IRPC - ขาดทุนใน 3Q เพราะธุรกิจโรงกลั่น และปิโตรเคมีอ่อนแอ แถมยังขาดทุนจากสต็อกอีก

IRPC - ขาดทุนใน 3Q เพราะธุรกิจโรงกลั่น และปิโตรเคมีอ่อนแอ แถมยังขาดทุนจากสต็อกอีก

ขาดทุนสุทธิ 2.5 พันล้านบาท (-0.12 บาท/หุ้น) ใน 3Q จากที่มีกำไร 3.8 พันล้านบาทใน 2Q

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ i) market GRM ลดลงมาอยู่ที่ US$4.0 จาก US$15.7 ใน 2Q ii) อัตราการกลั่นลดลงมาอยู่ที่ 88% จาก 92% ใน 2Q iii) มีผลขาดทุนจากสต็อกสุทธิ 4.0 พันล้านบาท (รวม LCM และการป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมันด้วย) จากที่ขาดทุน 1.3 พันล้านบาทใน 2Q iv) มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 312 ล้านบาท จากที่ขาดทุน 280 ล้านบาทใน 2Q ทั้งนี้ Crack spread ของน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลลดลง qoq แต่ crude premium เพิ่มขึ้น US$1.9/bbl qoq เป็น US$9.7 ผลการดำเนินงานของธุรกิจปิโตรเคมีอ่อนแอลง qoq จากการที่จีนยังใช้มาตรการ lockdown ซึ่งฉุดให้ spread ลดลงทั้งของ HDPE (-US$96/t qoq เหลือ US$421), PP (-US$83/t เหลือ US$367) และ ABS (-US$233/t เหลือ US$799) โดยใน 3Q ธุรกิจปิโตรเคมีช่วยหนุน GIM US$1.1 จาก US$3.0 ใน 2Q ส่วนธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นก็ช่วยหนุนเพิ่มขึ้น qoq เป็น US$1.3 จาก US$0.7 ใน 2Q เพราะมีการตุนสต็อกเพื่อซื้อขายใน 4Q ดังนั้น  market GIM จึงลดลงเหลือ US$6.4 จาก US$20.2 ใน 2Q ทำให้มีผลขาดทุนสุทธิ 2.5 พันล้านบาท (-0.12 บาท/หุ้น) จากที่มีกำไร 3.8 พันล้านบาทใน 2Q

 

คาดว่าผลการดำเนินงานจะยังอ่อนแอใน 4Q

ถึงแม้ว่า crude premium จะลดลงใน 4Q แต่ IRPC จะปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นนาน 30 วัน ซึ่งจะทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเหลือเพียง 63% นอกจากนี้  spread ปิโตรเคมียังอ่อนแอลง qoq ในเดือนตุลาคมด้วย ดังนั้น เราจึงคาดว่าผลการดำเนินงานใน 4Q น่าจะยังอ่อนแอ

 

ราคาเป้าหมายของเราที่ 3.30 บาท อิงจาก PBV ปี FY22F ที่ 0.8x คิดเป็น PE ที่ 15.1x เราคาดว่าผลการดำเนินงานของ IRPC ในระยะต่อไปน่าจะอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดเอาไว้ ซึ่งจะฉุดราคาหุ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า