Sideways Up ซื้อเก็งกำไร TFG DELTA BANPU

Sideways Up ซื้อเก็งกำไร TFG DELTA BANPU

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,666/1,672 จุด แนวรับ 1,640/1,634 จุด (EMA 10/25 วัน) แนะนำ ซื้อเก็งกำไร TFG DELTA BANPU ทางเทคนิค ดัชนีฯ ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น หลังวานนี้ดัชนีฯ สามารถทำ Higher High รอบสัปดาห์ที่ 1,648.05 จุด โดยมีเป้าหมายต่อไปที่ 1,666/1,672 จุด

โมเมนตัมลบวันนี้ คือ การกังวลต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศพัฒนาแล้ว  นำโดย USA EU หลังธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ส่งสัญญาณเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ไฮไลท์วันนี้ คือ ดุลการค้าไทยเดือน ส.ค. คาดขาดดุล -USD3.4bn. ส่งออก +7.35% YoY นำเข้า  +18.05% YoY (Vs เดือน ก.ค. ขาดดุล -USD3.66bn. ส่งออก +4.3% YoY นำเข้า +23.9% YoY) Australia/EU/UK/USA รายงานภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. Prel. (ตลาดคาดว่า USA UK จะรายงาน ดีขึ้น MoM ส่วน Australia EU คาดรายงานแย่ลง MoM) และศปก. ศบค. เตรียมเสนอ ศคบ. ชุดใหญ่วันนี้ ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินและยุบศบค.

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC JMART TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT EA PTG WHA KKP CPN MINT KTB BDMS

+ Daily Recommendations: TFG DELTA (รับประโยชน์จำกค่ำเงินบำทที่อ่อนค่ำ หนุนรำยได้จำกกำรส่งออกในรูปเงินบำทเพิ่มขึ้น) BANPU (ได้ประโยชน์จำกรำคำ ถ่ำนหินที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง จำกควำมต้องกำรใช้ถ่ำนที่หินที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในกำรผลิตกระแสไฟฟ้ำในช่วงฤดูหนำวที่กำลังจะมำถึง)

+ หุ้นที่ได้ประโยชน์แนวโน้ม Bond Yield ปรับตัวสูง: BBL KBANK SCB TIPH TLI

+ หุ้นได้ประโยชน์จากจานวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น: CENTEL ERW AOT

+ หุ้นกลุ่มได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า: DELTA SAPPE ASIAN TFG

 

ปัจจัยบวก

+ Japan: ค่าเงินเยน/USD วานนี้พลิกกลับจากอ่อนค่าลงมาแตะระดับต่ำสุดรอบ 24 ปี ที่ 145.31 เยน หลัง BOJ มีมติคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิม กลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็วเป็น 140.76 เยน ก่อนปิดตลาดที่ 142.35 เยน (Vs วันก่อนหน้า 144.06 เยน) โดยนาย มาซาโตะ คันตะ รมช.ฝ่ายกิจการต่างประเทศ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้เข้าแทรกแซงตลาด FX เพื่อพยุงค่าเงินเยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว และเป็นผลลบต่อเศรษฐกิจ

 

ปัจจัยลบ

- ดุลการค้าไทย: ตลาดคาดว่ารายงานดุลการค้าไทยเดือน ส.ค. จะขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 จำนวน -USD3.4bn. ซึ่งดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. ที่ขาดดุลสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2019 ที่ -USD3.66bn. ทั้งนี้ 7M22 ขาดดุลการค้า -USD9.9bn. และคาดว่าจะยังคงขาดดุลสะสมต่อเนื่องในช่วงที่เหลือปีนี้ จากแนวโน้มส่งออกที่คาดว่าจะเติบโตลดลง (เหลือ +4%) ตามภาวะการค้าโลกที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจ ซึ่งจะกดดันแนวโน้มเงินบาท/USD ระยะสั้นอ่อนค่า

 

ประเด็นสำคัญ

- Opportunity Day: SIS KWM PRIME VIBHA

- Thailand: ศปก.ศบค. เตรียมเสนอศคบ.ชุดใหญ่วันนี้ ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินและยุบศบค. รวมถึงศูนย์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเข้ามาดูแลแทน

- Thailand: ดุลการค้าเดือน ส.ค. คาดขาดดุล -USD3.4bn. ส่งออก +7.35% YoY นำเข้า +18.05% YoY (Vs เดือน ก.ค. ขาดดุล -USD3.66bn. ส่งออก +4.3% YoY นำเข้า +23.9% YoY)

- Australia/EU/UK/USA: รายงานภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.ย. Prel. (ตลาดคาดว่า USA UK จะรายงานดีขึ้น MoM ส่วน Australia EU คาดรายงานแย่ลง MoM)

- Japan: ตลาดหุ้นปิดทำการ เนื่องในเทศกาล Autumnal Equinox

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวก สวนทางกับการร่วงลงของตลาดหุ้นภูมิภาค: ตลาดหุ้นไทยร่วงลงไปต่ำสุดที่ 1,627.34 จุด -6.11 จุด ในครึ่งชั่วโมงแรกของการซื้อขาย ก่อนแรลลีขึ้นตลอดช่วงที่เหลือของการซื้อขาย โดยขึ้นไปทำจุดสูงสุดของวันที่ 1,649.29 จุด ในช่วงภาคบ่าย ก่อนอ่อนตัวปลายตลาดมาปิดที่ 1,645.29 จุด +11.84 จุด วอลุ่มซื้อขาย 6.7 หมื่นล้านบาท นำขึ้นโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +2.78% วัสดุก่อสร้าง +1.47% พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ +0.95% เงินทุนและหลักทรัพย์ +0.85% กำรแพทย์ +0.79% พลังงานและสาธารณูปโภค +0.75% หุ้นบวก >4% TAKUNI BYD TEAMG DITTO CHIC FSMART U DPAINT AF UAC KASET UREKA CHEWA หุ้นลบ >4% MFEC SPG GJS IP UMS
 

 

 

 

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปปิดลบ: DJIA -0.35% S&P500 -0.84% NASDAQ -1.37% จากความกังวลการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจะผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ Recession โดยหุ้น 9 ใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม ปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย -2.2% และกลุ่มไฟแนนซ์ -1.7% ในขณะที่หุ้นเทคฯ ขนาดใหญ่ เช่น AMAZON TESLA NVIDIA ปรับตัวลดลง -1.04%, –4.06% และ-5.3% หลังจาก Bond Yield 2 ปี พุ่งขึ้นเหนือ 4.1% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 ส่วนตลาดหุ้นยุโรปกลับมาปิดลบ CAC40 -1.87% DAX -1.84% FTSE -1.08% จากความกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง BOE, สวิสฯ, เฟด ฉุดหุ้นทุกกลุ่มปรับลดลง (ยกเว้น กลุ่มธนาคาร และกลุ่มทรัพยากรพื้นฐาน) นำลงโดยหุ้นกลุ่มเทคฯ -4.24% และกลุ่มเดินทาง -3.2%

+ ราคาน้ำมันดิบและทองคำปิดบวก: WTI +55 เซนต์ ปิดที่ USD83.49/บาร์เรล Brent +63 เซนต์ ปิดที่ 90.46/บาร์เรล จากความกังวลอุปทานน้ำมันดิบโลกตึงตัว หลังจากรัสเซียประกาศระดมพล เพื่อยกระดับการทำสงครามกับยูเครนและอุปสงค์จากจีนที่เริ่มฟื้นตัว ส่วนราคาทองคำ +USD5.40 ปิดที่ USD1,681.10/ออนซ์ จากความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในสงครามรัสเซียกับยูเครน หนุนให้นักลงทุนหันถือครองทองในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ประเด็นสำคัญ

+ Japan: BOJ มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และยิลด์พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ที่ 0% (Max 0.25%) ส่งผลให้ค่าเงินเยน/USD อ่อนค่าลงมาแตะระดับต่ำสุดรอบ 24 ปี ที่ 145.31 เยน เนื่องจากส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่าง FED และ BOJ ที่กว้างขึ้น อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนสามารถกลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็วเป็น 140.76 เยน รับข่าวการส่งสัญญาณเข้าแทรกแซง เพื่อพยุงค่าเงิน จากผู้ว่าธนาคารกลาง Kuroda และหลังจากอดีตหัวหน้าฝ่ายดูแลค่าเงินของกระทรวงการคลัง Tatsuo Yamasaki เผยว่า ทางการญี่ปุ่นพร้อมเข้ามาแทรกแซง เพื่อพยุงค่าเงิน ทั้งนี้ ตลาดมองความเสี่ยงอ่อนค่าของเงินเยนญี่ปุ่น ยังคงมีความเป็นไปได้ หากการแทรกแซงไม่มีการร่วมมือจากธนาคารกลางโลกอื่น ๆ เช่น เฟด เป็นต้น

+ Thailand: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือน ส.ค. 2022 อยู่ที่ 73,325 คัน เพิ่มขึ้น 23.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมคาดว่ายอดส่งออกรถยนต์ปีนี้น่าจะได้ตามเป้า 9 แสนคัน

- UK: BoE มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 2.25% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2008 และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 7 นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2021 อย่างไรก็ดี คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) มีความเห็นไม่เป็นเอกฉันท์ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ โดยกรรมการ 5 ราย ลงมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ขณะที่ 3 ราย ลงมติให้ปรับขึ้น 0.75% และ 1 ราย ให้ปรับขึ้น 0.25%

- Indonesia: ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase rate) ระยะเวลา 7 วัน ในอัตรา 0.50% สู่ระดับ 4.25% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018 การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินโดนีเซียนั้น สวนทางคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จากทั้งหมด 37 ราย ในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางอินโดนีเซียจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% โดยมีนักเศรษฐศาสตร์เพียง 7 คน ที่คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50%

- Philippines: ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบำย 0.50% สู่ระดับ 4.25% โดยเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 5 ในปีนี้ เพื่อบรรเทาแรงกดดัน เงินเฟ้อ ท่ามกลางปัญหาค่าเงินเปโซทรุดตัว และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: BBL SCB TLI

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: TFG DELTA BANPU

Derivatives: แนะปิด Short S50U22 ออกไปก่อน