บล.กสิกรไทย ชี้เงินบาทอ่อนค่าแรงแตะ 37 บาท กดดันฟันด์โฟลว์ไหลออกช่วงสั้น

บล.กสิกรไทย ชี้เงินบาทอ่อนค่าแรงแตะ 37 บาท กดดันฟันด์โฟลว์ไหลออกช่วงสั้น

บล.กสิกรไทย ชี้เงินบาทอ่อนค่าแรงแตะ 37 บาท/ดอลลาร์ กดดันฟันด์โฟลว์ไหลออกช่วงสั้น ประเมินเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าปลายปีแตะ 35.50 บาท ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหนุนการเติบโตของดุลภาคบริการ  เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว

บล.กสิกรไทย ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ตลาดหุ้นทั่วโลกรอติดตามขณะนี้ คือ การประชุม Fed วันที่  20-21 ก.ย. ว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% หรือไม่? และรอดู Dotplot ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐในปีนี้และปีหน้าว่าจะเป็นอย่างไร หลังสัปดาห์นี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาทั้งเงินเฟ้อ CPI, PPI สะท้อนว่าผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่ยังสูงกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ตลาดยังผันผวน     

ส่วนในประเทศติดตามค่าเงินบาทอ่อนค่าแรงแตะ 37 บาทต่อดอลลาร์ สูงสุดในรอบ 16 ปี ประเมินเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นในกลุ่มส่งออก อาทิ ส่งออกอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ แต่จะกระทบต่อผู้นำเข้า และบริษัทที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์ในสัดส่วนสูง  ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาทจะกดดันให้ Fund Flow ไหลออกช่วงสั้น

ระยะสั้นเงินบาทที่อ่อนค่าเป็นผลจากการแข็งค่าของ Dollar index โดย KBANK ประเมินเงินบาทจะกลับมาแข็งปลายปีบริเวณ 35.5 บาท โดยปัจจัยหนุนมาจาก 

1.) แนวโน้มนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 4 หนุนดุลบริการ  

2.) เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัว

3.) เงินเฟ้อไทยผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว

4.) เงินสำรองระหว่างประเทศ ฯลฯ

กลยุทธ์การลงทุน

สลับการถือครองหุ้นที่ต่างชาติถือในสัดส่วนที่สูง อาทิ (กลุ่มโรงพยาบาล อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน และอสังหาริมทรัพย์) มายังหุ้นกลุ่ม laggard  อาทิ  กลุ่มรับเหมา CK,  สื่อ PLANB, กลุ่มพาณิชย์ CPALL, กลุ่มการเงิน SAWAD, SAK กลุ่มบรรจุภัณฑ์ SCGP และกลุ่มธนาคาร SCB

 

โดยหุ้นเหล่านี้นักลงทุนต่างชาติยังถือครองน้อย และเป็นผู้ได้ประโยชน์หลักจากการเปิดเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่ฟื้น  รายได้ภาคเกษตรที่ดีขึ้น FDI และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

Top pick 

SCGP (ราคาทางพื้นฐาน 57.0 บาท) 

- มองกำไร 2H65 ดีกว่า1H65 หลังจากที่ราคาถ่านหิน ค่าระวางเรือปรับลดลงราว 40% นับจากจุดสูงสุด ทำให้ต้นทุน RCP ที่นำเข้าลดลงและทำให้ spread ดีขึ้น โดยคาดว่าจะเห็น Improvement หลักๆ ใน 4Q65   

- ได้รับ Sentiment บวกจากจีนประกาศยกเลิกมาตรการ Lockdown เมืองเฉิงตู

- ราคาหุ้นปัจจุบันปรับฐานลงมาจากจุดสูงสุดของปี สะท้อนข่าวร้ายไปมากแล้ว โดย 12M FWDPER อยู่ราว 26 เท่า หรือราว 0.5SD และ 12M FWD PBV (x)อยู่ราว 2.2 เท่า หรือราว -0.5SD

 

SAWAD (ราคาทางพื้นฐาน 55.0 บาท) 

- คาดกำไรงวด 3Q65 จะเติบโต QoQ แข็งแกร่งและดีต่อเนื่อง  โดยปัจจัยหนุนจาก Farm income ทรงตัวสูง และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

- คาด NPL จะยังไม่ปรับขึ้นในช่วงสั้นๆ 3-6 เดือน

- กลุ่มการเงินต่างชาติยังถือในสัดส่วนที่น้อย

- Valuation ถูกสุด โดย PER ปี 65 อยู่ที่16 เท่าเทียบกับคู่แข่งอย่าง MTC และ TIDLOR ที่ 17 เท่า และ 20 เท่าตามลำดับ

 

AWC  (ราคาทางพื้นฐาน 6.45 บาท) 

- คาด ADR ปี 66 จะสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดในปี 62 อีก 2% จากการฟื้นตัวของ ADR ในปี 65

- สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง AWC ประกาศหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (IBD) ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นงวด 2Q65 ที่ 0.6 เท่า ต่ำที่สุดในกลุ่มโรงแรม

- ศูนย์ฯสิริกิติ์ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ก.ย. รองรับงานไมซ์และอีเวนต์ได้ 100% และงานเอเปค 2022  จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ย.เป็นปัจจัยหนุนโรงแรมที่เน้นธุรกิจ MICE อย่าง AWC

 

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

- 19 ก.ย. :  การประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 3 และ 6 เดือนของสหรัฐ 

- 20 ก.ย. : ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานแห่งชาติของญี่ปุ่น (ปีต่อปี) ( ส.ค.) ตลาดคาด 2.4% YoY, รายงานการประชุมนโยบายการเงินออสเตรเลีย, รายงานจำนวนใบอนุญาตก่อสร้าง (ส.ค.) ตลาดคาด   1.61 ล้านหลัง, รายงานจาก Redbook (ปีต่อปี) ของสหรัฐ

- 21 ก.ย. : การประมูลพันธบัตรอายุ 20 ปีสหรัฐ, รายงานสินค้าคงเหลือของน้ำมันดิบประจำไตรมาสจาก API, ยอดขายบ้านมือสอง (Existing Home Sales) (ส.ค.) ของสหรัฐ ตลาดคาด 4.62  ล้านหลัง 

- 22 ก.ย. :  การประชุม Fed และ Dotplot, การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่น, จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก

- 23 ก.ย. : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต (ก.ย.) ของสหรัฐ ตลาดคาด 52.0 จุด