KTB - ได้อานิสงส์จาก NIM ที่เพิ่มขึ้น (23 ม.ค. 2566)

KTB - ได้อานิสงส์จาก NIM ที่เพิ่มขึ้น (23 ม.ค. 2566)

กำไรสุทธิของ KTB ใน 4Q22 อยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท ลดลง 4% qoq แต่เพิ่มขึ้นถึง 64% yoy ซึ่งสูงกว่าประมาณการของเรา 9% แต่เป็นไปตาม consensus ทั้งนี้ กำไรที่ออกมาดีกว่าที่เราคาดไว้เป็นเพราะ NIM และ non-NII ที่ดีกว่าคาด

โดย NIM ของ KTB ใน 4Q22 อยู่ที่ 2.80% สูงขึ้นทั้ง qoq และ yoy จาก 2.61% ใน 3Q22 และ 2.47% ใน 4Q21 เนื่องจากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย M-rates หลังจากที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสามรอบในปี 2022 ส่วน Non-NII ก็เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งแตะ 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% qoq และ 17% yoy เนื่องจากมีกำไรจาก MTM และการติดตามหนี้เสียได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กำไรของ KTB ในปี FY22 โตถึง 56% สูงสุดในกลุ่มธนาคารซึ่งปัจจัยสำคัญคือการที่ ECL กลับมาอยู่ระดับปกติ โดย ECL ลดลงอย่างมากจาก 3.2 หมื่นล้านบาทในปี 2021 เหลือ 2.2 หมื่นล้านบาทในปี 2022 หลัง NPL ทรงตัวอยู่ที่ 3.5% ในขณะที่สัดส่วน coverage ratio อยู่ในระดับสูงที่ 165% ทั้งนี้ ผู้บริหาร KTB ประเมินอยากเห็น coverage ratio ในระยะยาวจะขยับเข้าใกล้ระดับ 130%

Surfing แนวโน้มกำไรปี 2023 จะเติบโตตาม NIM ที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก  

เราคาดว่ากำไรของ KTB จะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ประมาณ 24% ในปี 2023 จากการขยายสินเชื่อ และ NIM ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากการที่ KTB มุ่งเน้นขยายสินเชื่อที่คิดดอกเบี้ยลอยตัวให้กับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อรายย่อยประเภทที่ความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะกลุ่มที่โยงกับการจ่ายเงินเดือน ในขณะเดียวกัน KTB มีสัดส่วน CASA สูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่กว่า 80% ของโครงสร้างเงินฝาก ทำให้เราเชื่อว่า KTB จะเป็นหนึ่งในธนาคารที่ได้อานิสงส์เต็ม ๆ จากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น และคาดว่าโมเมนตัมกำไรของ KTB จะเร่งตัวขึ้นทั้ง qoq และ yoy ได้ใน 1Q23 จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงตามฤดูกาล และ NIM เพิ่มขึ้นหลังมีการขึ้นดอกเบี้ยหลายรอบในช่วงที่ผ่านมา

 

คงคำแนะนำ ซื้อ จากแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง และราคาหุ้นยังมี upside 

เรายังคงคำแนะนำซื้อ KTB ประเมินราคาเป้าหมายใหม่ที่ 24 บาท อิงจาก PBV ที่ 0.8x (จากเดิมที่ 23 บาท)