Sideways Down ซื้อเก็งกำไร BANPU TLI SYNEX

Sideways Down ซื้อเก็งกำไร BANPU TLI SYNEX

คาดดัชนีฯ Sideways Down แนวต้าน 1,650 / 1,660 จุด แนวรับ 1,633 จุด (EMA 25 วัน) / 1,628 จุด แนะนำ ซื้อเก็งกำไร BANPU TLI SYNEX ทางเทคนิค ดัชนีฯ มีโอกาสปรับตัวลดลง หลังจากดัชนีฯ วานนี้ ร่วงหลุดแนวรับ 1,646 จุด (EMA 10 วัน)

โมเมนตัมลบ คือ การกังวลต่อเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผลต่อการชะลอลงทุน Equities ไฮไลท์วันนี้ คือ China รายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเดือน ส.ค. อาทิ ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาค อุตสาหกรรม การลงทุนสินทรัพย์ถาวร, EU รายงาน CPI เดือน ส.ค. คาด +9.1% YoY, USA ดัชนีความเชื่อมั่น โดยม.มิชิแกน เดือน ก.ย. การรีบาลานซ์ดัชนี FTSE Index มีผลต่อราคาปิดวันนี้

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ BH GULF CRC JMART TCAP JMT CENTEL BEM AOT EA WHA CPN MINT KTB BDMS FORTH (ซื้อ PTG)

+ Daily Recommendations: BANPU (ราคาถ่านหินมีแนวโน้ม New High จาก อุปสงค์ที่เร่งตัวขึ้น เพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่มีราคาสูงในการผลิตกระแสไฟฟ้าในยุโรป) TLI (รับประโยชน์จาก Bond Yield ที่ปรับตัวสูงขึ้น) SYNEX (Sentiment เชิงบวก จากการส่งมอบ iPhone 14 เป็นวันแรก)

+ หุ้นที่ได้ประโยชน์แนวโน้ม Bond Yield ปรับตัวสูง: BBL KBANK TIPH TLI

+ หุ้นที่ได้รับผลบวก จากการเริ่มขาย iPhone 14 เป็นวันแรก: COM7 SYNEX SPVI CPW

+ หุ้นที่ได้อานิสงส์ จากราคาถ่านหินโลกพุ่งสูงขึ้น: BANPU LANNA AGE

+ หุ้นที่มีโอกาสเข้าคำนวณ SET50 จากการปรับเกณฑ์ Turnover Ratio: DELTA BJC

 

ปัจจัยบวก

+ USA: Michigan Consumer Sentiment เดือน ก.ย. อาจเป็นโมเมนตัมบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ คืนนี้ อิงคาดการณ์ 1. Inflation Expectations เดือน ก.ย. คาดปรับลดลงต่อเนื่อง (ตลาดคาด 4.7% Vs เดือน ส.ค. 4.8%) ขณะที่ Inflation Expectation 5 ปี คาดคงเดิมที่ 2.9% 2. Consumer Sentiment คาดปรับตัวดีขึ้นเป็น 60 (Vs เดือน ส.ค. 58.2) สะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่เกิดภาวะถดถอย

 

 

ปัจจัยลบ

- China: รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ส.ค. วันนี้ ตลาดคาดว่าผลกระทบจากการออกมาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ในบางเมืองใหญ่ของจีน จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสินทรัพย์ถาวร อาทิ ราคาบ้าน การลงทุนสินทรัพย์ถาวร ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วนยอดค้าปลีกคาดฟื้นตัวเล็กน้อย จากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ บางเมืองใหญ่

- EU: เงินเฟ้อเดือน ส.ค. คาด +9.1% YoY (Vs เดือน ก.ค. 8.9% YoY) จากแนวโน้มการพุ่งขึ้นของราคาพลังงาน หลังรัสเซียหยุดส่งก๊าซผ่านท่อ Nordstream 1 ขณะที่ ECB มีแนวโน้มเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 0.5-0.75% ในการประชุมอีก 2 ครั้งที่เหลือของปีนี้ ส่งผลให้ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจยูโรจะเข้าสู่ภาวะ Recession ในปี 2023

 

ประเด็นสำคัญ

- Opportunity Day: HFT MENA FVC

- China: รายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเดือน ส.ค. อาทิ ยอดค้าปลีก คาด +3.5% YoY (เดือน ก.ค. +2.7% YoY) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม คาด +3.8% YoY (Vs เดือน ก.ค. +3.8% YoY) การลงทุนสินทรัพย์ถาวร คาด +5.5% YoY (Vs เดือน ก.ค. +5.7% YoY) ราคาบ้านเดือน ส.ค. คาด -1.2% YoY (Vs เดือน ก.ค. -0.9% YoY)

- EU: รายงาน CPI เดือน ส.ค. คาด +9.1% YoY, +0.5% MoM (Vs เดือน ก.ค. +8.9% YoY, +0.1% MoM) Core Inflation เดือน ส.ค. คาด +4.3% YoY (Vs เดือน ก.ค. +4% YoY)

- USA: Michigan Consumer Sentiment เดือน ก.ย. Prel. คาด 60 (Vs 58.2) Inflation Expectation 1 ปี คาด 4.7% (Vs เดือน ส.ค. 4.8%)

- FTSE Rebalance Index มีผลต่อราคาปิดวันนี้ คาดไทยถูกลดน้ำหนัก -USD73mn (SCC PTT CPALL AOT BDMS KBANK ADVANC PTTEP GULF CPN SCB) แต่เพิ่มน้ำหนัก BH (USD35mn)

 

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา
 

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบต่อเนื่องเป็นวันที่ 2: ตลาดหุ้นไทยทำจุดสูงสุดของวันที่ 1,661.04 จุด +4.46 จุด ในช่วงเปิดตลาดภาคเช้า ก่อนปรับตัวลดลงตลอดช่วงที่เหลือของการซื้อขาย และมาปิดตลาดที่ 1,642.33 จุด -14.25 จุด วอลุ่มซื้อขาย 7.3 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -5.1% อาหารและเครื่องดื่ม -1.44% ธนาคาร -1.35% วัสดุก่อสร้าง -1.2% ธุรกิจการเกษตร -0.96% หุ้นบวก >4% BYD PSG ACE BRR BANPU-W5 SUSCO U NFC TCMC VL หุ้นลบ >4% DELTA MINT CH GUNKUL AH DITTO ALL SHR KWI

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ ส่วนหุ้นยุโรปปิดคละ: DJIA -0.56% S&P500 -1.13% NASDAQ -1.43% หลังจากตัวเลข Retail Sale เดือน ส.ค. ออกมาดีกว่าคาดที่ +0.3% MoM (Vs คำด +0.0% MoM) ขณะที่ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่ำกว่าคาดที่ 2.13 แสนคน (Vs คาดที่ 2.26 แสนคน) เน้นย้ำความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.75% ในการประชุม FOMC สัปดาห์หน้า ขณะที่หุ้นยุโรปปิดคละ CAC40 -1.04% DAX -0.55% FTSE +0.07% นำลงโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มเทคฯ จากความกังวลต่อการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เร่งตัวขึ้น หลังจากประธานาธิบดีรัสเซียและจีนได้พบปะกันในงานประชุมสุดยอดผู้นำ SCO

- ราคาน้ำมันดิบและทองคำปิดลบ: WTI -USD3.38 ปิดที่ USD85.10/บาร์เรล Brent -USD3.26 ปิดที่ USD90.84/บาร์เรล กังวลอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกปรับลดลง จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางโลก และค่าเงิน USD ที่แข็งค่าต่อเนื่อง ส่วนราคาทองคำ -USD31.80 ปิดที่ USD1,677.30/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดรอบ 2 ปี จากค่าเงิน USD ที่แข็งค่าขึ้น

 

ประเด็นสำคัญ

- USA: กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน ส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากลดลง 0.4% ในเดือน ก.ค. สูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกทรงตัวในเดือน ส.ค. หรือเพิ่มขึ้น 0.0% โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวลงของราคาพลังงาน ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเพิ่มการใช้จ่าย

- USA: เฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ร่วงลงสู่ระดับ -9.9 ในเดือน ก.ย. จากระดับ +6.2 ในเดือน ส.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ +2.8 จากผลกระทบจากการชะลอตัวของการจ้างงานและคำสั่งซื้อใหม่

- USA: เฟด สาขาแอตแลนตา เผยตัวเลข GDPNow คาดการณ์ 3Q22E US GDP ที่ +0.5% MoM ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนหน้าที่ +1.3% MoM

+ Thailand: ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชี้หากปีนี้สามารถผลักดันยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ได้ 10 ล้านคน สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 6 ล้านคน จะช่วยให้ GDP ของไทย ยังคงรักษาระดับอยู่ที่ 3.1% หรือในกรอบ 2.7-3.5%

+ China: ธนาคารกลางจีน ประกาศอัดฉีดเงินกว่า 2 แสนล้านหยวน (2.87 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในโครงการปล่อยเงินกู้ใหม่ (Relending Program) เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นมาตรการล่าสุดที่ทางการจีนนำมาใช้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: BJC CENTEL SAWAD

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: BANPU TLI SYNEX

Derivatives: แนะรอเปิด Short เมื่อดีดตัว