7 ความลับ 'โซเดียม' ที่หลายคนอาจ 'ยังไม่รู้'

"โซเดียม" ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และบางครั้งเราอาจได้รับมันเข้ามามากเกินไป โดยที่เราไม่รู้เลยว่ามาจากที่ไหนบ้าง
7 ข้อดังต่อไปนี้ คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ “รู้ทัน” ก่อนจะ “สะสมโซเดียมเกิน” โดยไม่ตั้งใจ
1. จำเป็นต่อร่างกาย แต่ใช้แค่นิดเดียว
ร่างกายต้องการโซเดียมเฉลี่ยเพียง 400 – 1475 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อช่วยควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ และช่วยการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ แต่คนส่วนใหญ่กินเกิน 2-3 เท่าต่อวัน ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพ WHO แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
2. เกลือไม่ใช่แหล่งเดียวของโซเดียม
โซเดียม ในอาหารไม่ได้มาจากเกลืออย่างเดียว แต่ยังมีในผงชูรส (MSG), โซเดียมไนเตรทในเนื้อแปรรูป และแม้กระทั่งยาบางชนิด ดังนั้นควรตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารอย่างระมัดระวัง
3. ซ่อนอยู่ในอาหารหวาน
ขนมปัง ซีเรียล หรือเค้กบางชนิดมีโซเดียมสูงจากผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) แม้จะไม่รู้สึกเค็ม แต่ปริมาณโซเดียมอาจสูงเกินคาด ควรตรวจสอบฉลากโภชนาการก่อนบริโภค
4. น้ำจิ้มตัวร้ายโซเดียมสูง
ภายใต้ความอร่อยของ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว หรือเกลือ มีการรวมตัวของ โซเดียม ที่สูงมาก การปรุงรสอาหารด้วยเครื่องปรุงเหล่านี้อย่างพอดีจะช่วยควบคุมปริมาณโซเดียมได้
5. หน้าบวมตอนเช้า ไม่ใช่อ้วนเพราะกินเยอะ
มื้อเย็นที่มีโซเดียมสูง เช่น ปิ้งย่าง สุกี้ ชาบู หมูกระทะ ทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำ ส่งผลให้ตื่นเช้ามามีอาการหน้าบวม ไม่ใช่การอ้วนขึ้น แต่เป็นผลจากการสะสมโซเดียม
6. อาหารแปรรูป: โซเดียมทวีคูณจากอาหารสด
โซเดียม ถูกใช้เป็นสารถนอมอาหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่เนื้อเค็ม ไส้กรอก จนถึงอาหารแปรรูปสมัยใหม่ ซึ่งมีปริมาณโซเดียมสูงเกินความจำเป็นต่อร่างกาย
7. ซุปสำเร็จรูปโซเดียมพุ่ง
ซุปก้อนหรือน้ำซุปก้อนสำเร็จรูป 1 ซองเล็ก อาจมีโซเดียมสูงถึง 1,000-2,500 มก. เนื่องจากมีทั้งเกลือและผงปรุงรส แม้รสชาติจะไม่จัดจ้าน แต่ปริมาณโซเดียมอาจเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ
กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส. เพิ่มเติมได้ที่ :
Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.
Line : @thaihealththailand
Tiktok: @thaihealth
Youtube: SocialMarketingTH
Website : Social Marketing Thaihealth