เนื้อหมูแพงสุดรอบ 10 ปี CPF-TFG จับมือเก็งกำไรพุ่ง

 เนื้อหมูแพงสุดรอบ 10 ปี   CPF-TFG จับมือเก็งกำไรพุ่ง

ราคาสินค้าอาหารถือว่ามีผลกระทบต่อประชาชนทั้วประเทศ ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีเงินในกระเป๋าลดลง จึงทำให้เมื่อราคาสินค้าประเภทนี้ ปรับตัวขึ้นจึงกลายเป็นวาระแห่งชาติไปด้วย

 

ราคาเนื้อหมูพึ่งจะขึ้นไปทำราคาแพงที่สุดในรอบ 10 ปี ที่ราคาเนื้อหมูขายปลีกเฉลี่ยที่ 150-170 บาทต่อกิโลกรัม จากต้นปีราคาเนื้อหมูเฉลี่ยที่ 121-130 บาทต่อกิโลกรัม และราคามีการปรับตัวลงในช่วงเดือนพ.ค. เฉลี่ยอยู่ที่ 115 บาทต่อกิโลกรัม

จนเดือนมิ.ย. ราคาเนื้อมีการขยับขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 160 บาทต่อกิโลกรัม และล่าสุดวันที่ 17 ก.ค. ราคาเฉลี่ยขึ้นมาอยู่ที่ 150-170 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลทำให้เริ่มมีเสียงร้องเรียนจากประชาชนให้เข้ามาควบคุมราคา

สอดคล้องกับราคาหมูหน้าฟาร์ม ขึ้นมาอยู่ที่ 75-80 บาทต่อกิโลกรัม และล่าสุดวานนี้ (20 ก.ค. 63) มีรายงาน ราคาหมูในประเทศพุ่งไปอยู่ที่ระดับ 81.1 บาท/กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นระดับสูง จนทำให้มีการคาดการณ์ว่าภายใน 2 สัปดาห์ราคาเนื้อหมูมีโอกาสขึ้นแตะที่ 90 บาทต่อกิโลกรัมได้

สถานการณ์ราคาหมูที่ปรับตัวสูงขึ้นไม่ได้เฉพาะในไทยเท่านั้นแต่ยังเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเหมือนกัน ซึ่งราคาหมูหน้าฟาร์มในไทยเฉลี่ยที่ 80-85 บาทต่อกิโลกรัม แต่ในกัมพูชาอยู่ที่ 100-200 บาทต่อกิโลกรัม

ขณะที่เวียดนามราคาหมูหน้าฟาร์มอยู่ที่ 130-150 บาทต่อกิโลกรัม และประเทศจีน พุ่งสูงที่สุดอยู่ที่ 200 บาทต่อกิโลกรัม และยังมีแนวโน้มอีกด้วว่าราคาเนื้อหมูยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีก จากภาวะการแพร้ระบาดรอบ 2 ของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ

ก่อนหน้านี้ราคาเนื้อหมูมีประเด็นที่พลักดันราคาเพิ่มสูงขึ้นมาตลอดจากการระบาดของโรคอหิวาแอฟริกันในหมู หรือ ASF ซึ่งเกิดขึ้นกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2562 และยิ่งเกิดขึ้นในประเทศจีนที่ซึ่งถือว่าเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเนื้อหมุรายใหญ่ของโลก จนทำให้เกิดปรากฎการณ์จีนนำเข้าหมูมากเป็นประวิติการณ์ 4 แสนตันเดือน เม.ย. 2563 หรือเพิ่มขึ้น 170 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ด้านเวียดนาม และกัมพูชาที่เผชิญปัญหาเดียวกันที่ต้องนำเข้าเนื้อหมูจำนวนมากหลังจากต้องกำจัดหมูในประเทศ เป้นจำนวนมากเพื่อป้องกันการระบาด ซึ่งเทียบกับไทยที่ไม่มีรายงานการระบาด ASF เนื่องจากผู้ประกอบการเลี้ยงในระบบฟาร์มปิดทำให้มีการส่งออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

เช่นเดียวกับ ฮ่องกง รายงานว่า ปัญหาการขาดแคลนเนื้อหมู เนื่องจากการตรวจพบโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรในจีน และจีนระงับการขนส่งสุกรมีชีวิตนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2562 ทำให้ฮ่องกงแก้ปัญหา โดยหาแหล่งนำเข้าสินค้าจากประเทศในอาเซียนมาทดแทน โดยเฉพาะประเทศไทยที่พบว่าในปี 2562 มีการนำเข้าเนื้อหมูจากไทยเพิ่มขึ้นในระดับ 2,000%เมื่อเทียบกับปี 61 เพราะไทยสามารถป้องกันโรคระบาดได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ

บวกกับช่วง โควิด -19 กลับมาระบาดรอบ 2 ทำให้มีบางประเทศมีการกักตัวเว้นระยะห่างทำให้ประชาชนมีความต้องการบริโภคเนื้อหมูมากขึ้น ยิ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่พลักดันยอดส่งออกหมูของไทยเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

ด้านผู้ประกอบการในไทย รายใหญ่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ประกอบธุรกิจอาหาร ธุรกิจอาหารสัตว์ และธุรกิจผลผลิตจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซึ่งฐานการผลิตใน 16 ประเทศ หากเป็นเนื้อหมูมีที่ไทย เวียดนาม ไต้หวัน รัชเซีย กัมพูชา ฟิลิปินส์ มาเลเซีย และสปป. ลาว โดยมีตลาดส่งออกถึง 30 ประเทศ เฉพาะในประเทศจีน มีการส่งออกทั้งอาหารสัตว์บกและสัตว์น้ำ ฟาร์มสัตว์บกและน้ำ และอาหารพร้อมรับประทาน

คาดการณ์ว่ายอดขายเนื้อหมูเติบโตต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 3 ปี 2563 หลังไตรมาส 1 ปี 2563 ที่ผ่านมาบริษัททำสถิติกำไรสูงสุด ถึง 6,110 ล้านบาท ซึ่งได้ผลดีจากความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นหลังมีการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ

ด้านบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TFG มีธุรกิจใกล้เคียงกับ CPF มีธุรกิจไก่ 69.55 % สุกร 19.94 % อาหารสัตว์ 10.03% และอื่น 0.48 % ซึ่งทั้งสองบริษัทมีจุดเหมือนและแตกต่างกันไม่น้อยแม้จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจอาหารสดเหมือนกัน ทาง CPF มีการทำธุรกิจต้นน้ำอย่างฟาร์มในต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้ไม่ต้องส่งออกสินค้าไปยังประเทศดังกล่าว 

ส่วน TFG มีฟาร์มในประเทศและเน้นส่งออกไปยังต่างประเทศทำให้เมื่อเกิดการล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านมาจึงได้รับผลกระทบจากการส่งออกไปด้วย

อย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัทยังประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบในการเลี้ยงสัวต์ เช่นกากถั่วเหลืองราคาปรับตัวลดลง และค่าเงินบาท จึงทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องครึ่งเดือนก.ค. CPF บวก เกือบ 9 % และ TFG บวก 4.2 %