นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ

นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ

"เทศบาลเมืองมหาสารคาม" มีเป้าหมายขับเคลื่อนสู่การเป็น "Smart City" เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของชุมชนท้องถิ่นที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

แม้การอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้หลายคนมองว่าชีวิตสะดวกสบาย เพราะใกล้กับ "การพัฒนา" แต่หารู้ไม่ว่า...ชีวิตคนเมืองที่เราเห็นๆ ก็ยังต้องเผชิญปัญหาสุขภาพที่แทบไม่แตกต่างกับท้องถิ่นรูปแบบอื่น โดยเฉพาะในวันที่เมืองกำลังก้าวสู่ความเจริญเติบโตด้านวัตถุอย่างจริงจัง บางครั้งก็เป็นเหรียญสองด้าน เพราะอาจส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตบางมิติของคนเมืองค่อยๆ หดหายไปด้วย

เช่นเดียวกับ "เมืองมหาสารคาม" ที่ปัจจุบันกำลังก้าวเป็นเมืองเติบใหญ่ ละเป็นหลักชัยสำคัญของจังหวัดมหาสารคาม โดยการก้าวสู่ความเป็น "Smart City" เพื่อปลุกปั้นให้เมืองมหาสารคามเป็นเมืองน่าอยู่ ในวันนี้จึงยกระดับเป็นต้นแบบเมืองที่ถูกปลุกปั้นสู่ "เมืองชุมชนสุขภาวะ" แห่งแรกที่เกิดขึ้นด้วยการสานพลังร่วมกันของทุกภาคส่วน ภายใต้โครงการสร้างสุขภาวะเพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนเทศบาลเมืองมหาสารคาม

"คนเมืองมหาสารคามประกาศปฏิญญาขับเคลื่อนสู่เมืองอัจฉริยะ" จึงเป็นพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างเทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 5 แห่ง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ที่สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ อ.เมือง จ.มหาสารคาม มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นต้นแบบจัดการสุขภาวะชุมชนเขตพื้นที่เมือง ก่อนก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เต็มตัวในอนาคต

นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ

เกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า การกำหนดทิศทางขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชนเมือง พัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพของชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงการทำงานร่วมกันระหว่างเทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย จำนวน 5 แห่ง และ สสส. เป็นการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีของหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้กลไกการร่วมมือของสถาบันวิชาการ ผู้นำชุมชนกลุ่มองค์กรทางสังคม ภาคธุรกิจและเครือข่าย ช่วยเสริมสร้างการทำงานที่ดี ให้คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลร่วมกัน จนเกิดการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยวและการกีฬา พัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา การบริหารงานองค์กร พัฒนาชีวิตและความปลอดภัยความเข้มแข็งของชุมชน นำไปสู่ มหาสารคาม เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน กล่าวว่า สสส. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น การลงนามความร่วมมือ ครั้งนี้ มีเป้าหมายเสริมประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ ยกระดับการพัฒนาพื้นที่ให้ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีสุข พร้อมทั้งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสามารถปรับตัวตามสภาวะการที่เกิดขึ้นให้เป็นเมืองที่มีความน่าอยู่น่าอาศัย น่าลงทุน นำสมัยมุ่งสู่การเป็นเมือง Smart City ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาสู่การเป็น "เมืองน่าอยู่" โดยร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย ดำเนินการ ดังนี้

  1. สร้างการเรียนรู้ให้กับผู้บริหารท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ให้มีขีดความสามารถในการจัดการสุขภาวะชุมชน
  2. พัฒนาระบบข้อมูล เพื่อใช้วางแผนการพัฒนาและปรับระบบบริการให้สามารถเข้าถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น
  3. พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการกำหนดนโยบายสาธารณะและนวัตกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ

อีกหนึ่งคำบอกกล่าวจาก ภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม กล่าวว่า เทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้จัดทำโครงการสร้างสุขภาวะ เพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนจาก สสส. กำหนดเป้าหมาย เพื่อยกระดับเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการสุขภาวะชุมชนเขตเมือง พัฒนาให้เป็นชุมชนท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการรู้รับปรับตัว 9 ประเด็น ได้แก่

  1. เพิ่มพื้นที่ในการออกกำลังกายในชุมชน
  2. จัดตั้งให้มีกลุ่มเฝ้าระวังความรุนแรงในครอบครัว ในโรงเรียน และจัดตั้งพัฒนาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน หรือ ศพค.
  3. เพิ่มพื้นที่สาธารณะในชุมชนสร้างอาหารปลอดสารพิษ
  4. จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ศูนย์ และมีนวัตกรรมการจัดระบบการดูแลเด็กใน ศพด. ของเด็กอายุ 0- 3 ปี
  5. จัดการขยะมูลฝอย สร้างเครือข่ายในชุมชน เกิดชุมชนต้นแบบ Zero Waste
  6. สร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ มีแอปพลิเคชันติดตามการดูและผู้สูงอายุในพื้นที่
  7. พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตั้งศูนย์อบรมอาชีพ ศูนย์จำหน่ายสินค้า และหลักสูตรอบรมทักษะอาชีพต้นแบบ
  8. การจัดการภัยพิบัติ พัฒนาทักษะ และศูนย์ประสานงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยเหลือในชุมชน จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร (อาสาเคลื่อนที่เร็ว)
  9. สร้างชุมชนปลอดบุหรี่และลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สร้างชุมชนปลอดภัย และสร้างต้นแบบและบุคคลต้นแบบ

นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ นำร่อง "เมืองมหาสารคาม" ปลุกปั้นสู่เมืองอัจฉริยะ เติมเต็มสุขภาวะทุกมิติ