KKP ขาดทุนรถยึด ยังกดดันกำไรในระยะสั้น

KKP ขาดทุนรถยึด ยังกดดันกำไรในระยะสั้น

NPL และผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาจะยังสูงต่อเนื่องใน 1Q66

KKP รายงานหนี้เสียจากธุรกิจเช่าซื้อจำนวนมากใน 4Q65 เพิ่มขึ้นถึง 26% QoQ และ 73% YoY และมีผลขาดทุนจำนวนมากขึ้นจากขายรถยึดมา ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้เสียเพิ่มมาก ซึ่งสถานการณ์นี้ยังต่อเนื่องในไตรมาส 1/66 ที่ระดับประมาณ 500-600 (จาก 740 ล้านบาทใน 4Q65 และ 497 ล้านบาทใน 3Q65) และคชจ.สำรองหนี้/สินเชื่อ (credit cost) จะยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 2.2%

 

เปลี่ยนไปเน้นขยายสินเชื่อกลุ่มที่ความเสี่ยงต่ำเพื่อบริหารเงินกองทุน

การรุกขยายสินเชื่อในช่วงสามปีที่ผ่านมาทำให้เงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ KKP ลดลงเหลือ 12.8% (จากประมาณ 14% ก่อน COVID ระบาด) ทั้งนี่ในปี 2566 ธนาคารตั้งเป้าจะขยายสินเชื่อลดลงเหลือประมาณ13% (จาก 21% ในปี 2565) โดยจะมุ่งเน้นสินเชื่อกลุ่มที่ความเสี่ยงต่ำ ในขณะที่ชะลอ H/P ที่มี high-risk profile เพราะตามเกณฑ์ใหม่ในการกำหนดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อรถมือสองเอาไว้ที่ 15% สินเชื่อ ,H/Pใหม่ที่ 10%และสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ที่ 23% ทำให้สินเชื่อได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับความเสี่ยง

 

 

การเติบโตของธุรกิจตลาดทุนดูท้าทายในปี 2566

ผลการดำเนินงานของธุรกิจตลาดทุนของ KKP ได้แก่ ค่าธรรมเนียมนายหน้าค้าหลักทรัพย์), ค่าธรรมเนียม IB, ค่าธรรมเนียม AM, และกำไรจากการลงทุน) ค่อนข้างอ่อนแอในปี 2565 เพราะถูกกดดันจากกำไรที่ลดลงของธุรกิจการลงทุน และมีการตั้งสำรองพิเศษ ล้านบาทสำหรับความเสียหาย 708 จาก “MORE” เราคิดว่าภาวะตลาดทุนที่ผันผวนจะทำให้รายได้จากธุรกิจตลาดทุนผันผวนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะค่าธรรมเนียม IB และกำไรจากธุรกิจการลงทุนโดยตรงในปี 2566

 

ปรับลดคำแนะนำเป็นถือ โดยยังคงประมาณการกำไรเอาไว้เท่าเดิม

เรากังวลว่า KKP จะไม่สามารถรักษาสัดส่วนการจ่ายเงินปันผลในปี 2565 ที่ระดับ 40% เท่ากับปี 2564 เพราะสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ลดลง เราใช้สมมติฐานในกรณีฐานว่าอัตราการจ่ายเงินปันผลปี 2565 จะอยู่ที่ 32% และจะเพิ่มขึ้นเป็น 35% ในปี 2566 นอกจากนี้ เรายังเป็นห่วงความเสี่ยงของกำไรระยะสั้นใน 1Q66 เราปรับลด (de-rate PBV) มาใช้ช่วงที่ต่ำลง (-0.5 S.D.) เทียบได้กับ PBV ที่ 1.1x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 79 บาท (ลดลงจากเดิมที่ 84 บาท ) และปรับลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น ถือ

 

Risk

NPLs สูงเกินคาด, ตลาดทุนผันผวน, ผลขาดทุนจากธุรกิจ