คนไทยเสียชีวิตจาก 'มะเร็งลำไส้ใหญ่-ไส้ตรง' เฉลี่ยวันละ 15 ราย ปีละ 5,476 ราย

คนไทยเสียชีวิตจาก 'มะเร็งลำไส้ใหญ่-ไส้ตรง' เฉลี่ยวันละ 15 ราย ปีละ 5,476 ราย

กรมการแพทย์ เผยข้อมูลจากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คนไทยเสียชีวิตจาก "มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง" เฉลี่ยวันละ 15 ราย ปีละ 5,476 ราย

เดือนมีนาคมของทุกปี เป็นเดือนที่ทั่วโลกร่วมรณรงค์ต้านภัย "มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง" สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ แนะ มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย เชิญชวนประชาชนตระหนักถึงการป้องกันโรค

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ในประเทศไทยพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง โดยอ้างอิงจากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ที่น่ากังวลคืออัตราการเกิดโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทุกๆ วันมีคนไข้เสียชีวิตจากโรคร้ายนี้เฉลี่ยวันละ 15 ราย ปีละ 5,476 ราย และมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 ราย ปีละ 15,939 ราย

ทั้งนี้ สาเหตุการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มีหลากหลายแต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบัน คือ การรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มเนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมูที่ผ่านการแปรรูป หรือปรุงด้วยความร้อนสูงเป็นเวลานาน เช่น การปิ้งย่างจนไหม้เกรียม และมีมันสูง การรับประทานอาหารกากใยน้อย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

นอกจากนี้ "มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง" ยังเกิดในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง คนที่เคยตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่แบบอะดีโนมา หรือทำการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ด้าน พญ.หทัยวรรณ ม่วงตาด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมมะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปโรคมะเร็ลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงในกลุ่มอาย 50 ปีขึ้นไป ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดนี้ในช่วงอายุ ดังกล่าวจึงสามารถป้องกัน หรือช่วยให้ตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มต้นได้มาก

ปัจจุบันตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal Immunochemical Test FTI) เป็นวิธีการตรวจที่สะดวก ง่ายและปลอดภัย ประชาชนอายุ 50-70 ปี สามารถรับอุปกรณ์และน้ำยาก็บตัวอย่างได้ที่สถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำไปเก็บอุจจาระด้วยตนเองที่บ้าน แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่เพื่อทำการวิเคราะห์ ผล กรณีที่ได้รับผลผิดปกติผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวินิจฉัย ต่อด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพิ่มเติม ส่วนในกลุ่มที่มีอาการผิดปกติ อาทิ ระบบขับถ่ายแปรปรวนเช่นท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีดรื้อรัง ควรรีบเข้ารับคำปรึกษาจากพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มติม


 

 

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง 

แบ่งการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงตามระยะการดำเนินโรค ดังนี้

  • กลุ่มผู้ป่วยระยะเริ่มแรก

สามารถทำการรักษาโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารแบบตัดดิ่งเนื้องอกแบบชิ้นเดียว ผู้ป่วยไม่มีแผลผ่าตัดทางหน้าท้อง

  • กรณีที่มีการลุกลามมากขึ้น

บางกรณีสามารถรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง แบบเแผลเล็กเพื่อทำการตัดลำไส้ใหญ่ไส้ตรงและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง เละทำการตัดต่อลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นการรักษาที่ปลอดภัยและเป็นมาตรฐาน

ผู้ป่วยบางรายสามารถหลีกเลี่ยงการมีช่องถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (ทวารเทียม) ถาวรได้ รวมถึงการรักษาร่วม ได้แก่ การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง นำก่อนผ่าตัด หรือหลังผ่าตัด ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสการหายของโรคเละลดอัตราการกลับเป็นซ้ำได้

ทั้งนี้ แม้ตัวโรคมีการลุกลามหรือแพร่กระจายไป การรักษาโดยการให้ยาเคมีร่วมกับยาเคมีพุ่งเป้าหรือภูมิคุ้มกันบำบัดช่วยซะลอการดำเนินของโรค ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ระดับหนึ่งได้ในระยะเวลานั้น

การดูแลร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคมะเร็งที่ดีสามารถช่วยทำให้ห่างไกลจากมะเร็งได้ เริ่มที่การรับประทานอาหาร 5 หมู่ การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารเนื้อแดงแปรรูป ปิ้งย่างจนไหม้เกรียม แอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน และทำให้มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น จะช่วยให้ห่างไกลทั้งจากโรคร้ายนี้และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ สามารถศึกษาข้อมูลข่าวสารโรคมะเร็ง จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ส่งเสริมความรอบรู้สู้ภัยมะเร็ง