“หมอธีระ” เปิดงานวิจัย ม.ปักกิ่ง พบ BA.2.75.2 มีโอกาสระบาดระลอกถัดไปในอนาคต

“หมอธีระ” เปิดงานวิจัย ม.ปักกิ่ง พบ BA.2.75.2 มีโอกาสระบาดระลอกถัดไปในอนาคต

“หมอธีระ” เปิดงานวิจัยมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน พบว่า BA.2.75.2 ดื้อกว่า Omicron สายพันธุ์อื่นๆ หลบภูมิคุ้มกัน และจับกับตัวรับที่ผิวเซลล์ได้มาก มีโอกาสระบาดระลอกถัดไปในอนาคต

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ "หมอธีระ" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat" ถึงประเด็น โควิดวันนี้ ระบุว่า 

เมื่อวานทั่วโลกติดโควิดเพิ่ม 325,828 คน ตายเพิ่ม 654 คน รวมแล้วติดไป 616,841,286 คน เสียชีวิตรวม 6,529,854 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อโควิดสูงสุด คือ

  1. ญี่ปุ่น
  2. รัสเซีย
  3. เกาหลีใต้
  4. ไต้หวัน
  5. ฝรั่งเศส

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 95.27 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 85.01

สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

อัพเดตเรื่อง Omicron BA.2.75.2

Cao YR และคณะ จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รายงานผลการวิเคราะห์สมรรถนะของ Omicron BA.2.75.2 เปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ

พบว่า BA.2.75.2 ดื้อกว่า Omicron สายพันธุ์อื่นๆ อย่างมาก ทั้งในคนที่ฉีด Coronavac 3 เข็ม รวมถึงคนที่ฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อสายพันธุ์ต่างๆ มาก่อนก็ตาม

นอกจากนี้ เมื่อดูสมรรถนะในการจับกับตัวรับ ACE2 ของเซลล์ จะพบว่า BA.2.75.2 รวมถึงสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ ของ Omicron ที่ตรวจพบในปัจจุบันนั้นมีสมรรถนะจับกับตัวรับ ACE2 ได้มากกว่าสายพันธุ์ D614G (ที่เคยเป็นตัวทำให้เกิดระบาดระลอกสองทั่วโลกตอนปลายปี 2563 ถึงต้นปี 2564)

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า BA.2.75.2 นั้นมีทั้งสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน และจับกับตัวรับที่ผิวเซลล์ได้มาก จึงมีโอกาสที่จะนำไปสู่การระบาดระลอกถัดไปในอนาคตได้ หากไม่ป้องกันให้ดี

“หมอธีระ” เปิดงานวิจัย ม.ปักกิ่ง พบ BA.2.75.2 มีโอกาสระบาดระลอกถัดไปในอนาคต

Long COVID ในบราซิล

Ceron ABC และคณะจากบราซิล ทำการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิดปัญหา Long COVID โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 ในช่วงตั้งแต่กันยายน 2563 ถึงเมษายน 2564 จำนวน 814 คน และคนที่ไม่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 402 คน

พบว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน จะมีอัตราการเกิดปัญหา Long COVID ราว 29.6%

ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ป่วย Long COVID พบว่ามีถึง 55.9% ที่กระทบต่อคุณภาพชีวิต

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

“หมอธีระ” เปิดงานวิจัย ม.ปักกิ่ง พบ BA.2.75.2 มีโอกาสระบาดระลอกถัดไปในอนาคต

อ้างอิง

1. Cao YR et al. Imprinted SARS-CoV-2 humoral immunity induces converging Omicron RBD evolution. bioRxiv. 16 September 2022.

2. Ceron ABC et al. Prevalence and risk factors for long COVID after mild disease: a longitudinal study with a symptomatic control group. medRxiv. 17 September 2022.