BANKING SECTOR เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดขึ้นแม้มีปัจจัยกดดัน

BANKING SECTOR เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดขึ้นแม้มีปัจจัยกดดัน

ธปท. คงมุมมองว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวแม้มีปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ คาดเงินเฟ้อจะสูงสุดใน 4Q22 โดยธปท. การปรับดอกเบี้ยนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไปมีความเหมาสมเพื่อลดเงินเฟ้อแต่ไม่กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ด้านค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าใกล้เคียงสกุลเงินในภูมิภาค แต่ไทยมีเงินทุนสำรองอยู่ในระดับสูง

 

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ต่อเนื่องแม้มีปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ

ธปท. จัดประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายการเงินและทิศทางเศรษฐกิจหลังการประชุม กนง. ในช่วงเดือน ก.ย. โดยธปท. คงคาดการณ์การเติบโต FY22 GDP ที่ +3.3% แต่ปรับคาดการณ์ของปี FY23 ลงจาก +4.2% เป็น +3.8% โดย ธปท. คาดการใช้จ่ายในประเทศยังแข็งแกร่งหนุนจากตลาดแรงงานและภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตามการส่งออกและการลงทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐอาจชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจทั่วโลกและแนวโน้มการลงทุนที่ไม่สดใสนัก

 

การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นวิ๊ธีที่เหมาะสม

ธปท. คาดเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงที่ 6.3% ในปีนี้ ปรับสูงขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้เล็กน้อยที่ 6.2% อย่างไรก็ตามธปท. คาดเงินเฟ้อจะสูงสุดใน 4Q22 และค่อยๆ ลดลงเป็น 2.6% ภายในปี 2024 จากเดิมคาดการณ์ในรอบมิ.ย. ที่ 2.5%  โดยแรงกดดันเงินเฟ้อหลักๆยังมาจากทางด้านราคาจากฝั่งต้นทุนเป็นหลัก ไม่มีเห็นแรงกดดันจากด้านอุปสงค์ อย่างไรก็ตามตลาดเงินอาจผันผวนและอ่อนไหวต่อแรงกดดัน ธปท. เชื่อว่าการปรับนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไปสู่ภาวะปกติเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ เป็นเรื่องที่เหมาะสม เนื่องจากจะไม่กระทบตลาดการเงินและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

 

 

ตลาดกังวลค่าเงินบาทอ่อนค่าและเงินทุนสำรองต่างประเทศ

มีคำถามจำนวนมากเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วและความเพียงพอของเงินทุนสำรองต่างประเทศในช่วง Q&A โดย ธปท. มองว่าค่าเงินบาทอ่อนค่า (-13% ytd) สอดคล้องไปกับค่าเงินในภูมิภาค (ADXY -11% ytd) และยื่นยันว่าไทยเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองในระดับสูงประเทศหนึ่ง เงินทุนสำรองที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากการปรับมูลค่าตลาด MTM ของสกุลเงินในพอร์ต  รวมถึงธปท. ได้เปิดเผยว่ามีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างเสถียรภาพของค่าเงินบ้าง

 

แนวโน้มกลุ่มธนาคารยังแกร่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและดอกเบี้ยขาขึ้น

เราติตตามข้อมูลทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดเนื่องจากธนาคารกลางส่วนใหญ่ ใช้การตอบสนองของนโยบายการเงินแบบอิงข้อมูลเศรษฐกิจ หากมองจากความเร็วของการฟื้นตัวและคาดการณ์เศรษฐกิจล่าสุด เราเห็นด้วยกับธปท. ว่าการปรับนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เราคงมุมมองว่าดอกเบี้ยนโยบายจะแตะระดับ 1.25% และ 2.00% ภายในสิ้นปี 2022 และ 2023 ตามลำดับ ธนาคารใหญ่ 4 แห่ง - KTB, KBANK, SCB และ BBL - จะเป็นผู้ได้ประโยชน์หลักจากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นพิจารณาจากพอร์ตสินเชื่อและโครงสร้างเงินฝาก