ปภ. เตือน 44 จังหวัด รับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง

ปภ. เตือน 44 จังหวัด รับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง

ปภ. เตือน 44 จังหวัดภาคเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันออก – กลาง รวมทั้ง กทม.-ปริมณฑล รับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง ในช่วงวันที่ 20 - 22 สิงหาคม 2565

เมื่อวันที่ 18 ส.ค.65 เวลา 14.00 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (204/2565) ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนจะเคลื่อนเข้าสู่แนวร่องมรสุม และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย ระหว่างวันที่ 20 - 22 สิงหาคม 2565 ดังนี้ 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ

  • แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ ปาย ปางมะผ้า แม่สะเรียง)
  • เชียงใหม่ (อ.ฝาง แม่อาย เชียงดาว เวียงแหง สะเมิง)
  • เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่จัน แม่สาย เวียงป่าเป้า แม่ฟ้าหลวง พญาเม็งราย ขุนตาล เวียงแก่น เทิง เชียงของ เชียงแสน ดอยหลวง) ลำพูน (อ.ลี้ ทุ่งหัวช้าง)
  • ลำปาง (อ.เมืองฯ เถิน เสริมงาม วังเหนือ แจ้ห่ม เมืองปาน แม่พริก สบปราบ เกาะคา งาว ห้างฉัตร)
  • พะเยา (อ.เมืองฯ แม่ใจ เชียงคำ ปง จุน ภูซาง ดอกคำใต้)
  • แพร่ (อ.เมืองฯ วังชิ้น ร้องกวาง ลอง สอง เด่นชัย)
  • น่าน (อ.เมืองฯ เชียงกลาง สองแคว ปัว เฉลิมพระเกียรติ บ่อเกลือ ทุ่งช้าง ท่าวังผา ภูเพียง เวียงสา)
  • ตาก (อ.ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด)
  • สุโขทัย (อ.เมืองฯ ทุ่งเสลี่ยม บ้านด่านลานหอย ศรีสัชนาลัย คีรีมาศ)
  • อุตรดิตถ์ (อ.ท่าปลา น้ำปาด)
  • พิษณุโลก (อ.วังทอง นครไทย เนินมะปราง ชาติตระการ วัดโบสถ์)
  • พิจิตร (อ.ทับคล้อ ดงเจริญ)
  • เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ วังโป่ง ชนแดน หล่มสัก หล่มเก่า เขาค้อ หนองไผ่)
  • นครสวรรค์ (อ.ไพศาลี ท่าตะโก)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เลย (อ.เมืองฯ ด่านซ้าย ท่าลี่ นาแห้ว)
  • หนองคาย (อ.สังคม โพธิ์ตาก)
  • บึงกาฬ (อ.เมืองฯ บุ่งคล้า)
  • หนองบัวลำภู (อ.สุวรรณคูหา)
  • อุดรธานี (อ.กุดจับ นายูง น้ำโสม)
  • สกลนคร (อ.เมืองฯ ภูพาน สว่างแดนดิน)
  • นครพนม (อ.เมืองฯ)
  • มุกดาหาร (อ.เมืองฯ ดงหลวง หว้านใหญ่ หนองสูง)
  • ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ หนองบัวระเหว แก้งคล้อ บ้านแท่น ภูเขียว คอนสวรรค์)
  • ขอนแก่น (อ.เมืองฯ ชุมแพ ภูเวียง ภูผาม่าน มัญจคีรี ชนบท บ้านแฮด)
  • มหาสารคาม (อ.โกสุมพิสัย)
  • กาฬสินธุ์ (อ.เมืองฯ ยางตลาด)
  • ร้อยเอ็ด (อ.เสลภูมิ)
  • ยโสธร (อ.มหาชนะชัย คำเขื่อนแก้ว เลิงนกทา)
  • อำนาจเจริญ (อ.เมืองฯ ชานุมาน)
  • นครราชสีมา (อ.ด่านขุนทด โนนไทย วังน้ำเขียว ปักธงชัย พิมาย จักราช ลำทะเมนชัย ชุมพวง ปากช่อง สีคิ้ว)
  • บุรีรัมย์ (อ.เฉลิมพระเกียรติ ประโคนชัย โนนดินแดง นางรอง สตึก คูเมือง)
  • สุรินทร์ (อ.ปราสาท พนมดงรัก)
  • ศรีสะเกษ (อ.ขุนหาญ กันทรลักษ์)
  • อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ บุณฑริก น้ำยืน นาจะหลวย น้ำขุ่น วารินชำราบ เดชอุดม นาเยีย)

ภาคตะวันออก

  • ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ ประจันตคาม กบินทร์บุรี นาดี)
  • สระแก้ว (อ.เมืองฯ วังน้ำเย็น ตาพระยา)
  • ระยอง (อ.เมืองฯ เขาชะเมา แกลง บ้านค่าย)
  • จันทบุรี (อ.เมืองฯ นายายอาม เขาคิชฌกูฏ สอยดาว โป่งน้ำร้อน มะขาม ขลุง)
  • ตราด (อ.บ่อไร่ เขาสมิง คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด แหลมงอบ)

ภาคกลาง

  • กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ สังขละบุรี)
  • ราชบุรี (อ.สวนผึ้ง บ้านคา)
  • สมุทรปราการ (อ.เมืองฯ บางพลี บางเสาธง)
  • นครนายก (อ.เมืองฯ ปากพลี)
  • รวมถึงกรุงเทพมหานคร

กอปภ.ก. จึงได้ประสานแจ้งจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า พร้อมติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักหรือบริเวณที่มีฝนสะสม ที่อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วม

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำ น้ำตก ถ้ำลอด หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้มีประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้า พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย

อีกทั้งจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) รวมถึงนำเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำจุดเสี่ยงอันตรายและพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้พร้อมเผชิญเหตุ และช่วยเหลือประชาชนทันที

ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศ ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด อีกทั้งระวังอันตรายจากการสัญจรบริเวณที่มีฝนตกหนัก และบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง

ปภ. เตือน 44 จังหวัด รับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง