“สุพจน์” เผยกรธ.เตรียมยื่นข้อโต้แย้ง ร่าง พ.ร.ป.ศาลรธน. ปมต่ออายุ5ตุลาการ-เพิ่มอำนาจศาลให้ออกมาตรการชั่วคราว-คำบังคับ ตุลาการศาลรธน.ที่หมดวาระจ่อลาอออก
นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) คนที่หนึ่ง กล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าและหลังจากที่กรธ. ได้รับหนังสือจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กรธ.จะประชุมเพื่อทำความเห็นโต้แย้งต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับที่สนช. ลงมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาและขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย โดยมีประเด็นสำคัญ คือ บทบัญญัติว่าด้วยการดำรงตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่สนช. มีมติแก้ไขให้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คนที่อยู่ครบวาระ 9 ปีและขาดคุณสมบัติ คืออายุครบตามเกณฑ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะการสรรหาใหม่หลังการเลือกตั้งทั่วไป และมีประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ส่วนที่ สนช. ที่เสนอคำแปรญัตติระบุว่าเพื่อความสง่างามนั้น ตนมีความเห็นตรงข้าม เพราะ สนช.ชุดปัจจุบันสามารถดำเนินการได้เพราะมีสถานะเทียบเท่าสภาผู้แทนราษฎร
“ประเด็นต่ออายุตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 5 คนนั้นถือว่าขัดและแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่นอน หากไม่แก้ไขให้ถูกต้องอาจส่งผลต่อความเป็นศาลรัฐธรรมนูญได้ เช่น หากมีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจะกล้ารับเรื่องหรือไม่ หากรับแล้วจะวินิจฉัยเช่นไร และอาจถูกมองเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนได้ ทั้งนี้ในกรณีดังกล่าวผมไม่เข้าทราบว่า สนช. ทราบได้อย่างไรว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 5 คนอยากอยู่ต่อ จากที่ผมสนิทกับตุลาการทั้ง 5 คนและทราบความเห็นพบว่า มีส่วนใหญ่ที่ต้องการลาออก แต่มีส่วนน้อยเท่าที่ที่อยากอยู่ต่อ” นายสุพจน์ กล่าว
นายสุพจน์ ยังกล่าวด้วยว่าสำหรับความเห็นส่วนตัว มองประเด็นที่อาจไม่เหมาะจะบัญญัติไว้ในร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ คือ 1. การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัยคำร้อง เพราะอาจกระทบต่อความเป็นกลางของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ เช่น เกิดกรณีโต้แย้งและมีผู้ชุมนุมแบ่งเป็น 2 ฝ่ายซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดเหตุรุนแรง ในทางเป็นจริงย่อมมีบุคคลที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกมาตรการชั่วคราวไม่ว่าทางใดทางหนึ่งจะถูกมองว่าเข้าฝ่ายอีกฝ่ายเสมอ ซึ่งจะกระทบต่อภาพลักษณ์และความเป็นกลางได้ และ 2. ประเด็นให้อำนาจศาลออกข้อกำหนดภายหลังมีคำวินิจฉัย เนื่องจากที่ผ่านมาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุดและผูกพันกับทุกองค์กร จึงไม่จำเป็น ส่วนที่ผู้ที่ต้องการให้บัญญัติไว้นั้น ไม่ใช่เพราะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน แต่เป็นเพราะมีฝ่ายที่ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยและไม่ยอมรับอำนาจศาล และนำไปเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งไม่ใช่ประเด็นข้อบกพร่องของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดีประเด็นที่ สนช. เพิ่มเติมในร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ นั้นมีประเด็นที่เสี่ยงเกิดวิกฤตการเมืองในประเทศด้วย.
"นิกร" บอกใจเย็น รอ กม.ลูก ผ่านรัฐสภา ก่อนเคาะแบ่งเขต-ผู้สมัครส.ส.
27 มิ.ย. 2565 | 15:42"ประยุทธ์" เมินโพล หนุน "อุ๊งอิ๊ง" นายกฯ ชี้ ไม่ตรงสักอัน โวย สื่อแฟร์หน่อย
27 มิ.ย. 2565 | 15:27"สุรสิทธิ์" เผย "สุชาติ" จองคิวแรก ประเดิมเวที โรดโชว์พชปร. 10ก.ค.นี้
27 มิ.ย. 2565 | 14:43“สมคิด” ชำแหละประชาธิปไตยแบบ“แจกกล้วย”ไม่อายฟ้าดิน หวังแค่แสวงประโยชน์
27 มิ.ย. 2565 | 14:24"ชัชชาติ" จ่อเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า "สายสีเขียว" 2 ช่วง คาดไม่เกิน 59 บาท
27 มิ.ย. 2565 | 14:20