โจทย์ท้าทาย ก.ล.ต. พัฒนาตลาดทุนไทย เตรียมรับ “เทคโนโลยี-โลกเปลี่ยน “

โจทย์ท้าทาย ก.ล.ต. พัฒนาตลาดทุนไทย เตรียมรับ “เทคโนโลยี-โลกเปลี่ยน “

 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดงานเสวนา “ก้าวต่อไปของตลาดทุนไทยในทศวรรษหน้า” ในโอกาส สำนักงานก.ล.ต. ครบรอบ 30 ปี

โดยมี อดีตเลขาธิการก.ล.ต. 6 คน มาให้มุมมองความท้าทายจากพัฒนาของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และแนวทางการกำกับตลาดทุนในอีก 10 ปีข้างหน้า      

กฎเกณฑ์หนุนตลาดทุนเดินหน้ายั่งยืน

"เอกกมล คีรีวัฒน์" เลขาธิการ ก.ล.ต. (พ.ศ. 2535 – 2538)  กล่าวว่า   ในช่วง 10 ปี ข้างหน้าไม่มีใครรู้ว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่ง ความยั่งยื่นของเศรษฐกิจคงจะไม่คงที่  และที่ผ่านมาสถานการณ์โลกมีการดีสรัปมาตลอด  แต่ถ้าหากมีกฎเกณฑ์ วิธีการ การดำเนิินงาน ซึ่งจะทำให้มีความมั่นคง เราต้องมีความโปร่งใส่และมีความเป็นธรรม และเข้าใจในธุรกิจนี้  โดยที่ผ่านมามีการพัฒนาในช่วง 30 ปี มาอย่างดี เข้าหลักสากล ที่จะสร้างความมั่นคงในอนาคต

สำหรับที่ผ่านมามีตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเกิดขึ้นมา ซึ่งในประเทศไทย ไม่มีหน่วยงานอื่นมากำกับดูแล ทำให้ก.ล.ต.ต้องรับหน้าที่กำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล กฎเกณฑ์ต่างๆต้องสร้างมาใหม่ ซึ่งเป็นความท้าทายในการกำกับของ ก.ล.ต.ในชุดปัจจุบัน เพราะ ไม่สามารถควบคุมได้ตั้งต่ต้นน้ำ จากเป็นดีเซ็นทรัลไรทไฟแนนซ์

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อมั่น ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง แต่ที่แน่ใจได้ว่าถ้าเรามีกฎเกณฑ์ที่เรามีปัจจุบันและอาจมีการแก้ไข ปรับปรุง เราสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

"ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา" เลขาธิการ ก.ล.ต. (พ.ศ. 2538 – 2542) กล่าวว่า  ในอนาคตเชื่อว่าบทบาทเทคโนโลยีจะเข้ามามีผลต่อการพัฒนาตลาดทุนไทย  ในด้านการวิเคราะห์ตลาดมีความซับซ้อนมากขึ้น และรวดเร็ว  เข้ามาทำหน้าที่แทนคน ส่งต่อการแข่งขันเปลี่ยนไป เป็นการแข่งขันในด้าเทคโนโลยี  การทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบลจะเป็นลักษณะกระจายศูนย์ ลดตัวกลางลง ทำให้ผู้ประอบการหน่วยงานกำกับ ต้องเข้าใจแนวคิดใหม่ในตลาดการเงิน 

โดยสิ่งที่อยากจะเน้นให้ ก.ล.ต. ดำเนินการต่อไป คือ การเพิ่มคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ในตลาดหลักทรัพย์ การกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนเข้าเป็นแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนยึดการทำธุรกิจที่คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล สังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) เพิ่มบจ.ในอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่ ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมด้านผู้ลงทุน ทั้งผู้ลงทุนบุคคลและผู้ลงทุนสถาบัน

"ประสาร ไตรรัตน์วรกุล"  เลขาธิการ ก.ล.ต. (พ.ศ. 2542 – 2546) กล่าวว่า โจทย์ในการพัฒนาตลาดทุนไทยในอีก 10 ปี ข้างหน้า คือ ความทั่วถึง  เนื่องจากที่ผ่านมากิจการที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากตลาดทุนยังไม่ทั่วถึงดีพอ  เพราะจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่  แต่ธุรกิจขนาดเล็กยังมาใช้ประโยชน์ตลาดทุนน้อย  จึงเป็นโจทย์ที่ต้องช่วยกันคิด ปรับกรอบความคิด ให้ยืดหยุ่น ให้ธุรกิจขนาดเล็กมาใช้ประโยชน์ในตลาดทุน 

ทั้งนี้หากดูในฝั่งนักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดทุนมากขึ้น แต่ยังน้อยเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศ  แต่ที่น่าแปลกในช่วง 1ปี ที่ผ่านมา มีผู้เข้ามาลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลขึ้นมาเร็วมาก ถึง 2 ล้านบัญชี  ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ในเรื่องการพัฒนาสินค้า  และต้องวิเคราะห์ทำไมคนถึงเข้ามาลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล 

ส่วนที่ 2 ด้านประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ  ความสะดวก  ซึ่งมีประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ เทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ซึ่งเป็นโจทย์ในอีก 10 ปีข้างหน้า ต้องคิดเยอะ  ในเรื่องกฎเกณฑ์การกำกับดูแล  และสุดท้ายในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการสนับสนุนทุกภาคส่วนของตลาดทุนขับเคลื่อนให้ตลาดทุนพัฒนาอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม บทบาทในอนาคตบทบาทของก.ล.ต.จะต้องปรับเปลี่ยนเป็นผู้ประสานงานมากขึ้น ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทเพื่อให้อีโคซิสเต็มมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความสามารถแข่งขันของประเทศ 

ชงทำมาร์สเตอร์แพลน“ศก.-สินทรัพย์ ดิจิทัล"

 "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล"  ลขาธิการ ก.ล.ต. (พ.ศ. 2546 - 2554) กล่าวว่า โจทย์ใหญ่ท้าทายตลาดทุนไทยในทศวรรษหน้า จะต้องเผชิญ 3 การเปลี่ยนแปลง ที่ตลาดทุนไทยต้องหาวิธีการรับมือ เพื่อเดินหน้าต่อไปได้แบบไร้รอย   1.ระบบการเงินที่เปลี่ยนแปลงจากเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เมื่อสหรัฐใช้ระบบเงินดอลลาร์โจมตีประเทศฝั่งตะวันออก ทำให้หลายประเทศเริ่มหันใช้สกุลเงินท้องถิ่นค้าขายกันมากขึ้น

2.ระบบการชำระเงินที่เปลี่ยนแปลง จากการค้าระหว่างประเทศเข้มข้นมากขึ้นหากจีนเริ่มใช้ดิจิทัลหยวน 3,ทิศทางตลาดทุนดิจิทัล และสินทรัพย์ดิจิทัล ที่สหรัฐพยายามตั้งโจทย์บล็อกประเทศตะวันออก เพื่อให้สหรัฐยังมีบทบาทหลักในเศรษฐกิจดิจิทัล

 โดยแนะว่าเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลและสินทรัพย์ดิจิทัล ที่กำลังเป็นสิ่งใหม่ ตอนนี้ควรมีการจัดทำเป็นมาสเตอร์แพลตสำหรับประเทศไทยที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันว่าจะมีวิธีการดำเนินการต่อไปอย่างไร ซึ่งตลาดทุนไทย เป็นกลไกสำคัญ ก.ล.ต. ต้องเตรียมการบริหารจัดการตลาดทุนไทยให้ครอบคลุมรอบด้าน

5 ปัญหาคู่แฝดที่ตลาดทุนต้องรับมือ

"วรพล โสคติยานุรักษ์"  เลขาธิการ ก.ล.ต. (ปี2554 - 2558) กล่าวว่า การกำกับดูแลตลาดทุนไทยในทศวรรษหน้า จะต้องเจอกับ 5 “ปัญหาคู่แฝด” คือ1 . การขาดดุลอย่างหนัก จากเงินลงทุนและทุนสำรองลดลง 2.ภาวะคนเกิดน้อยกว่าคนตาย และไม่มีอุตสาหกรรมรองรับเมกะเทรนด์โลก จากตลาดทุนไทยไม่มีอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ยาและเทคโนโลยีเจริญพันธ์ุ อีวี

3. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว แต่ประชาชนไม่มีความรู้ โดนหลอกลวง 4.ภาคธุรกิจเข้าถึงการระดมทุนได้ไม่ทั่วถึง 5.ความขัดแย้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทำให้เกิดวิกฤติได้อีกมากมาย

 สำหรับภารกิจก.ล.ต.ที่ต้องทำต่อไป คือ ต้องเป็นองค์กรที่พึ่งพาได้ ฝากอนาคตได้ในทุกภาคส่วน เป็นหุ้นส่วน (visionary and strategic partners) ในการทำงานด้วยกันร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืน รวมถึงต้องสนับสนุนให้ผู้ลงทุนมีความรู้ทางด้านการเงินและการลงทุน เพื่อให้สามารถคุ้มครองตัวเองได้ รวมถึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ทุกฝ่ายต้องร่วมมือปั้นนักลงทุนให้พร้อม

"รพี สุจริตกุล"เลขาธิการ ก.ล.ต. (ปี 2558 - 2562) กล่าวว่า การพัฒนาตลาดทุนไทยในช่วงทศวรรษหน้าจะมีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ว่าจะ ก.ล.ต. เอง ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งผ่านนโยบายที่สำคัญ ตัวกลางซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการและคำแนะนำแก่ลูกค้า แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คงเป็นการเตรียมตัวของนักลงทุนซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องสินค้าที่จะนำเงินไปลงทุน รวมทั้งความเสี่ยงที่จะตามมาด้วย”

สำหรับแนวทางการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในทศวรรษหน้า นายระพี  มองว่า หน่วยงานกำกับดูแลทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้อง ต้องประสานความร่วมมือกัน ไม่เฉพาะก.ล.ต.เท่านั้น เช่น ควรมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาร่วมกำกับและดูแลด้วย เพราะถึงแม้จะโทเคนก็จริง แต่ส่วนหนึ่งของโทเคน มองว่าสามารถกลายพันธุ์เป็น เคอเรนซี่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้แน่นอน หากไม่มีการกำกับดูแลส่วนนี้โดยธปท.ด้วยแล้ว สุดท้ายจะกลับไปสู่ปัญหาเดิมๆ ประชาชนถูกหลอกลวงได้

"ตลาดการลงทุน ถูกขับเคลื่อนด้วยนักลงทุน จะควบคุมอย่างไร คิดว่าไม่น่าจะคุมได้ สุดท้ายกลับมาที่การดูแลนักลงทุนให้มีความรู้ความเข้าใจก่อนลงทุน ไม่ถูกหลอก เพราะไม่มีไม้วิเศษไปกำกับดูแลเขาได้ ขณะเดียวกันดิจิทัลเอสแซท ก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายทั้งหมด มองว่าเหมือนกับตลาดหุ้นก่อนหน้านี้มีหุ้นเน่า และเมื่อตลาดได้เรียนรู้ร่วมไประยะเวลาหนึ่งแล้ว ใครที่เหลือรอดมาได้ ก็จะสามารถไปต่อได้ นักลงทุนก็ต้องรู้และเข้าใจความเสี่ยงว่าเข้าไปลงทุนอะไรอยู่"