กำเนิด ‘วันสตรีสากล’ 8 มีนาคม กับ ‘กรรมกุหลาบ’ เสียงกรีดร้องแทนใจสตรีทั่วโลก

กำเนิด ‘วันสตรีสากล’  8 มีนาคม กับ ‘กรรมกุหลาบ’ เสียงกรีดร้องแทนใจสตรีทั่วโลก

จุดเริ่มต้นและความสำคัญ ‘8 มีนาคมวันสตรีสากล' เชิญร่วมฟังเสียงและเห็นคุณค่าความเป็นผู้หญิง พิทักษ์สิทธิสตรีจากความโหดร้าย การคุกคามทางเพศ ผ่านนิทรรศการศิลปะ ‘กรรมกุหลาบ’ ณ หอศิลป์ กทม. 8 มี.ค.2566

กรุงเทพมหานคร, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ มูลนิธิศิลปสมัย จัดโครงการกิจกรรมเนื่องใน วันสตรีสากล  8 มีนาคม 2566 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. โดยคุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ เป็นประธานในการเปิดงาน ร่วมด้วยหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน ร่วมสนับสนุนการจัดงาน

การจัดงานเนื่องใน 8 มีนาคมวันสตรีสากล ปี 2566 นี้ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) กำหนดจัดนิทรรศการศิลปะครั้งแรกของศิลปินชื่อ Myanmar Rose (เมียนมาร์ โรส) ดำเนินงานภายใต้โครงการนิทรรศการศิลปะชื่อ Not Alone – Now Myanmar Rose’s screams can be heard and seen… หรือในชื่อไทย กรรมกุหลาบ ถือเป็นครั้งแรกที่นับจากนี้เสียงกรีดร้องของเธอจะไม่สูญเปล่า หากจะได้ยินกึกก้องและรับรู้ไปทั่วโลก ด้วยเรื่องราวที่สุดแสนสะเทือนใจ

กำเนิด ‘วันสตรีสากล’  8 มีนาคม กับ ‘กรรมกุหลาบ’ เสียงกรีดร้องแทนใจสตรีทั่วโลก ศิลปิน Myanmar Rose (เมียนมาร์ โรส)

เมียนมาร์ โรส ถูกขายเป็นทาสตั้งแต่อายุ 14 ปี ตอกย้ำว่าไม่ใช่แค่ผู้ชายเท่านั้นที่อยู่เบื้องหลังอาชญากรรมอันเลวร้ายนี้ ในบางครั้งได้มีผู้หญิงมีส่วนร่วมแสวงหาผลประโยชน์จากความเป็นเด็กผู้หญิง และเมินเฉยต่อการกระทำที่สุดแสนเลวทราม..แม้ว่าจะอยู่ตรงหน้าก็ตาม

Myanmar Rose ถ่ายทอดผลงาน กรรมกุหลาบ จากความทรงจำอันเจ็บปวด เธอวาดรูปเพื่อระบายความรู้สึกที่เก็บไว้ตั้งแต่ในวัยเด็กที่ถูกข่มขืนกระทำชำเรา ใช้แรงงาน ฯลฯ 

กำเนิด ‘วันสตรีสากล’  8 มีนาคม กับ ‘กรรมกุหลาบ’ เสียงกรีดร้องแทนใจสตรีทั่วโลก จิระนันท์ พิตรปรีชา อ่านบทกวี

 

ผลงานของ Myanmar Rose มีความจริงใจ บริสุทธิ์ เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดบนกระดาษและผืนผ้าใบ เหมือนดั่งเสียงของเธอที่โลกนี้ควรได้ยิน เมื่อความรวดร้าวสะท้อนได้แต่ในอก แม้เสียงเพรียกหาหาความสุขก็ไม่อาจเปล่ง หรือกล่าวออกจากปากที่เหมือนถูกปิดด้วยโซ่ตรวนทางเพศ และความทรงจำอันเจ็บปวด 

จะมีใครที่หยิบยื่นโอกาส จะมีใครมาซับน้ำตาที่ไหลรินได้เพียงข้างใน นรกที่มีอยู่จริงของดอกไม้ที่แสนงดงามกลับถูกบ่วงกรรมให้ติดอยู่กับตราบาป ความใคร่ที่ปราศจากความรัก และความรุนแรงที่กดซ้ำความรู้สึกซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกินจะเอ่ยถึงความบอบช้ำ 

สตรีมิใช่แค่ที่รองรับอารมณ์ทางเพศ ไม่ใช่ที่รองรับความรู้สึกข่มเหง หยุดการกระทำอันเลวร้ายเหล่านี้ซ้ำซากด้วยการข่มขืนและความรุนแรงเถิด แล้วมาตระหนักถึงคุณค่าของผู้หญิงเพศแม่ ความรักจะทำให้ดอกกุหลาบงามไม่ต้องบอบซ้ำและซ้ำซากกับอารมณ์เถื่อนอีกต่อไป

กำเนิด ‘วันสตรีสากล’  8 มีนาคม กับ ‘กรรมกุหลาบ’ เสียงกรีดร้องแทนใจสตรีทั่วโลก ศิลปะแสดงสดโดย 4 ศิลปินหญิง ในนิทรรศการ 'กรรมกุหลาบ'

 

ในโครงการนิทรรศการศิลปะ Not Alone – Now Myanmar Rose’s screams can be heard and seen… ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่ร่วมแสดงความคิดเห็นเนื่องใน วันสตรีสากล 8 มีนาคม ดังนี้

  • 10.00 น. เริ่มงานกิจกรรมนิทรรศการ
  • 13.00 น. เริ่มพิธีการ และเปิดเวทีเสวนาเรื่องการใช้อำนาจล่วงละเมิดทางเพศในงานศิลปะ โดย โศภิรัตน์ ม่วงคำ และ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
  • 14.00 น. เชิญมูลนิธิฯ หรือ หน่วยงานต่างๆ ขึ้นร่วมพูดบนเวที
  • 15.00 น. ศิลปะแสดงสด Performance Art โดย 4 ศิลปินหญิง นพวรรณ สิริเวชกุล, พรรณชญานิษฐ์ วัชรรัตน์, มะลิวัลย์ ทรายหงษ์, ลัดดา คงเดช ด้วยเจตนารมณ์เพื่อต้องการสื่อถึงการพิทักษ์สิทธิสตรีในมนุษยธรรมจากความโหดร้ายรุนแรง การคุกคามทางเพศ สร้างการตระหนักและเห็นคุณค่าในความเป็นผู้หญิงที่ไม่อาจถูกทำร้ายหรือล่อลวงด้วยพฤติกรรมทางเพศ และการขืนใจ  
  • 17.00 น. เชิญคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา อ่านบทกวี กล่าวเชิญประธานจัดงานขึ้นกล่าวเปิดงาน กล่าวเชิญแขกผู้มีเกียรติขึ้นร่วมเวที เชิญชมดนตรี กวี จากศิลปินรับเชิญ
  • 18.00 น. ศิลปิน เมียนมาร์ โรส ขึ้นกล่าวบนเวที พร้อม Presentation เชิญชมดนตรี กวี จากศิลปินรับเชิญ
  • 20.00 น.จบงาน

โครงการนิทรรศการศิลปะ Not Alone – Now Myanmar Rose’s screams can be heard and seen… “กรรมกุหลาบ” กำหนดจัดขึ้นใน วันที่ 8 มีนาคม 2566 วันสตรีสากล ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 1 ห้องเอนกประสงค์

กำเนิด ‘วันสตรีสากล’  8 มีนาคม กับ ‘กรรมกุหลาบ’ เสียงกรีดร้องแทนใจสตรีทั่วโลก การแสดงดนตรีจากศิลปินรับเชิญในนิทรรศการ 'กรรมกุหลาบ'

 

วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีทั่วโลก นับเป็นวันที่มีความหมายพิเศษในฐานะ วันสตรีสากล หรือ International Women’s Day (IWD) ถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองในทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิงและเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี 

กลุ่มสตรีจากทุกทวีป ไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองก็ตาม ได้รวมตัวเพื่อฉลองวันสำคัญนี้ เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนานเพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาค ความยุติธรรม  สันติภาพและการพัฒนา 

วันสตรีสากล กำเนิดมาจากขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิของคนงาน จนกลายเป็นวันสำคัญประจำปีของโลกที่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ให้การรับรองอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1975 

ต่อมาในปี 1996 ยูเอ็นได้กำหนดคำขวัญประจำปีขึ้นเป็นครั้งแรกว่า “เฉลิมฉลองอดีต และวางแผนเพื่ออนาคต”

วันสตรีสากลจึงได้กลายเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองความสำเร็จและความก้าวหน้าของผู้หญิงทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และประท้วงเพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องให้เกิดความเสมอภาคทางเพศต่อไป

กำเนิด ‘วันสตรีสากล’  8 มีนาคม กับ ‘กรรมกุหลาบ’ เสียงกรีดร้องแทนใจสตรีทั่วโลก

ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี โดยได้มีการดำเนินงานทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการความรุนแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ

ซึ่งผู้ใช้แรงงานหญิงต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพ ความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและเท่าเทียมในฐานะที่ผู้หญิงก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม

ภาพ : rebel art space