"รปศ. DPU" ถอดรหัสปั้นนักบริหารรัฐกิจแห่งโลกอนาคต

"รปศ. DPU" ถอดรหัสปั้นนักบริหารรัฐกิจแห่งโลกอนาคต

“รัฐประศาสนศาสตร์ ธุรกิจบัณฑิตย์” ออกแบบห้องเรียนอัดแน่น “ความรู้+โซเชียล และ แล็ปสังคม+ทักษะโลกอนาคต” พร้อมพาผู้เรียนก้าวข้ามข้อจำกัดการเรียนรู้ สู่โลกจริงและโลกเสมือน มุ่งสร้างผู้นำ นักพัฒนายุคดิจิทัล ก้าวสู่การทำงานภาครัฐอย่างมั่นคง ยั่งยืน

ผศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า โลกได้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปไกล มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ของผู้คน

  • ถอดรหัสปั้นนักบริหารรัฐแห่งยุคดิจิทัล

ดังนั้น การเตรียมคนให้พร้อมสำหรับโลกอนาคตจึงเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ ซึ่งสอดรับกับวิสัยทัศน์ของ DPU ที่ได้ประกาศเปิด Metaverse Campus บนแพลตฟอร์ม The Sandbox เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองใช้ภายในปีการศึกษา 2565 นี้

"รปศ. DPU" ถอดรหัสปั้นนักบริหารรัฐกิจแห่งโลกอนาคต

“Web3 Technology เป็นเรื่องใหม่ที่มาคู่กับ Metaverse ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างแน่นอนในอนาคต ทุกวันนี้ภาคธุรกิจทั่วโลกได้ปรับตัวนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้กับธุรกิจกันแล้ว สำหรับ DPU นักศึกษาทุกคนของเรา รวมถึงนักศึกษาในคณะฯ ได้เริ่มทำความเข้าใจ เรียนรู้ และสร้างความคุ้นเคยกับโลกใหม่ใบนี้กันแล้ว ซึ่งเป็นประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ ๆ ที่จะกลายเป็นทักษะสำคัญติดตัวนักศึกษาที่เรียนจบออกไป มีความพร้อมและมีโอกาสมากกว่าคนอื่นในโลกของการทำงานและการใช้ชีวิต” ผศ.ดร.วลัยพร กล่าว 

 

  • เน้นความรู้+โซเชียล+แล็ปสังคม+ทักษะโลกอนาคต

ด้านกระบวนการพัฒนานักศึกษาและสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในระดับคณะฯ นั้น ผศ.ดร.วลัยพร กล่าวว่า มุ่งเน้นออกแบบการเรียนการสอนในแนวทางที่แตกต่าง ด้วย “ความรู้+ทักษะโลกอนาคต” เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่นในยุคดิจิทัล

“ความรู้+โซเชียล +แล็ปสังคม+ทักษะโลกอนาคต” ที่กล่าวถึงนั้นเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีและการใช้ชีวิตทั้งในโลกเสมือนและโลกจริง โดยที่ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงหลักคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการปัญหาที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม

"รปศ. DPU" ถอดรหัสปั้นนักบริหารรัฐกิจแห่งโลกอนาคต

“วิชาการพัฒนาเมือง" เป็นอีกหนึ่งการเรียนที่สามารถออกแบบได้ทั้งในโลกเสมือน และการลงพื้นที่จริง ที่ผ่านมานักศึกษาต้องลงพื้นที่ สำรวจ ความพร้อมต่าง ๆ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน ออกแบบความต้องการการแก้ไขปัญหาชุมชนเมืองซึ่งในกระบวนการสร้างห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) นี้ต้องใช้เวลาและทรัพยากร

ดังนั้น การนำ Metaverse Campus เข้ามาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเมืองจะทำให้สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ไปได้ ในระยะเวลาการทำงานที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ  เป็นรูปแบบการการเรียนการสอนในโลกเสมือนที่ควบคู่กับโลกความเป็นจริง

 ทั้งนี้ภาครัฐควรคิดล่วงหน้าการบริการสาธารณะในโลกเสมือนควรทำอย่างไร กติกาต่างๆจะกำหนดอย่างไร เราก็จะได้เรียนรู้ไปพร้อมกันด้วย

 

  • เรียนรู้โลกจริงควบคู่โลกเสมือน ทำงานในภาครัฐ

นอกจากการศึกษาด้านการพัฒนาเมืองแล้ว ยังมีอีกหลายเนื้อหาวิชาที่สามารถเรียนรู้ได้ใน Metaverse Campus ได้แก่ การสร้างผู้นำ และ วิชาเกี่ยวกับจิตอาสา โดยสามารถออกแบบบริการสาธารณะ (Public Service) ที่สร้างขึ้นในโลกเสมือนก่อนจะต่อยอดสู่การทำงานในโลกของความจริงต่อไป

ยกตัวอย่างในวิชาจิตอาสา ซึ่งในหลักสูตรใช้เวลา 60 ชั่วโมง สามารถสร้างกิจกรรมบน Metaverse Campus เป็นจำนวน 20 ชั่วโมงเพื่อการออกแบบและระดมความคิด ขณะที่อีก 40 ชั่วโมงเป็นการลงทำงานจริงในพื้นที่ เป็นต้น 

"รปศ. DPU" ถอดรหัสปั้นนักบริหารรัฐกิจแห่งโลกอนาคต

“ประยุกต์ทฤษฎีแนวคิดทางวิชาการกับการปฏิบัติงานจริงได้ทั้งในโลกเสมือนและการลงพื้นที่ เป็นการพัฒนาทักษะนักศึกษาทั้งกระบวนคิด การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า Metaverse จะมีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต และจะเป็นมากกว่าพื้นที่ที่ผู้คนสามารถใช้ชีวิตในวิถีสังคมและการทำงาน รวมถึงดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ทักษะที่กล่าวมานี้จะทำให้นักศึกษาจากคณะฯ โดดเด่น และเป็นที่ยอมรับจากตลาดแรงงานทั้งปัจจุบันและในอนาคต” ผศ.ดร.วลัยพร กล่าว

จากการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาดังกล่าว จะทำให้บัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์ของเรามีทักษะเพิ่มและโอกาสเพิ่มเติมจากการประกอบอาชีพที่ได้ในหลากหลายเส้นทางอยู่แล้ว ได้แก่

"รปศ. DPU" ถอดรหัสปั้นนักบริหารรัฐกิจแห่งโลกอนาคต

การเข้ารับราชการในหน่วยงานภาครัฐ กระทรวง กรม ส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร การทำงานในรัฐวิสาหกิจ เช่น การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค ธนาคารออมสิน ฯลฯ รวมทั้งประกอบธุรกิจส่วนตัว

ที่ผ่านมา ทางคณะฯ ผลิตบุคลากรจบการศึกษาปีละ 130-150 คนต่อปี โดยในจำนวนนี้มีสถิติการได้งานทำสูงถึง 98% ส่วนอีก 2% เป็นการศึกษาต่อ และอื่น ๆ เมื่อเราสามารถเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลให้กับบัณฑิต โอกาสในการเข้าทำงานที่มีช่องทางของทักษะเช่นนี้ย่อมมีมากขึ้นอย่างแน่นอน  

ในโลกอนาคตที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว กระบวนการผลิตคนให้มีความสามารถ โดยผสานทั้ง “ห้องเรียน-เมต้าเวิร์ส-ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)” จะช่วยให้ทุกคนเท่าทันเทคโนโลยีควบคู่กับพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตทั้งในโลกเสมือนและโลกแห่งความเป็นจริง ที่พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่นในยุคดิจิทัล

สอบถามข้อมูลหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ที่ https://bit.ly/3RqYqW1 หรือสมัครเรียนได้ที่ https://bit.ly/3q1PZ84