เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

“ศิริราช” จัดงานศิระกรานพระภูบาลนวมินทร์ ปีที่ 6 “ในหลวงผู้ทรงสถิตในดวงใจ” พร้อม ปาฐกถาเทิดพระเกียรติ โดย “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล” เลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา เข้าใจถึงแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

เมื่อวันที่ 13 ต.ค.65 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดงานศิระกรานพระภูบาลนวมินทร์ ปีที่ 6 “ในหลวงผู้ทรงสถิตในดวงใจ” เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและสืบสานพระราชปณิธาน ตั้งแต่เวลา 06.30 - 14.00 น. ณ รพ.ศิริราช

 

เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

 

ภายในงานมีการจัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 50 รูป จากวัดต่าง ๆ รอบโรงพยาบาลศิริราช พิธีถวายสักการะเบื้องหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมี ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล นำกล่าวสดุดี ณ ลานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก

 

เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

 

หลังจากนั้น พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 10 รูป สวดพระพุทธมนต์ และสวดสดับปกรณ์ อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

 

เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

 

ทั้งนี้ เวลา 12.30 น. “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล” เลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวปาฐกถาเทิดพระเกียรติ ณ ศาลาศิริราช ๑๐๐ ปี ใจความตอนหนึ่งกล่าวถึงคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งพระองค์ทรงพระราชทาน เผยแพร่ในวันที่ 29 พ.ย. 2524 หากดูศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ทั่วประเทศแม้กระทั่งในมหาวิทยาลัย ภาพที่เห็น คือ ร่องผัก เล้าไก่ ควาย กระต๊อบ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้องใส่เสื้อม่อฮ่อม เอาผ้าขาวม้าคาดเอว นี่คือภาพที่คุ้นเคายของเศรษฐกิจพอเพียง แต่ถามว่าใครจะทำตาม พระองค์ไม่ได้สอนอะไรง่ายๆ แบบนั้น

 

 

คำจำกัดความ "เศรษฐกิจพอเพียง"

 

เมื่อดูคำจำกัดความที่เป็นทางการจะพบว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” คือ ปรัชญาชี้ถึงแนวทางดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์

 

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และ ความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ

 

โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มี สำนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

 

เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

 

ดร.สุเมธ กล่าวต่อไปว่า คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นใครก็ได้ ทุกระดับ ครอบครัว ชุมชน รัฐ การบริหารประเทศ ดำเนินตามทางสายกลางอย่างสมดุล ที่ต่างชาติพูดว่า Sustainable หรือตามแนวทาง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ของ สหประชาชาติ (United Nations: UN) ขณะเดียวกัน คำว่า ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์ โลกเปลี่ยนแน่นอน แต่มีทั้งดีและไม่ดี ท่านสอนว่าชีวิตเรามีทางเลือก 3 ทาง สู้ อยู่ หรือ หนี

 

"ดังนั้น ต้องตามโลกให้ทัน อีกทั้ง ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง แต่เริ่มตั้งแต่ในบ้าน และต้องเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า"

 

เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

 

และ  “เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” ยกตัวอย่าง โควิด-19 ทุกคนไม่ได้เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด เพราะไม่มีใครนึกว่าจะเกิด แต่เราถือว่าตั้งตัวอย่างรวดเร็ว มีเครื่องไม้เครื่องมือ วัคซีน ในการตั้งรับ ตั้งตัวและขยับไปข้างหน้า แต่เราอาจจะทำได้เร็วกว่านี้หากเราไม่นั่งเถียงกัน สิ่งต่างๆ ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ถ้าประมาทเมื่อไหร่ก็คงไปไม่รอด

 

พระองค์ทรงงาน 70 ปี และแต่ละปีใช้เวลาอยู่ข้างนอก 8 เดือน โดยอยู่ เชียงใหม่ 2 เดือน สกลนคร 2 เดือน หัวหิน 2 เดือน และนราธิวาส 2 เดือน เพราะต้นทางอาหารอยู่ด้านนอก คนในเมืองไม่ได้ปลูกข้าว ดังนั้น หากข้างนอกตาย ข้างในก็ตาย ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องที่เราทบทวนคำสอนและกลับมาสังเคราะห์และได้เหตุและผลมากขึ้น ทรงสอนครบถ้วน แต่เราอาจไม่ได้เข้าถึงแก่น

 

เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน

 

“ท้ายนี้ คำสอนที่ทรงเมตตาพระราชทานมาเพื่อประเทศไทย ซึ่งตนมีหน้าที่ถ่ายทอด วันนี้เสด็จเฝ้ามองเราอยู่ข้างบน คำสอนมากมาย เหลืออย่างเดียว คือ นักเรียนแบบเราจะปฏิบัติตามบทเรียนที่พระองค์ท่านสอนหรือยัง เพื่อตัวเราเองอยู่รอดบนแผ่นดินนี้ มีความสุขพอประมาณ และอย่าลืม “คำว่ายั่งยืน” คือ การส่งต่อแผ่นดินนี้ให้กับลูกหลาน ไม่ใช่หมดในยุคนี้ ไม่มีสิ่งไหนสำคัญเหนือคำว่า “แผ่นดินไทย” เพราะเป็นของเรา เราเกิดที่นี่ ตายที่นี่ ต้องรักษา ระมัดระวัง ทะนุถนอม เพื่อส่งต่อให้ลูกหลานเป็นมรดกตกทอด” ดร.สุเมธ กล่าว

 

เข้าใจแก่นแท้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ส่งต่อ “ความยั่งยืน” ให้ลูกหลาน