Sideways Down ซื้อเก็งกำไร JMART CPF SCGP

Sideways Down ซื้อเก็งกำไร JMART CPF SCGP

คาดดัชนีฯ Sideways Down แนวต้าน 1,569/1,580 จุด แนวรับ 1,556/1,550 จุด แนะนำ ซื้อเก็งกำไร JMART CPF SCGP ทางเทคนิค อยู่ในลักษณะขาลงรูปแบบ Rounding Top โดยมีสัญญาณขายเพิ่ม หากหลุดแนวรับสำคัญที่ 1,556/1,550 จุด

ส่วนโมเมนตัมลบ คือ นักลงทุนชะลอลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงของความไม่แน่นอนของทิศทางตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และตลาด FX ในช่วงหยุดยาวตั้งแต่วันพฤหัสจนถึงวันศุกร์นี้  ไฮไลท์วันนี้ คือ US FOMC Minute สุนทรพจน์คณะกรรมการเฟด Bowman, Fed มินิอาโพลิส Kashkarn, PPI เดือน ก.ย. คาด 0% MoM, +8.4% YoY (Vs เดือน ส.ค. +0.1% MoM, +8.7% YoY); OPEC รายงานประจำเดือน; EU รมว.พลังงานอียู ประชุมหารือเรื่องขาดแคลนพลังงาน

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC TCAP CENTEL BH BEM AOT EA PTG WHA CPN KTB BDMS

+ Daily Recommendations: JMART (แนวโน้มกำไร 3Q22 เติบโต จากยอดขาย iPhone 14) CPF (ได้อานิสงส์จากราคาเนื้อหมูและเนื้อไก่ที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง) SCGP (กำไรครึ่งปีหลังฟื้นตัว จากต้นทุนการผลิตที่ลดลง)

+ หุ้นได้ประโยชน์จาก Bond Yields ขาขึ้น: BBL TTB TLI BLA

+ หุ้นได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว: PTTEP ESSO SPRC

+ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการซ่อมแซมบ้านเรือนหลังน้ำท่วม: GLOBAL HMPRO DOHOME

+ หุ้นได้ประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น: CENTEL ERW AOT BAFS AAV SPA

ปัจจัยลบ

- IMF: IMF ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2023 สู่ระดับ 2.7% จากเดิมที่ระดับ 2.9% โดยประเทศในกลุ่มอาเซียน คงคาดการณ์การเติบโตปีนี้ที่ 5.3% แต่ปรับลดปี 2023 ลงเหลือ 4.9% จาก 5.1% ส่วนของไทยคงคาดการณ์ปีนี้ที่ 2.8% แต่ปรับลดปี 2023 ลงเหลือ 3.7% จาก 4.0%

- US: เฟด สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ US GDP ล่าสุด (GDPNow) พบว่า ขยายตัว 2.9% QoQ ใน 3Q22 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 2.7% QoQ ทำให้ตลาดยังคงกังวลต่อการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

 

 

- US: JP Morgan คาดรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯ วันพรุ่งนี้ จะส่งผลต่อทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะดิ่งลง -5% หากออกมาสูงกว่า 8.3% YoY, ลดลง 1.5-2% หากออกมาในกรอบ 8.1-8.3% YoY และกรณีดีสุดคาดปรับสูงขึ้น 2-3% หากออกมาต่ำกว่า 7.9% YoY

 

ประเด็นสำคัญ

- US FOMC Minute: สุนทรพจน์คณะกรรมการเฟด Bowman, Fed มินิอาโพลิส Kashkarn, PPI เดือน ก.ย. คาด 0% MoM, +8.4% YoY (Vs เดือน ส.ค. +0.1% MoM, +8.7% YoY)

- OPEC: รายงานประจำเดือน

- EU: รมว.พลังงานอียู ประชุมหารือเรื่องขาดแคลนพลังงาน

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบเป็นวันที่ 3: ตลำดหุ้นไทยลงไปต่ำสุดในช่วงเปิดตลำดที่ 1,559.22 จุด -11.35 จุด ก่อนแกว่งตัว Up & Down ในกรอบแคบ ๆ 1,561.96-1,568.44 จุด ตลอดกำรซื้อขำย ก่อนปิดตลำดที่ 1,562.68 จุด -7.89 จุด วอลุ่มซื้อขำย 5.1 หมื่นล้ำนบำท นำลงโดยกลุ่มธุรกิจกำรเกษตร -2.31% พำณิชย์ และขนส่งและโลจิสติกส์ -1.15% พัฒนำอสังหำริมทรัพย์ -1.13% หุ้นบวก >4% SPACK ITD SELIC PLUS SCI ARIP PROEN LDC หุ้นลบ >4% HANA ASIAN TMC 24CS STA TKT ACC K AIE SEAOIL

 

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ ส่วนหุ้นยุโรปปิดลบ: DJIA +0.12% S&P500 -0.65% NASDAQ -1.10% เป็นผลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศปรับลดคาดการณ์เติบโตเศรษฐกิจโลก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ส่งสัญญาณยุติการพยุงตลาดพันธบัตรภายในวันศุกร์นี้ แม้สมาคมบำนาญและการออมเรียกร้องให้ขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค. นำลงโดยหุ้นกลุ่มเทคฯ (หุ้น Amazon -1.28%, Microsoft -1.68%, Meta Platform -3.92%) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นเมื่อวานนี้ ส่วน DJIA ปรับสูงขึ้น จากหุ้นผู้ผลิตยา Amgen +5.72% หลังจากนักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ ปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุนสู่ระดับ "Overweight" จากเดิม"Equal weight" ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดลบต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 CAC40 -0.13% DAX -0.43% FTSE -1.06% โดยนักลงทุนกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลกำไรของบจ. ที่ถูกกดดัน จากการที่ธนาคารกลางต่าง ๆ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ

+/- ราคาน้ำมันดิบปิดลบ ส่วนทองคำปิดบวก: WTI -USD1.78 ปิดที่ USD89.35/บาร์เรล Brent -USD1.90 ปิดที่ USD94.29/บาร์เรล กังวลอุปสงค์โลกลดลง จากโอกาสสูงขึ้นของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความเสี่ยงออกมาตรการล็อกดาวน์ของจีน หลังจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 พุ่งขึ้น ส่วนราคาทองคำปิดบวก +USD10.80 ปิดที่ USD1,686.00/ออนซ์ จากแรงซื้อทองคำในฐำนะสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ประเด็นสำคัญ

- IMF: IMF คง Global GDP ปี 2022 ที่ 3.2% แต่ปรับปี 2023 ลงเหลือ 2.7% จาก 2.9% เติบโตต่ำสุดในรอบ 22 ปี (ไม่นับช่วงวิกฤติสำคัญ) โดยกลุ่มประเทศที่ถูกปรับ GDP ปีหน้าลงมากสุด คือ ยูโรโซน เหลือโตเพียง 0.5% (เยอรมันถดถอย -0.3% และอิตาลี -0.2%) ส่วนของสหรัฐฯ ปรับปีนี้เหลือโต 1.6% จาก 2.3% และคงปีหน้าโต 1.0% ขณะที่จีนถูกปรับปีนี้ลงเหลือ 3.2% และปีหน้าเหลือ 4.4% ส่วนเงินเฟ้อโลกปีนี้คาดที่ 8.8% และปีหน้าคาดลดเหลือ 6.5%

- UK: สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงานในวันนี้ว่า อัตราว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.5% ในเดือน มิ.ย.-ส.ค. จากระดับ 3.8% ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้านั้น ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของอังกฤษยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว

+ US: เฟด สาขานิวยอร์ก เปิดเผยผลสำรวจพบว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐฯ สำหรับระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า ได้ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ในเดือน ก.ย. คาดอัตราเงินเฟ้อจะแตะระดับ 5.4% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2021 อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะ 3 ปีข้างหน้า สู่ระดับ 2.9% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.8% ในเดือน ส.ค. นอกจากนี้ ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อในระยะ 5 ปีข้างหน้า จะยังคงสูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 2.2% ในปี 2027

+ Thailand: รัฐบาลคาดว่าในเบื้องต้นจะใช้งบประมาณในการดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมราว 2.3 หมื่นล้านบาท พร้อมย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งลงพื้นที่สำรวจความเสียหายหลังน้ำลด เพื่อทำเรื่องเบิกจ่ายในการดูแล ฟื้นฟู และเยียวยาให้แก่ประชาชนต่อไป

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: BBL BLA TIPH

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: JMART CPF SCGP

Derivatives: แนะทยอยปิด Short S50Z22 ล็อกกำไร