ผนึกเครือข่าย 7 สมาคมด้านอารักขาพืช ประชุมขับเคลื่อนภาคเกษตร ”บีซีจี โมเดล”

ผนึกเครือข่าย 7 สมาคมด้านอารักขาพืช ประชุมขับเคลื่อนภาคเกษตร ”บีซีจี โมเดล”

สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร เป็นเจ้าภาพหลักจัดงานร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ผนึกเครือข่าย 7 สมาคมด้านอารักขาพืชจัดประชุมวิชาการมุ่งเป้าขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วย”บีซีจี โมเดล”

สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร เป็นเจ้าภาพหลักจัดงานร่วมกับสมาคการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ผนึกเครือข่าย 7 สมาคม   จัดใหญ่ประชุมวิชาการอารักขาพืช  ภายใต้หัวข้อ”เกษตรยุคใหม่ ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”มุ่งเป้าขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วยบีซีจี โมเดล(BCG MODEL)   วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลลูน โรงแรมรามาการ์เด้น ถ. วิภาวดี กรุงเทพฯ นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติครั้งที่ 15  ภายใต้หัวข้อ”เกษตรยุคใหม่ ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” จัดโดย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ผนึก 7 สมาคมด้านอารักขาพืช ประกอบด้วย สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย และสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย 

ผนึกเครือข่าย 7 สมาคมด้านอารักขาพืช ประชุมขับเคลื่อนภาคเกษตร ”บีซีจี โมเดล”

นายอภัยกล่าวว่า การจัดประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้เป็นงานเกี่ยวกับการอารักขาพืชเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีความก้าวหน้าทางด้านการเกษตรเป็นอย่างมากและที่สำคัญมุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่แต่ละบริษัทที่มาร่วม ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาไปกว่าหลายสิบปี รวมไปถึงการนำจุลินทรีย์  ตัวห้ำและตัวเบียนมาประยุกต์ใช้ร่วมกับสารอารักขาพืช เพื่อใช้สารฯ เท่าที่จำเป็นตามนโยบาย BCG ของภาครัฐบาลที่ส่งเสริมลดการใช้สารเคมีและนำจุลินทรีย์มาผนวกใช้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงภาคอุตสาหกรรมเรื่องการแปรรูปอาหารของสัตว์ ความปลอดภัยทางด้านอาหาร เกษตรอินทรีย์และเป็นที่ต้องการของตลาดโดยกระทรวงพาณิชย์คอยให้การแนะนำเกษตรกรและที่สำคัญสามารถนำไปต่อยอดได้อีกหลากหลายมิติอีกด้วย ปัจจุบันโลกมีการปรับเปลี่ยนแต่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของประเทศนั้น ๆ แต่ท้ายที่สุดจะมุ่งไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน

ผนึกเครือข่าย 7 สมาคมด้านอารักขาพืช ประชุมขับเคลื่อนภาคเกษตร ”บีซีจี โมเดล”

ขณะที่ นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าในส่วนกรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมมือระหว่างภาครัฐ กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และภาคเอกชนจากหลายสมาคมด้านอารักขาพืช เพื่อมุ่งพัฒนาภาคการเกษตรของไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน และการร่วมงานประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 15 นี้เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างมากที่ครอบคลุมถึงเทรนด์อนาคตของภาคเกษตร การอัพเดทเทคโนโลยีภาคการเกษตรที่เกิดขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีที่สามารถคาดการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์รวมไปถึงโดรนในด้านการจัดแปลงของเกษตรกร อย่างไรก็ตามเกษตรกรไทยโดยเฉลี่ยมีอายุสูงขึ้นการใช้อุปกรณ์จะต้องใช้งานง่ายและมีความเที่ยงตรงซึ่งส่วนนี้ยังอยู่ในการพัฒนาร่วมกับสมาคมอารักขาพืชต่าง ๆ  

           ด้าน นายจารึก ศรีพุทธชาดิ นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรกล่าวว่าการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2536 และจัดต่อเนื่องทุก ๆ 2 ปีจนถึงปัจจุบัน โดยแต่ละสมาคมหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยปีนี้(2565)สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย และสมาคมอื่นรวมเป็น 7 สมาคม จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ”เกษตรยุคใหม่ ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”  
            นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรกล่าวต่อว่าการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และความคิดในกลุ่มนักวิชาการด้านอารักขาพืชและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยด้านกีฏและสัตววิทยา โรคพืชวิทยา วิทยาการวัชพืช วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 
            นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง”ทิศทางและนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรไทย”เพื่อเป็นเวทีการพูดคุยเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วย บีซีจี โมเดล(BCG MODEL) การปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตสินค้าเกษตรสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น 
          “การประชุมครั้งนี้ได้จัดให้มีการสรรหาบุคคลดีเด่นทางด้านการอารักขาพืชเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่ท่านผู้มีผลงานดีเด่นด้านการอารักขาพืชด้วย”นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรกล่าว
           ส่วนนายสมศักดิ์ สมานวงศ์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย หนึ่งในเครือข่ายสมาคมพันธมิตรด้านอารักขาพืชเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้กล่าวว่าต้องการนำเสนอผลงานการวิจัยด้านการอารักขาพืชที่สมาคมฯ ได้ทำการรวบรวมจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมานำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ  อาทิ การใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อสำรวจและประเมินการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว โดยกองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ,ประสิทธิภาพของการสกัดเนื้อผลมะคำดีควายแบบเม็ดละลายน้ำในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ โดยสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นต้น
       อย่างไรก็ตามในการประชุมครั้งนี้ได้มีการมอบรางวัลบุคคลดีเด่นด้านอารักขาพืช จำนวน 3 รางวัล  ประกอบด้วยรางวัลด้านกีฎและสัตววิทยา 1 รางวัลได้แก่ นางพิมลพร นันทะ ด้านโรคพืชวิทยา 1 รางวัลได้แก่ รศ.ดร.วิชัย โฆสิตรัตน และด้านสื่อมวลชนเกษตร ได้แก่ นายชาติชาย ศิริพัฒน์