กรุงศรีฟินโนเวต ตั้งเป้า3ปี ลงทุน ‘สตาร์ตอัป’ไทย-เทศกว่า4พันล้าน

กรุงศรีฟินโนเวต ตั้งเป้า3ปี ลงทุน ‘สตาร์ตอัป’ไทย-เทศกว่า4พันล้าน

กรุงศรีฟินโนเวต กางแผนปี66 ทุ่ม1.6พันล้านลุยลงทุนสตาร์ตอัปทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกางแผน3ปี อัดงบลงทุนไม่ต่ำกว่า4พันล้าน

     บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด บริษัทร่วมลงทุนในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นบริษัทแรกๆของประเทศไทย ที่เข้ามาบุกเบิกการเข้าไปสนับสนุนธุรกิจ “สตาร์ตอัป” ด้านฟินเทค และเทคโนโลยีในประเทศไทย ให้สามารถก่อร่างสร้างตัว และเติบโตไปสู่ “ยูนิคอร์น”ได้

     ที่ผ่านมา “กรุงศรี ฟินโนเวต”ถือมีบทบาทสำคัญมาก ในวงการสตาร์ตอัป ในการช่วยต่อยอดธุรกิจ ทำให้ช่วงที่ผ่านมา เห็นเม็ดเงินการลงทุนจากกรุงศรีฯในช่วง 5ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เปิดตัวได้เข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัปไทยรวมแล้วกว่า 2.7 พันล้านบาท รวมจำนวน 19ราย

กรุงศรีฟินโนเวต ตั้งเป้า3ปี ลงทุน ‘สตาร์ตอัป’ไทย-เทศกว่า4พันล้าน       ที่ผ่านมา “กรุงศรี ฟินโนเวต”ถือมีบทบาทสำคัญมาก ในวงการสตาร์ตอัป ในการช่วยต่อยอดธุรกิจ ทำให้ช่วงที่ผ่านมา เห็นเม็ดเงินการลงทุนจากกรุงศรีฯในช่วง 5ปีที่ผ่านมา

      นับตั้งแต่เปิดตัวได้เข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัปไทยรวมแล้วกว่า 2.7 พันล้านบาท จำนวน 19ราย

     โดย 3 เป้าหมายสำคัญของกรุงศรีฟินโนเวต คือ การเข้าไปลงทุนเพื่อสร้างธุรกิจสตาร์ตอัปใหม่ให้เกิดมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศไทย ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดเป้าหมายที่สอง ที่กำลังสร้างขึ้นมาคือ โครงการบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ตอัป และสุดท้ายคือการร่วมมือเชิงกลยุทธ์ การร่วมลงทุนที่เคียงข้างสตาร์ตอัปไทย เพื่อผลักดันสตาร์ตอัป ไปสู่ “ยูนิคอร์น”ให้ได้มากที่สุด!

      หากพูดถึงความพร้อมในการลงทุนของ “กรุงศรีฟินโนเวต” ปัจจุบัน มีเงินลงทุนที่พร้อมลงทุนอยู่ที่ 3.5พันล้านบาท ในระยะข้างหน้า และคาดว่าจะใช้หมดในปี 2567 และเตรียมขอวงเงินใหม่จากธนาคารกรุงศรีฯเพื่อลงทุนต่อเนื่อง

ดังนั้นโดยรวมแล้ว คาดว่า ช่วง 3 ปีนี้ (ปี2566-2568)คาดจะใช้เงินลงทุนรวมในสตาร์ตอัปไม่ต่ำกว่า 4พันล้านบาท ซึ่งเพียงพอกับการลงทุนทั้งในระยะสั้น และระยะกลางในอนาคต

   แซม กล่าวว่า แผนระยะสั้น ปี2566 กรุงศรีฟินโนเวต ตั้งเป้าเข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัปรวมอยู่ที่ 1,600ล้านบาท รวมจำนวนประมาณ 10สตาร์ตอัป

      ซึ่งเป็นการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยถือเป็นปีแรกที่กรุงศรีฯได้ออกไปลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายธุรกิจของธนาคาร ใน 3 ประเทศหลัก คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

      โดยจะแบ่งเงินลงทุนในสตาร์ตอัปต่างประเทศที่ 30% และที่เหลือ 70% เป็นการลงทุนในประเทศ โดยในต่างประเทศ เบื้องต้น มี 3 ดีลที่อยู่ระหว่างการเจรจา มูลค่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้านดอลลาร์ และในประเทศ มี 3-5ดีล

     ดังนั้น คาดว่า จะเห็นการปิดดีลการเข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัปได้เร็วที่สุด 1-2 ดีล ในไตรมาส 1ปีนี้  และครึ่งปีแรก2566 คาดจะปิดดีลได้อย่างน้อย 5 ดีล

     สำหรับสตาร์ตอัปที่เราสนใจเข้าไปลงทุน มี คือ ธุรกิจฟินเทค, อีคอมเมิร์ซเทคฯ และAutomobile ที่เป็นเทคฯ เกี่ยวกับ EV แท่นชาร์ตกับทางขนส่ง ซึ่งการเข้าไปลงทุนจะเป็นการร่วมลงทุน(VC)จะ เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ

     โดยเน้นลงทุนในสตาร์ตอัปที่มีการเติบโตอยู่แล้ว หรือมีศักยภาพในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในระยะอันใกล้ ซึ่งจะแตกต่างจากอดีต ที่เม็ดเงินลงทุนกระจายไปสู่สตาร์ตอัปทั้งที่เติบโตแล้ว หรือสตาร์ตอัปที่เพิ่งเริ่มต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนในอนาคต

      “จะเริ่มเห็นการเข้าไปลงทุนของเวนเจอร์แคปปิตอลที่เปลี่ยนไป ทำให้การลงทุนของVCจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือหากเทียบกับอดีต จากผลกระทบโควิด-19ที่ผ่านมา ทำให้VCเลือกลงทุนเฉพาะสตาร์ตอัปที่เติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่สามารถเข้าตลาดฯได้แล้ว ดังนั้น ปีนี้ถึงปีหน้า จะเป็นปีที่จุดประกายการลงทุนในสตาร์ตอัปให้คึกคักมากขึ้น”

     แต่ไม่ใช่ว่า เราจะเลือกเข้าไปลงทุนเฉพาะบริษัทที่เติบโตแล้ว หรือพร้อมเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้เท่านั้น แต่การลงทุนของ “กรุงศรี” จะถูกแบ่งเป็น 3กองทุน กองแรกจะมาจากการลงทุนผ่าน Finnoventure Fund ที่เน้นเข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัประดับ Series-Aขึ้นไป

      แซม กล่าวต่อว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งกองทุน ซึ่งเป็นกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ ในการบ่มเพาะสตาร์ตอัป เพื่อทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนสตาร์ตอัปที่เพิ่งก่อตั้ง เพิ่มเริ่มทำธุรกิจ ซึ่งจะมีเงินลงทุนผ่านกองทุนนี้ 1 พันล้านบาท  คาดจัดตั้งได้กลางปีนี้   ซึ่งจะเห็นการเข้าไปลงทุนผ่านกองนี้ปีนี้ที่ 300 ล้านบาท ที่จะเข้าไปลงทุนสตาร์ตอัปที่ต่ำกว่า Series A

     นอกจากนี้ “กรุงศรี”ยังมีอีก 1 กองทุน ภายใต้ Finnovest ที่ทำหน้าที่เข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัป ที่เกี่ยวกับ Metaverse ,web3,blockchain

     “ความตั้งใจของกรุงศรี เราเชื่อว่า หากเราไม่ทำอะไรในช่วง 3ปีนี้ สตาร์ตอัปก็คงตายไป ไม่มีอะไรลงทุนใหม่ๆดังนั้นเป้าหมายเรา เพื่อปั้นสตาร์ทในไทยให้เกิดขึ้น ผ่านศูนย์บ่มเพาะสตาร์ตอัปในไทยที่ดีที่สุด ที่ทำให้สตาร์ตอัปในประเทศไทยเกิดขึ้นและเติบโตได้”

     “แซม” กล่าวว่า การเข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัป ในมุมของผู้ลงทุน นอกจากสนับสนุนการเติบโต การเกิดขึ้นของสตาร์ตอัป สิ่งที่เราจะได้ คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่า หากเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ เพราะหากดูผลตอบแทนจากการลงทุนในสตาร์ตอัปที่ผ่านมา ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี อย่างน้อยต้องเห็นระดับ 20% ซึ่งสวนทางเมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆในปีที่ผ่านมา ที่ส่วนใหญ่ติดลบ

     ดังนั้น เป้าหมาย คือ การสร้างผลตอบแทนให้ได้ 20%ต่อปี หรือรวมกัน 10 ปี ต้องมีผลตอบแทนรวมกันที่ 200% ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ที่เวนเจอร์แคปปิตอลทั่วโลกตั้งไว้ หรือทำได้

     สุดท้ายแล้ว เชื่อว่า การเติบโตใน “สตาร์ตอัป” ยังมีศักยภาพการเติบโตต่อเนื่องในระยะข้างหน้า ที่เป็นโอกาสของการลงทุนอีกมาก แต่จะเริ่มเห็นการขยายการลงทุนไปสู่สตาร์ตอัปต่างประเทศมากขึ้น เพื่อช่วยต่อยอดการเติบโตธุรกิจและการขยายธุรกิจของธนาคารให้เติบโต และช่วยเติมเต็มสิ่งที่ธนาคารขาด เพื่อทำให้การให้บริการครบวงจรและตอบโจทย์โลกอนาคตได้มากที่สุด