'มนพร' สั่ง บวท. รับมือฝุ่น PM 2.5 ภาคเหนือ - อีสาน พบปริมาณฝุ่นลดลง

'มนพร' สั่งวิทยุการบินฯรับมือฝุ่น PM 2.5 ภาคเหนือ - อีสาน พบปริมาณฝุ่นลดลง ส่งผลดีต่อเทศกาลสงกรานต์ 68 ทำให้ประชาชนท่องเที่ยวคึกคัก
นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวก และบูรณาการความร่วมมือกับ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ เชียงร่าย ลาง ตาก และแม่ฮ่องสอน) และพื้นที่ภาคอีสานตอบบน (อุดรธานี และหนองบัวลำภู)
โดยสนับสนุนภารกิจของกรมฝนฝนหลวงและการบินเกษตร ในการทำการบินโปรยน้ำเย็น หรือน้ำแข็งแห้ง เพื่อระบายฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นอกจากนี้ได้กำชับให้วิทยุการบินฯ จัดระเบียบห้วงอากาศสำหรับการใช้งานโดรน เพื่อสนับสนุนการกิจการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป้าในพื้นที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งสามารถบรรเทาผลกระทบได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที
พร้อมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้ได้รับรายงานสถิติค่าแนวโน้มความเข้มข้นของฝันภาคเหนือและอีสานลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อพี่น้องประชาชนในช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ โดยเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
นายสุรชัย หนูพรหม รักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) กล่าวเพิ่มเติมว่า วิทยุการบินฯ ได้สนับสนุนการปฏิบัติการบินโปรยน้ำเย็น หรือน้ำแข็งแห้ง เพื่อทำการเจาะช่องชั้นบรรยากาศ
ระบายฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการตัดแปลงสภาพอากาศ
โดยกรมฝนหลวงฯ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อปฏิบัติการบิน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่เขต จ.ภาคเหนือตอบน
ณ สนามบินตาก จ. ตาก และสนามบินเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ส่วนในพื้นที่เขต จังหวัดภาคอีสานตอนบน ณ สนามบินอุดรธานี จ.อุดรธานี โดยใช้อากาศยานเพื่อทำการบินทั้งสิ้น 11 ลำ อีกทั้ง วิทยุการบินฯ ยังเข้าร่วมให้การสนับสนุนการใช้งานโดรน
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ของศูนย์อำนานวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป้า หมอกควัน และฝุ่นละออง จ.เชียงใหม่ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อบุรุณาการการปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ อบจ.เชียงใหม่ กองทัพภาคที่ 3 กองทัพอากาศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร การบินฯ ฯลฯ ในการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ประจำปี 2568 เป็นการเข้าสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ เพื่อควบคุมระงับบรรเทาผลกระทบได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที ป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และแก้ไขความเดือดร้อนหรือความเสียหายแก่ประชาชน