“ ADVANC –TRUE - DTAC “ ฝ่าดีลใหญ่ "ผ่าน"แบบต้องมีลุ้น

“ ADVANC –TRUE - DTAC  “  ฝ่าดีลใหญ่ "ผ่าน"แบบต้องมีลุ้น

หุ้นสื่อสารในนาทีนี้ถือได้ว่าเผชิญแรงกดดันจากภาพธุรกิจเรียกได้ว่า ต้อง “ลุ้นกันหนัก” หลังจากแต่ละบริษัทกระโดดเข้ามาทำ “ดีลใหญ่ “ จนมีผลกระทบต่อการแข่งขันอย่างชัดเจนจนทำให้มีทั้งกลุ่มสนับสนุน และกลุ่มที่คัดค้านจนกลายเป็นประเด็นร้อนในกลุ่มสื่อสารว่าได้

           เริ่มตั้งแต่ดีลแสนล้านที่ยืดเยื้อ และแรงต้านมหาศาล การประกาศรวมกิจการระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE  ควบรวม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส  คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC   หากแต่ธุรกรรมผ่านทางบริษัทแม่ของทั้งสองบริษัทคือ  "กลุ่มซีพี และกลุ่มเทเลนอร์"  

            จนทำให้เกิดประเด็นว่าทางกฎหมายบริษัท มหาชน สามารถทำได้หลังผ่านอนุมัติผู้ถือหุ้น  แต่ด้วยธุรกิจโอเปอเรเตอร์มีการนำคลื่นที่ได้รับสัมปทานมาบริหาร  และมีผู้ประกอบการเฉพาะเอกชนเพียง 3 ราย จึงเท่ากับ  2 รายรวมกับตลาดแทบจะไร้การแข่งขันปริยาย

            ดังนั้นจึงเกิดแรงต้านจากผู้ที่เกี่ยวข้องทางนักวิชาการ ต่างเห็นพ้องจะนำไปสู่การผูกขาดของสองค่ายใหญ่ควบคุมการตลาดมือถือแบบเบ็ดเสร็จ จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากนักวิชาการได้แสดงว่าผู้บริโภคต้องมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิม ระหว่าง 2.03% ถึง 244.5%

รวมไปถึงรายใหญ่ในอุตสาหกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ออกโรงคัดค้านตัวโกง ยกอำนาจของ กสทช.ที่พึ่งกระทำได้ และสภาพการแข่งขันจากดัชนีการแข่งขัน (HHI) ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ 3 รายเมื่อสิ้นไตรมาส 3 ปี 2564 กระจุกตัวในอัตราที่สูงมากอยู่แล้ว ดังนั้นหากให้ควบธุรกิจจะยิ่งทำให้บริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 53.4% เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อการแข่งขัน และเข้าข่ายเป็นการครอบงำตลาด

  “ ADVANC –TRUE - DTAC  “  ฝ่าดีลใหญ่ \"ผ่าน\"แบบต้องมีลุ้น

         บทบาทจึงตกหนักไปที่ท่าทีของ กสทช. ที่เหมือนกับอยู่นิ่งกับที่  และเสมือนเตะถ่วงเวลาด้วยการสอบถามอำนาจหน้าที่จากคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ว่ามีสิทธิอนุญาตหรือไม่อนุญาตแผนควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE-DTAC หรือไม่ อย่างไร จนทำให้ กสทช.ต้องเลื่อนการพิจารณาจาก  14 ก.ย. เป็นวันที่ 12  ต.ค.แทน

         ส่วนด้าน ADVANC เสนอซื้อกิจการ TTTBB จากบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) หรือ JAS และ กองทุนโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต หรือ JASIF  ด้วยมูลค่า  32,420 ล้านบาท

          กลายเป็นประเด็นเขย่าราคาหุ้นหลังผู้ถือหน่วย JASIF รวมตัวไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขที่ ADVANC  ปรับเปลี่ยนสัญญาการเช่าการันตีสัญญาเช่าเป็นปี 2580 จากเดิมสิ้นสุด 2575  เพื่อรักษาจ่ายเงินปันผลที่ 7 %  แทน จนทำให้ต้องมีการปรับเงื่อนไขอีกรอบ

          ด้วยการลดภาระหนี้จากเจ้าหนี้รายใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ  มูลค่า 14,000 ล้านบาท ด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.50%  ทำให้ JASIF มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นเพื่อมีโอกาสมาจ่ายเงินปันผลตอบแทนผู้ถือหน่วยตามที่ ADVANC จะขยายระยะเวลาการเช่าออกไป 6 ปี ทำให้ต้องมีการเลื่อนประชุมผู้ถือหน่วยออกไปจาก 22 ก.ย. เป็น 18 ต.ค. เพื่อให้พิจารณาข้อมูล และยังมีการจัดประชุมซักซ้อมล่วงหน้าผ่าน E-EGM สำหรับผู้ถือหน่วย JASIF เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมาอีกด้วย

            ทั้ง 2 ประเด็นและ 2 ดีลใหญ่ของกลุ่มสื่อสารทำให้เกิดความไม่แน่นอนว่าจะเป็นอย่างไรเพราะในเชิงของทิศทางธุรกิจย่อมเป็นปัจจัยบวกสำหรับโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย อย่างชัดเจนทั้งต้นทุนลดลง โอกาสทำกำไรมากขึ้น รวมไปถึงการแข่งขันที่จะลดน้อยลง

            มุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ พัฒนสิน ประเมินทั้ง 2 ดีล โดย TRUE-DTAC  คาดว่าจะมีการออกเงื่อนไขหลังควบรวม 14 ข้อ เน้นการลดได้เปรียบจาก การรวมธุรกิจระยะหนึ่ง, คุณภาพบริการ และเปิดทาง รายใหม่เข้าสู่ตลาด ทำให้ภาพรวมเชื่อว่าผลักดันให้ทั้ง 2 บริษัทจะต่อยอดธุรกิจหลังควบรวม ด้วยการพัฒนาบริการสร้าง S Curve ใหม่เป็นหลักตามที่ให้ข้อมูลไว้หลัง ควบรวม บวกต่อภาพระยะถัดไปของอุตสาหกรรม

        “ ADVANC –TRUE - DTAC  “  ฝ่าดีลใหญ่ \"ผ่าน\"แบบต้องมีลุ้น

        ส่วน ADVANC คาดว่าผลสำเร็จของธุรกรรมจะมีความเป็นไปได้ราว 80% จะสร้างราคาเป้าหมายส่วนเพิ่มแก่ ADVANC ราว +2.7 บาท/หุ้น จากปัจจุบัน 252 บาท/หุ้น  จากนั้นต้อง ติดตามการพิจารณาของกสทช. เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น TTTBB  

        ด้าน JASIF มุมมอง Slightly positive เนื่องจาก 1) ทิศทางของธุรกรรมมีความชัดเจนขึ้น หลัง IFA แสดง ความเห็นสนับสนุนธุรกรรมครั้งนี้ และการเข้าทำรายการตาม ข้อเสนอของ AWN มีความเหมาะสมภายใต้การดำเนินธุรกิจในอนาคต รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ และ 2) มูลค่า DPU ตลอด ระยะเวลาประมาณการ รับเงื่อนไขปัจจุบัน (TTTBB ภายใต้ JAS) กับเงื่อนไขใหม่ (TTTBB ภายใต้AWN) ของ IFA ต่างกันไม่มาก

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์