‘อมรเทพ’CIMBT เตือน ไม่ใช่จังหวะ​ ไล่ตาม​สินทรัพย์​เสี่ยง!

‘อมรเทพ’CIMBT เตือน  ไม่ใช่จังหวะ​ ไล่ตาม​สินทรัพย์​เสี่ยง!

‘อมรเทพ’CIMBT ย้ำ ให้ระวัง ไม่ใช่จังหวะ​ ไล่ตาม​สินทรัพย์​เสี่ยง! เหตุ สถานการณ์อาจพลิกผันสูง เงินบาทกลับมาอ่อนค่าต่อ หลังเฟดยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อหนุนดอลลาร์กลับมาแข็งค่า เตือนอย่าไว้ใจ​ Fund​ flow​ ต่างชาติเข้าซื้อหุ้นซื้อบอนด์ไทย​

      นาย อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT)โพสต์ผ่าน facebook ส่วนตัว ‘อมรเทพ จาวะลา’ว่า  โดยออกมาเตือนให้ระวัง เพราะไม่ใช่จังหวะไล่ตามสินทรัพย์เสี่ยง

    โดยระบุว่า ช่วงนี้บาทกลับมาแข็ง​ ไม่ใช่แข็งธรรมดา​ เพราะตั้งแต่ต้นเดือนมาแข็งค่ามากกว่า​ 6% เทียบดอลลาร์สหรัฐ​ และค่าเงินที่แข็งค่าแรงก็อย่างวอนและเยนซึ่งก่อนหน้ารวมบาทก็อ่อนค่าแรงตั้งแต่ต้นปี​ สะท้อนภาพนักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่​ under-perform หรืออ่อนค่าเกินไป​ แล้วเงินเอเชีย​ เยน​ ยูโรและปอนด์กลับมาแข็งค่าเทียบดอลลาร์เพราะอะไร?

      ต้นเหตุเกิดจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ​ เดือนตุลาคมที่ออกมา​น้อยกว่าคาด​ คือ​ +7.7% จากปีก่อน. (%yoy) ลดลงจาก​ 8.2%yoy และที่ตลาดให้ความสนใจคือการเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหรือ​ %mom ที่เพิ่มเพียง​ 0.4%mom จากที่คาดที่​ 0.6%mom ทำให้คนคิดว่าเงินเฟ้อเลยจุดสูงสุดแล้วและเฟดไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ยแรง​ ส่งผลให้ความน่าสนใจในเงินดอลลาร์ลดลง​ เงินกลับไปสกุลเงินอื่น​ 

     นักวิเคราะห์ต่างมองดอลลาร์จะหยุดแข็ง​ บาทกำลังจะกลับทิศ​ มันจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ?

     ผมน่าจะย้ำเป็นคนแรกๆ​ ที่บอกบาทมีโอกาสอ่อนค่าแรง​ และไม่มีอะไรแข็งเกินดอลลาร์​ในช่วงนี้​ ผมอาจผิดในสองสัปดาห์นี้หลังตัวเลข​ CPI​ หรือเงินเฟ้อสหรัฐน้อยกว่าคาดเพียง​ 0.2% (ตัวเลขจริง0.4% ส่วนใหญ่​คาด​ 0.6%) 

     แต่เพียงเท่านี้จะทำให้ดอลลาร์​กลับทิศได้จริงหรือ​ ผมขอเห็นต่างครับ​ ผมมองดอลลาร์ไม่หยุดแข็ง​ และบาทมีโอกาสอ่อนต่อได้​ หุ้นฝั่งสหรัฐที่ขึ้นน่าเป็นโอกาสขายของเก่าที่ขาดทุนบางส่วน​ อาจถือเงินสดรอหรือมาช้อนหุ้นเทคจีน)​ ไม่ใช่ไล่ซื้อ​ ด้วยเหตุผลดังนี้

     1. เฟดยังไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ย​ แค่ขึ้นน้อยลง​ แต่การจะลดเงินเฟ้อให้ได้​ หรือต้องการจะให้เกิด​ dis-Inflation​ หรือเงินเฟ้อติดลบอาจรอจน​ 2024 เฟดจะต้องย้ำการคงดอกเบี้ยสูงลากยาว​ ไม่มีนโยบายกลับทิศมาลดดอกเบี้ยหรือ​ policy pivot ถึงอย่างน้อยกลางปีหน้า​

      2. Terminal rate หรืออัตราดอกเบี้ยในระดับสูง​สุด​ของ​สหรัฐน่าจะขยับขึ้นได้อีก​ ตอนนี้คาดที่​ 5.25% แปลว่าขึ้นได้อีกยาว​ แม้ครั้งละ​ 0.25% ในต้นปีหน้าหลัง​คาดที่​ 0.50%เดือนธันวา​คม

      3. ประธานเฟดจะออกมาย้ำว่าอย่าสู้กับเฟด​ เพราะห่วงคนไม่กลัวคำขู่​ จะยิ่งใช้จ่าย​ เงินเฟ้อคาดการณ์​ไม่ลดลงเร็วพอ​ อย่าลืมว่าเป้าหมายเขาคือเงินเฟ้อ​ 2% ไม่ใช่​ 7%

     4. ระหว่างนี้รอดูตัวเลขต่างๆ​ เช่น​ ค้าปลีก​ และขายบ้านใหม่​ ในเร็วๆนี้​ หรือรอตัวเลขว่างงานและเงินเฟ้อในเดือนหน้า​ ซึ่งอาจพลิกผัน​ได้

     5. ปัจจัยในประเทศไทยยังไม่มีอะไรเด่นนะครับ​ ความหวังเดียวคือการท่องเที่ยวที่จะพลิกให้ดุลบัญชี​เดินสะพัด​กลับมาเกินดุล​ แต่ผมยังห่วงเศรษฐกิจ​ในประเทศ​ที่อ่อนแอ​ รอตัวเลข​ GDP​ ไตรมาส​3 ที่จะออกจันทร์​หน้าดู​ แม้คาดโต4%yoy​ แต่การบริโภค​ของคนในประเทศ (ไม่รวมนักท่องเที่ยว)​ 

        และการลงทุนน่าจะยังอ่อนแอ​ ส่งผลให้กนง. ไทยยังน่าขึ้นดอกเบี้ยน้อยที่ 0.25% ปลายเดือนนี้​ ไม่ขึ้นแรงหรือห่วงเงินเฟ้อหรือบาทอ่อนอย่างคาดก่อนหน้า​ และส่วนต่างดอกเบี้ยไทยและสหรัฐจะยิ่งกว้างขึ้นในอนาคต

    6. อย่าไว้ใจ​ Fund​ flow​ ที่บอกต่างชาติเข้าซื้อหุ้นซื้อบอนด์ไทย​ มันจะเก็งกำไรหรือพักเงินยาวกันแน่

    สรุป​ ย้ำให้ระวัง​ ผมว่าไม่น่าใช่จังหวะ​ไล่ตาม​สินทรัพย์​เสี่ยงนะครับ