'กรณ์' แนะปรับเกณฑ์เยียวยาประกันสังคมเน้น รวดเร็ว ครอบคลุม ไม่ตกหล่น

'กรณ์' แนะปรับเกณฑ์เยียวยาประกันสังคมเน้น รวดเร็ว ครอบคลุม ไม่ตกหล่น

"กรณ์" ลุยทวงเงินให้คนทำงาน ขอรัฐเร่งเยียวยาผู้ประกันตน ม.33,39,40 ตกหล่น ล่าช้า ไม่ครอบคลุม เสนอใช้ข้อมูลกรมสรรพากร แทนระบบขึ้นทะเบียนของ กรมพัฒฯ เยียวยาได้ครบทุกราย

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรรกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความลง Facebook ว่า วันนี้มา “ทวงเงิน” ให้ “คนทำงาน” โดยได้รับการร้องเรียนมากมายจากหรือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมว่า เงินเยียวยาล่าช้า ตกหล่น ไม่ครอบคลุม
จากระบบราชการที่เป็นปัญหา รวมไปถึงนโยบายที่ให้ขึ้นทะเบียน ทั้งๆ ที่ราชการมีข้อมูลอยู่แล้วเพียงพอแต่แรก ซึ่งมติ ครม. ออกมาตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม และเมื่อวานนี้ผู้ประกันตน ม.33 บางคนได้เงินแล้ว แต่ยังมีคนที่รอรับเงินอยู่อีกคือ ผู้ประกันตนมาตรา 39, 40 และ ม.33 ที่ตกหล่น อย่างเร็วสุดได้รับเงินวันที่ 24 สิงหาคม เนื่องจากปัญหาความวุ่นวายของระบบประกันสังคมของกระทรวงแรงงาน และฐานข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ของกระทรวงพาณิชย์

มติ ครม. กลางเดือนกรกฎาคม 2 รอบบอกว่า จะเยียวยาคนใน ม.33 ตามระบบประกันสังคม ใน 13 จังหวัด มีชื่อและนายจ้างชัดเจน แต่ยังพบปัญหาตกหล่นหลายแห่ง ปัญหาที่ 1 พนักงาน ม.33 ของโรงแรมหลายแห่งยังตกหล่น เพราะข้อมูลกรมพัฒฯ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นกิจการที่ทำธุรกิจหลายประเภท เสี่ยงไม่เข้าเกณฑ์ พนักงานต้องอุทธรณ์กันเอง กว่าจะได้เงินก็ช้าเป็นเกือบเดือน จึงเสนอให้ใช้ระบบข้อมูลจัดส่งรายได้ของกรมสรรพากร แทนระบบขึ้นทะเบียนของ กรมพัฒฯ ว่าหากใครขาดรายได้จากการถูกรัฐบาลสั่งปิดกิจการ ต้องได้รับเยียวยาทุกราย

162822022219

ปัญหาที่ 2 เกิดจากภาครัฐรอให้คนลงทะเบียน ม.40 ใหม่อีกรอบ มานับรวมกันกับคนที่ลงทะเบียนไว้อยู่แล้ว ทำให้คนกว่า 3 ล้านคนได้เงินเยียวยาช้ากันไปหมด จึงเสนอให้ตัดรอบสำหรับคนใน 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่เข้าระบบ ม.39/40 อยู่แล้ว ก่อนมติ ครม. 17 กรกฎาคม ต้องได้รับเงินทันที ไม่ต้องรอคนที่มาลงทะเบียนใหม่

ต่อมา มติ ครม. ต้นสิงหาคม ขยายความช่วยเหลืออีก 16 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด เกิดปัญหาที่ 3 คือใช้ระบบเดิม ล่าช้าตามเดิม จึงเสนอให้ตัดรอบสำหรับคนใน 16 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่เข้าระบบ ม.39/40 อยู่แล้ว ก่อนมติครม. 3 สิงหาคม ต้องได้รับเงินทันที ไม่ต้องรอคนที่มาลงทะเบียนใหม่

หัวหน้าพรรคกล้า กล่าวต่อว่า วันนี้ผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อย เป็นนักรบทางเศรษฐกิจของไทยมาตลอดกำลังจะตาย นี่คือภารกิจที่ต้องทำให้ได้โดยเร็วที่สุด ในการพยุงชีวิตของพวกเขา ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการอัดฉีดให้เร็วและตรงเป้า ยังไม่นับว่านี่เป็นจำนวนเงินที่ผมมองว่า “น้อยเกินไป” และ “สั้นเกินไป” วิกฤตไม่จบภายในเดือนเดียว ควรมีการประเมินผลกระทบอย่างตรงไปตรงมา และวางแผนเยียวยาให้แก่ “คนทำงาน” เลยอย่างน้อย 3-6 เดือน

"เพราะลูกจ้างธุรกิจบริการ SMEs รายย่อย พ่อค้าแม่ขายรายเล็ก กลุ่ม Freelance-อาชีพอิสระ นักร้อง-นักดนตรี ธุรกิจฟิตเนส นวดสปา คนกลุ่มนี้สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยในภาคบริการมาโดยตลอด รอไม่ได้แล้วครับ" นายกรณ์ กล่าว