RATCH ทุ่ม 1.55 พันล้าน ซื้อหุ้น PRINC 10%

RATCH  ทุ่ม 1.55 พันล้าน ซื้อหุ้น  PRINC 10%

RATCH ทุ่ม 1.55 พันล้าน ซื้อหุ้น PRINC 10% ที่ราคาหุ้นละ 4.09 บาท แบ่งเป็น ซื้อหุ้น PP 346.23 ล้านหุ้น และซื้อหุ้นเดิมจากนางสาวสาธิตา วิทยากร จำนวน 34.62 ล้านหุ้น กำหนดชำระ24-27 พ.ค.64

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือ RATCH แจ้งว่า คณะกรรมการ(บอร์ด)บริษัทได้มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน)หรือ PRINC ในสัดส่วนร้อยละ 10 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ PRINC หลังจากการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บริษัท

ทั้งนี้แบ่งออกเป็น การลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ PRINC จำนวน 346,233,682 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.09 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ PRINC หลังจากการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บริษัทในราคาหุ้นละ 4.09 บาท และ การซื้อหุ้นสามัญเดิมของ PRINC จากนางสาวสาธิตา วิทยากร จำนวน 34,623,369 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.91 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ PRINC หลังจากการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บริษัทในราคาหุ้นละ 4.09 บาท คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,557,705,338.59 บาท โดยบริษัทฯ จะเข้าทำสัญญาที่เกี่ยวข้องต่อไป

ด้านบริษัท PRINC แจ้งว่า บริษัทได้จัดสรรหุ้นเพิ่มุนของบริษัทตามแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)จำนวนไม่เกิน 346,233,682 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 10ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ เพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด ให้กับ RATCH หุ้นละ 4.09 บาท ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาจองซื้อและชำระค่าหุ้นในวันที่ 24-27 พ.ค.2564 มูลค่า1,416,095,759.38 บาท โดยภายหลังจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับบุคคลในวงจำกัดในครั้งนี้แล้ว บริษัทฯ จะไม่มีหุ้นสามัญเพิ่มทุนคงเหลือที่ยังไม่ได้ออกจำหน่าย

ทั้งนี้ราคาเสนอขายหุ้นที่ 4.09 บาท เป็นราคาเสนอขายโดยมีส่วนลดประมาณร้อยละ 9.3ของราคาตลาดโดยราคาตลาดคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นของบริษัทฯ ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯรวม 15 วันทำการย้อนหลังติดต่อกันก่อนวันกำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนโดยคณะกรรมการบริษัทฯ กล่าวคือระหว่างวันที่28 เม.ย. 2564 ถึงวันที่ 20 พ.ค. 2564ซึ่งเท่ากับหุ้นละ4.51 บาท (ข้อมูลจาก SETSMART ที่www.setsmart.com) ดังนั้น ราคาเสนอขายข้างต้นจึงเป็นราคาที่ไม่ตำกว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาดตามประการของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 72/2558 เรื่องการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด (ตามที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) 

สำหรับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนแบบGeneral Mandate ครั้งนี้ เนื่องจาก RATCH มีความสนใจโมเดลการลงทุนธุรกิจบริการสุขภาพมีความใกล้เคียงกับธุรกิจผลิตไฟฟ้า กล่าวคือ
เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงและต้องใช้เวลาในการคืนทุนที่สำคัญมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปซึ่งจะสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคมและเศรษฐกิจในภาพรวม เป็นธุรกิจที่มีรายได้ประจำสามารถทนทานต่อความผันผวนของเศรษฐกิจได้ดีและมีศักยภาพในการลงทุนได้จริง อีกทั้งยังมีอัตราการทำกำไรและผลตอบแทนในการประกอบธุรกิจที่ดี ซึ่งแสดงถึงฐานะทางการเงินที่มั่นคง

รวมถึง RATCH มีแผนที่จะขยายธุรกิจสู่ธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare)จึงสามารถร่วมมือกับบริษัทเพื่อต่อยอดและพัฒนาธุรกิจบริการสุขภาพได้ อาทิ ร่วมลงทุนในการขยาย
โรงพยาบาลใหม่ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆในอนาคต นอกจากนี้ การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในรูปแบบอื่น ไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่
บริษัทที่สุดในขณะนี้

สำหรับเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนครั้งนี้บริษัทจะนำไปลงทุนและขยายกิจการของบริษัทในอนาคตอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งตามแผนการลงทุนของบริษัทภายในปี 2564จะมีการขยายโรงพยาบาล ทั้งการปรับปรุงและขยายโรงพยาบาลแห่งเดิม รวมถึงการลงทุนในโรงพยาบาลแห่งใหม่ โดยวิธีการเข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลเดิม และหรือ การลงทุนสร้างโรงพยาบาลใหม่ ซึ่งคิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 1,500-2,000 ล้านบาท รวมทั้งอาจนำไปใช้เป็นเงินหมุนเวียนในกิจการและหรือชำระหนี้บางส่วนให้แก่สถาบันการเงิน

ซึ่งหากบริษัทฯ ต้องใช้เงินลงทุนเกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้บริษัทฯจะพิจารณาใช้เงินกู้ยืมสถาบันการเงินต่อไป ประกอบกับนักลงทุนที่มาลงทุนในครั้งนี้ มีความประสงค์ที่จะเข้าลงทุนในธุรกิจด้านสุขภาพ จึงได้เข้าเจรจากับบริษัทฯจนประสบผลสำเร็จในครั้งนี้ โดยแผนการลงทุนในโรงพยาบาลเดิมและโรงพยาบาลใหม่นั้น บริษัทฯ คาดว่าจะใช้เงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนในไตรมาสที่ 3ของปี 2564 จนถึงไตรมาสที่ 2ของปี 2565


ทั้งนี้ การลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลแห่งใหม่ ข้างต้นอาจมีความไม่แน่นอน เนื่องจากบริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับคู่สัญญา อย่างไรก็ดี ระหว่างการเจรจานั้น บริษัทฯจะพิจารณาหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุน โดยอาจพิจารณานำเงินที่ได้รับไปใช้ในการลงทุนระยะสั้นที่มีความเสี่ยงต่ำและสภาพคล่องสูง เช่น ลงทุน
ในตราสารหนี้ เป็นต้น เพื่อให้สามารถนำเงินมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ หรือชะลอการเบิกเงินกู้หากไม่สามารถเข้าลงทุนได้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้ บริษัทฯ อาจพิจารณานำเงินเพิ่มทุนที่ได้รับไปใช้เพื่อชำระหนี้สถาบันการเงินที่มีอยู่ หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ ต่อไป รวมทั้ง หากการเจรจาเข้าลงทุนประสบความสำเร็จ บริษัทฯ จะเปิดเผย
สารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และดำเนินการอื่นใดตามที่กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดต่อไป