรือเป็นเรื่องปกติตั้งแต่ระดับชั้นหัวหน้าหน่วยงานไปจนถึงระดับผู้ปฎิบัติงานรองลงมา ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 28 อีกทั้งพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงที่เป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตของผู้ต้องหาเพื่อให้ตนเองพ้นความผิดโดยอ้างว่า มีการเสพยาเสพติดเกินขนาด

2) โรงพยาบาลนครสวรรค์ประชารัฐ ซึ่งหน่วยงานแพทย์ทางด้านนิติเวช ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ค้นหาความจริง

จากศพของผู้เสียชีวิต และนำความจริงเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแต่การออกหนังสือรับรองการตายที่แพทย์ออกให้ หลังการผ่าพิสูจน์ทันที โดยอ้างเหตุผลเพื่อให้ญาติไปทำมรณบัตร นั้น เป็นการจัดทำพยานหลักฐานไม่ตรงตามข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ต่อสาธารณะชน จนสร้างความเคลือบแคลงส่งสัยต่องานนิติเวชและจรรยาบรรณแพทย์และอาจเอื้อประโยชน์ต่อผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียชีวิต ด้วยการปกป้องความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เห็นว่าการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจในครั้งนี้ส่งผลต่อความรู้สึก ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสถาบันตำรวจในประเทศไทยเป็นอย่างมากอดีตที่ผ่านมา องค์กรตำรวจได้ชื่อว่า เป็นหน่วยงานที่มีการทรมานผู้ต้องหาในหลายรูปแบบตั้งแต่การตั้งแต่การใช้หนังยางดีดอวัยวะเพศ การข่มขืนผู้ต้องหาหญิง การซ้อม การทุบตี การช๊อตด้วยไฟฟ้า การราดน้ำลงบนใบหน้าทำให้สำลักน้ำ ฯลฯ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดแจ้งเหมือนกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าหน่วยงานตำรวจยังไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นหน่วยงานที่ยอมรับในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ในการนี้ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขอเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี

1) ขอให้เร่งรัดดำเนินการปฏิรูปตำรวจให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งโครงสร้าง กฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆที่หลายฝ่ายนำเสนอเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี รวมทั้งขอความร่วมมือกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจแห่งชาติทุกท่านร่วมกันร่าง ...ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ในขณะนี้ โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ และตำรวจไทยต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน ได้อย่างแท้จริง

2) งานสอบสวนเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการยุติธรรม จำเป็นต้องมีพนักงานอัยการเข้ามาร่วมตรวจสอบถ่วงดุล รับรู้การทำงานสอบสวน เห็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีแต่เริ่มแรกและทั้งกระบวนการ เพื่อป้องกันการซ้อม ทรมาน หรือทำให้บุคคลสูญหาย ทำลายหลักฐาน หรือการเปลี่ยนแปลงรูปคดี ทิ้งคดี การค้าคดีความ ข่มขู่ รีดไถ

3) จำเป็นต้องปลูกฝังแนวคิดสิทธิมนุษยชนให้กับตำรวจทุกคนอย่างจริงจัง ยอมรับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้ตำรวจไทยเคารพสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้ต้องหาทุกคนไม่ว่าคนๆ นั้นจะกระทำผิดหรือไม่ ก็ตาม

4) ขอให้คัดเลือกบุคคลที่มีแนวคิด และวิสัยทัศน์ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาองค์กรตำรวจมาเป็นผู้นำขององค์กรตำรวจในทุกระดั ตั้งแต่ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติลงมาถึงระดับสถานีตำรวจในชุมชน

5) ให้มีการตรวจสอบมาตรฐานการทำงานของหน่วยงานแพทย์นิติเวชทั่วประเทศว่าได้มีการตรวจ ชันสูตรพลิกศพ และรายงานผลการตรวจอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ เพื่อให้แพทย์ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณแพทย์ และปกป้องความยุติธรรมให้แก่ประชาชน

6) ขอให้เร่งรัดในการออก ร่าง ...ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย .. .... ซึ่งยังไม่ถูกนำเข้าพิจารณาในรัฐสภาโดยเร็ว

ข้อเสนอการปรับโครงสร้างตำรวจเพื่อรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง

1. กระจายอำนาจความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ไปสู่ระดับจังหวัด ให้พนักงานตำรวจเป็นตำรวจจังหวัด (ตามดำริของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 .. 2560 ที่ให้ตำรวจอยู่ประจำพื้นที่จังหวัด) ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อลดภาระงานความรับผิดชอบในส่วนกลางของ สตช. ให้การปฏิบัติหน้าที่

ให้มีการโยกย้าย หรือแต่งตั้งตำรวจโดยคำนึงถึงภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่เดิมของตำรวจเป็นสำคัญเมื่อเลือกคน

ในท้องถิ่นมาเป็นตำรวจ จะมีความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ จะช่วยลดค่าใช้จ่าย

ของครอบครัว เพิ่มขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้คนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงการบริการของตำรวจอย่างแท้จริง ไม่ถูกปฏิเสธการร้องเรียน ละเลยความรับผิดชอบ เพราะตนเองยังต้องอยู่อาศัยในท้องถิ่นนั้นต่อไป หลีกเลี่ยงการถูกทวงถามไม่ได้

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้โรงพักเป็นจุดบริการที่จบได้ที่จุดเดียว (one stop service) และให้อำนาจกับคณะกรรมการไกล่เกลี่ยระดับอำเภอเข้าไปช่วยโรงพักตาม ... ไกล่เกลี่ยปี2562 อีกทั้ง

ยังเรียกร้องตำรวจอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงโรงพักได้โดยปราศจากระบบชนชั้น

2. ลดชั้นบังคับบัญชาในโรงพักให้น้อยลง ให้การบังคับบัญชาสูงสุดอยู่ในระดับจังหวัด (ดังที่มีการปฏิบัติกันในประเทศญี่ปุ่น) เพื่อให้ตำรวจหันมาให้ความสำคัญกับประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี ที่เป็นผู้อุปการคุณอย่างแท้จริง สายการบังคับบัญชาที่สั้นลงจะช่วยลดการซับซ้อนในการทำงาน เพิ่มความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปฏิบัติหน้าที่ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา จำเป็นต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรมากขึ้น ไม่สั่งการโดยพลการ   และเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้โรงพักในแต่ท้องถิ่น ในการจัดการตนเองได้ระดับหนึ่ง เช่นการจัดซื้อจัดจ้างหรือตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เอง แต่ละโรงพักควรมีฐานะ

เป็นนิติบุคคลได้ด้วย

3. ยกเลิกตำรวจติดตามที่รับใช้นายตำรวจบางประเภทโดยไม่จำเป็น ให้ระบุความจำเป็น

ของนายตำรวจที่ติดตามอารักขาบุคคลต่างๆ (ที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์) ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียกำลังพลในการให้บริการ ช่วยเหลือประชาชน ที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติที่ยอมให้ตำรวจ ที่เกษียณแล้วสามารถมีตำรวจชั้นผู้น้อยในราชการติดตามรับใช้ ขอให้พระราชบัญญัติฉบับนี้เน้นการรับใช้ประชาชนเป็นสำคัญ ไม่ใช่รับใช้นาย

4. ตรวจสอบประเมินผลการทำงาน ให้บริการของตำรวจ โดยคณะกรรมการจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานของตำรวจ (กต.ตร.) ให้มีองค์ประกอบของภาคประชาสังคมที่เป็นตัวแทนองค์กรไม่แสวงหากำไร และมีองค์ประกอบ

ของสตรี หรือตัวแทนกลุ่มเพศสภาพ ที่เข้าใจความเดือดร้อนของผู้ด้อยโอกาสในท้องถิ่นยุคใหม่ รับรู้เรื่องราว วัฒนธรรมชุมชน และสามารถสื่อสาร ตรวจสอบพนักงานตำรวจได้อย่างอิสระ ตรงไปตรงมา ตลอดจนมีอำนาจในการพิจารณาความดีความชอบในการทำงานอีกด้วย

5. ให้งานสอบสวนเป็นหน่วยงานอิสระจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความเป็นวิชาชีพพนักงานสอบสวนต้องมีความรู้ ได้รับการพัฒนาความเชี่ยวชาญ (เช่นเดียวกับวิชาชีพแพทย์นิติวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ)

มี ... วิชาชีพกำกับ ควบคุมดูแลงานสอบสวนทั้งหมด การเก็บพยานหลักฐานจะได้รับการตรวจสอบดูแลจากพนักงานอัยการแต่เริ่มแรกในคดีอาญาที่มีอัตราโทษตั้งแต่ 5 ปีเป็นต้นไปเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ

ในกระบวนการบยุติธรรมตั้งแต่เริ่มแรกหรือคดีที่สำคัญ หรือกรณีมีการร้องเรียน เพื่อให้การรวบรวมพยานหลักฐานเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส ครบถ้วน ไม่สูญหายหรือถูกทำลายโดยง่าย  

   

ฝ่ายสอบสวนยังคงปฏิบัติหน้าที่ที่ สถานตำรวจนครบาล (สน.) และ สถานีตำรวจภูธร (สภ.) ในห้องสอบสวนที่ต้องมีความพร้อมในการบันทึกภาพและเสียงอัตโนมัติเพื่อเก็บเป็นหลักฐานไว้ให้อัยการ และศาลเรียกตรวจสอบได้เมื่อจำเป็นทุกคดี เพื่อแสดงความโปร่งใสในการสอบสวนและเพื่อให้งานสอบสวน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างอิสระ ไม่ถูกครอบงำ หรือแทรกแซง จากผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตหรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้โดยง่าย อันเป็นหลักการที่ปรากฏในร่าง ... ตำรวจแห่งชาติ  .. .... ที่ยกร่างโดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ)  ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม .260 ที่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณายกร่าง  ... ตำรวจแห่งชาติ .. .... (ชุดของนายมีชัย  ฤชุพันธ์) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่203/2562  ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2562

     

ให้มีสายงานสอบสวนที่ชัดเจน มีอำนาจสั่งฟ้อง หรือไม่ฟ้อง หรืองดการสอบสวนได้โดยตรงโดยผู้ปฏิบัติงานสอบสวนสามารถเติบโตได้ในสายงานที่มีผู้บังคับบัญชาเป็นของตนเอง และมีโอกาสเติบโตได้ถึงระดับตำแหน่ง ผบ.ตร. ไม่ควรให้ขึ้นกับผู้บังคับบัญชาทั่วไป มีผู้บังคับหมู่ ผู้ช่วยพนักงานสอบสวน และขึ้นไปถึงรองสารวัตรสายงานสอบสวน จนถึงผู้บัญชาการสอบสวน

6. ประสานองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บพยานหลักฐานทางอาญา ทั้งอัยการ ฝ่ายนิติเวช และฝ่ายปกครองโดยระบบนิติเวช เพื่อให้ทุกองค์กรมีการถ่วงดุล ร่วมกันรับผิดชอบ ที่ผ่านมาการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการรวบรวมพยานหลักฐานเป็นปัญหาใหญ่มากของกระบวนการยุติธรรมเปิดให้ใช้ดุลยพินิจได้เกือบทุกขั้นตอน จึงต้องกำหนดในขั้นตอนนี้ เพื่อให้เกิดการรวบรวมพยานหลักฐานได้อย่างสมบูรณ์ โดยใช้หลักการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด และเขียนรายงานได้อย่างอิสระ ไม่ให้พนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชา เข้าไปแทรกแซงสำนวนและทำทุกอย่างได้ตามอำเภอใจ หรือเลือกที่จะเอาผลการตรวจบางอย่างใส่ลงไปในสำนวน หรือไม่ใส่ได้โดยพลการ

7. กำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดี เพื่อร่วมกันทำให้เกิดความยุติธรรม ไม่จับผู้ต้องหาไปทั้งที่รู้ว่าคดีไม่มีมูลเหตุมากพอให้ส่งฟ้อง หรือจะนำไปสู่การยกฟ้อง หรือทำให้คดีรกโรงรกศาลโดยไม่จำเป็น และอาจจะนำไปสู่ความพลาดพลั้งในการจับผู้บริสุทธิ์ (แพะ) หรือทำให้ผู้ถูกกล่าวหาเสียชีวิต  ผู้ต้องหา ผู้ต้องขัง ญาติ และทนาย มักถูกละเลยสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตำรวจชอบอ้างว่า เป็นความลับในสำนวน

8. กำหนดบทลงโทษทั้งทางวินัยและอาญาที่ชัดเจน ต่อการกระทำของตำรวจระหว่างการสืบสวนสอบสวน หาข้อเท็จจริง ด้วยวิธีการซ้อมทรมานผู้ต้องหา การข่มขู่ คุกคาม ผู้ต้องหา และญาติ รวมทั้งลงโทษผู้บังคับบัญชาที่สั่งการให้เกิดการกระทำดังกล่าว ซึ่งอาจจะรุนแรงไปจนถึงการบังคับให้สูญหายในที่สุด

9. โอนตำรวจ 11 หน่วยไปให้กระทรวง ทบวง กรม ที่รับผิดชอบ เร่งดำเนินการตามมติสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลงวันที่ 30 กันยายน 2558 ตาม ... ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 6 ที่ให้ทำการกระจายอำนาจตำรวจไปยังหน่วยงานที่จำเป็น เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะด้านอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเวลาสองปี เรื่องนี้เป็นหลักสากลที่ว่า ตำรวจควรมีอยู่ในทุกๆ หน่วยงาน ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในสภาฯ หรือศาลเท่านั้น แต่ควรมีตำรวจสาธารณสุข ตำรวจแรงงานตำรวจกรมขนส่ง ตำรวจป่าไม้ ตำรวจคุ้มครองผู้บริโภค ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจท่องเที่ยว เป็นต้น

10. ตำรวจบางประเภทในสายงานแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เช่น นิติวิทยาศาสตร์ไม่มีความจำเป็นต้องมียศและวินัยแบบทหาร เพราะยิ่งมียศ ยิ่งถูกควบคุมมาก ซึ่งปัญหาของชั้นยศคือ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในวิชาชีพของตำรวจ อาจนำไปสู่การใช้สายบังคับบงัญชาหรือยศชั้นที่เหนือกว่าเข้าไปแทรกแซงสำนวน หรือเปลี่ยนแปลงรูปคดีได้ ทำให้การดำเนินการเรื่องขององค์ความรู้ต่างๆ ไม่ก้าวหน้า ไม่เจริญเติบโต ไม่อิสระล่าช้า

11. ยุบกองบัญชาการทั้ง 9 ภาค เพื่อลดความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็นในระบบการบังคับบัญชา ของตำรวจ และประหยัดงบประมาณ ให้งานทั้งหมดจบสิ้นที่สถานีตำรวจนครบาล และภูมิภาค โดยจัดตำรวจ 9 ภาค กระจายไปประจำสถานีตำรวจต่างๆ ที่มีผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ

12. แบ่งสถานีตำรวจออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเล็ก กลาง ใหญ่ และนายตำรวจที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้กำกับหรือผู้กำกับเป็นครั้งแรก ให้เริ่มจากสถานีระดับเล็กหรือกลางเป็นเวลา 2 ปี จึงจะสามารถดำรงตำแหน่งในสถานีระดับใหญ่ได้ เพื่อให้การเติบโตของหน้าที่การงานของตำรวจทุกระดับเป็นไปตามขั้นตอนสามารถตรวจสอบได้และเป็นที่ยอมรับของวงการตำรวจด้วยกัน ไม่มีการข้ามหัวข้ามหาง

และสามารถประเมินความเหมาะสมได้ตามคุณภาพ และเนื้อผ้าที่เป็นจริง

13. กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่ง และโยกย้ายตำรวจทุกระดับ ให้พิจารณาตามอาวุโสการครองตำแหน่ง เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ รวมทั้งสร้างความเป็นธรรม ขจัดระบบการวิ่งเต้น

ซื้อขายตำแหน่ง อีกทั้งเป็นการฟื้นฟูขวัญและกำลังใจให้กับตำรวจส่วนใหญ่

เกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้าย ต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจน พิจารณาจากคะแนน 3 ส่วน คือ พิจารณาจากอาวุโสของการทำงานเป็นหลัก จากความรู้ความสามารถ และจากการประเมินของประชาชนในสัดส่วน 40 : 30 : 30

ด้วยเกณฑ์การประเมินผลโดยประชาชนหรือชุมชนดังกล่าว จะทำการประเมินผลด้วย การสร้างระบบให้คะแนนประจำตัว มีการสะสมคะแนนประจำตัวที่ชัดเจน

14. คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (.ตร.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ควรกำหนดสัดส่วนกรรมการที่มาจากพลเรือนให้มีมากกว่าสัดส่วนที่มาจากตำรวจโดยตำแหน่ง และอดีตตำรวจที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อมิให้เกิดข้อครหากรณีที่ตำรวจครอบงำการประชุม และการตัดสินใจ หรือมีแนวโน้มปกป้องพวกเดียวกันมากเกินไป รวมทั้งเพื่อให้เกิดที่เป็นธรรมในกระบวนการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (.ตร.) ควรให้เปลี่ยนระบบการแต่งตั้งมาเป็นระบบเลือกตั้งเป็นองค์กรภายนอกและมีฐานะเป็นองค์กรอิสระ โดยคณะกรรมการเลือกตั้ง ( กกต.)ดำเนินการให้ โดยเปิดโอกาสให้ตำรวจทุกตำแหน่ง

ในระดับสัญญาบัตรมีสิทธิเลือกตั้ง ไม่ควรจำกัดเฉพาะตั้งแต่รองผู้กำกับขึ้นไปเท่านั้น ควรเปิดกว้างให้ผู้มีความรู้ ความสามารถเป็น .ตร.ได้

สำหรับการทำงานของ .ตร. ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานให้สภาฯ ทราบทุกปี เพื่อให้สภาสามารถตรวจสอบ เพราะจะเป็นกลไกที่เชื่อมโยงไปถึงประชาชนได้

15. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (กพค. ตร.) ควรกำหนดสัดส่วนใหม่ให้จำนวนกรรมการที่มาจากตำรวจมีน้อยกว่ากรรมการที่มาจากพลเรือน เพื่อให้การพิจารณามีความเป็นอิสระ ใช้หลักการด้านอื่นๆในการพิจารณาคุณธรรมจริยธรรมประกอบด้วย และสะท้อนการทำหน้าที่ที่ตัดขาด จากระบบอุปถัมภ์ อำนาจ อิทธิพล ผลประโยชน์ที่อาจทำให้สำนวนเรื่องร้องเรียนขาดความตรงไปตรงมา ขาดข้อเท็จจริง

การตรวจสอบต้องให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้าย ที่ต้องได้รับการตรวจสอบมากที่สุด รวมไปถึงกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำการทุจริต คอรัปชั่น รีดไถประชาชน ควรกำหนดช่องทางให้ผู้ที่ออกมาเปิดโปงข้อเท็จจริงมีความปลอดภัย และหากคน ในองค์กรรัฐเห็นเรื่องทุจริตต่างๆ สามารถเอาเรื่องนั้นออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะได้ โดยที่กฎหมายคุ้มครองไว้ว่าไม่มีความผิด

16. คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ หรือ กร.ตร. ควรเป็นคณะกรรมการ ที่มีความเข้าใจเรื่องเดือดร้อนของประชาชน สามารถทำหน้าที่ ที่ยึดหลักความยุติธรรม ความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน และชุมชน โดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการที่เป็นพลเรือน 2 ใน 3 และกรรมการควรจะทำหน้าที่ประสานกับคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานของตำรวจ (กต.ตร.) เพื่อใช้ประกอบการแต่งตั้งโยกย้ายด้วย

คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (กร.ตร.) ไม่ควรมีชุดเดียวที่ส่วนกลาง แต่ควรมีกรรมการทำงานในทุกจังหวัด เพื่อรับมือกับเรื่องร้องเรียนจำนวนมากในแต่ละปี (เคยมีถึง20,000 เรื่อง) เพิ่มศักยภาพการจัดการกับเรื่องร้องเรียนของประชาชนทุกเรื่อง ไม่คั่งค้าง ให้ความเป็นธรรมได้รวดเร็วมากขึ้น ดังนั้น ควรกระจายความรับผิดชอบไปยังตำรวจจังหวัด และให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการพิจารณา ให้ข้อมูลได้ด้วย

17. คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานของตำรวจ หรือ กต.ตร. ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามงานของตำรวจในแต่ละจังหวัด ที่แตกต่างจากการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน แต่สามารถทำงานประสานงานกับ กต.ตร. ได้ เพราะมีบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน แต่ต้องเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ กต.ตร. เพื่อเพิ่มสัดส่วนหรือตัวแทนภาคประชาสังคม และสัดส่วนผู้หญิงเข้าไปเป็นตัวแทนด้วยในทุกจังหวัด

18. ให้มีพนักงานสอบสวนหญิง และตำรวจหญิงทุกสถานีทั่วประเทศ เพื่อให้บริการประชาชนเพศหญิง เด็กหญิง และทุกเพศสภาพได้โดยสนิทใจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีตำรวจหญิง และพนักงานสอบสวนหญิงทุก สน. และ สภ. ทั้งนี้จัดให้มีห้องสอบสวนที่เป็นสัดส่วน ปลอดภัย เก็บความลับได้ และพนักงานตำรวจหญิงต้องทำหน้าที่ตามตำแหน่งที่สอบบรรจุเข้ามา ได้รับการแต่งตั้ง เลื่อนขั้น อย่างเหมาะสม ไม่ควรถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่อื่นนอกเหนือจากงานราชการตำรวจ

19. กำหนดให้การแต่งตั้งคณะกรรมการทุกระดับ มีสัดส่วนของผู้หญิงอยู่ด้วย และปรับทัศนคติการทำงานร่วมกันบนฐานความเสมอภาค เคารพสิทธิมนุษยชนของคนทุกเพศ นำมาสู่ภาคปฏิบัติอย่างจริงจัง และกำหนดบทลงโทษกับพนักงานตำรวจที่ไม่รับเรื่องราวร้องทุกข์ หรือไม่ให้ความสำคัญกับคดีที่เกิดกับผู้หญิงและคนข้ามเพศ

20. กำหนดให้การเปรียบเทียบปรับความผิดจราจร เป็นอำนาจตุลาการ ต้องกระทำโดยดุลยพินิจของศาล เพื่อลดการใช้อำนาจฉ้อฉลในการปรับความผิดจราจร ให้เกิดความยุติธรรมต่อประชาชน และการกระทำผิด

กฎจราจรไม่ใช่การกระทำผิดที่ซับซ้อน จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีเงินรางวัลค่าปรับ เพื่อหารายได้จากการทำยอดเงิน

ที่ไม่พึงได้ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการที่มีเงินเดือนประจำเต็มเวลา และเป็นการทำหน้าที่ในราชการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะพบการกระทำผิดกฎจราจร จากกล้อง CCTV หรือกล้องทุกประเภทและจากการพบเหตุกระทำผิดซึ่งหน้า

21. “สวัสดิการและงบประมาณที่เหมาะสมและดำรงตนอยู่ได้ ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับงบประมาณค่อนข้างมากที่นำไปลงทุนในภารกิจไม่ใช้งานตำรวจ ต้องมีการปฏิรูประบบงบประมาณตำรวจ ให้ใช้ในเป้าประสงค์ภารกิจตำรวจที่ขาดแคลน และสวัสดิการในการดำรงชีพ

22. ปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของวงการตำรวจ ร่าง ...ตำรวจแห่งชาติต้องมีข้อความมุ่งเน้นตำรวจให้ทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขและรักษาความยุติธรรม รับใช้ประชาชน ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคม มีทัศนคติภายใต้อัตลักษณ์ใหม่ที่ทำให้ตำรวจคือมิตรของประชาชนไม่หลงใหลกับยศถาบรรดาศักดิ์ และลบล้างความคิดที่ว่าตนเองอยู่เหนือคนอื่น

นอกจากข้อเสนอของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ข้างต้น ร่าง ...ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่

ควรจะกำหนดทุกอย่างให้ชัดเจน สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ปล่อยให้ใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจมากเกินไป และควรเป็นร่าง ... ตำรวจแห่งชาติ ที่กำหนดมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนแต่ละท้องถิ่น ที่ตำรวจทุกระดับชั้นต้องปฏิบัติตามไม่ควรเขียนเนื้อหาของร่างพ...ส่วนใดที่เปิดช่องให้ใช้ดุลพินิจในการ ทำตามกฎหมายก็ได้หรือไม่ทำก็ได้ ดังเช่นกรณี

ที่เกิดจากผลการศึกษา พบว่า กรณีการใช้ดุลพินิจเสนอศาลเพื่อให้ผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาจำนวนมากไม่ได้รับการประกันตัว ทั้งที่ในทางทฤษฎีกล่าวว่า ‘...การเอาตัวไว้ในอำนาจรัฐเป็นข้อยกเว้น รัฐต้องปล่อยเป็นหลัก…’ เป็นเหตุให้คนที่ถูกขังฟรีจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถออกมาสู้คดีได้

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้การพิจารณาร่างที่นำเข้าสู่สภาต้องมีผลเป็นโมฆะ เพราะกระบวนการไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ทางสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เสนอว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ยังควรทำให้ร่าง ...ตำรวจแห่งชาติ .. .... (ชุดของนายมีชัย  ฤชุพันธ์) ได้รับการนำมาพิจารณา ทั้งในชั้นการพิจารณา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในสภา เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง  

ขณะเดียวกันจำเป็นต้องยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่เกี่ยวข้องกับตำรวจทุกฉบับ เพื่อไม่ให้มีการรวมศูนย์อำนาจ และเร่งการกระจายอำนาจตำรวจไปเป็นตำรวจจังหวัดโดยเร็ว เพื่อให้งานบริการประชาชนเป็นไปด้วยความยุติธรรม รวดเร็ว และตรวจสอบได้