GameFi กับผลตอบแทนที่ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่

GameFi กับผลตอบแทนที่ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่

ดูเหมือนว่ากระแสการเติบโตของ GameFi หรือการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาผสมกับอุตสาหกรรมเกมที่ก่อให้เกิดรูปแบบ “Play-to-Earn” นั้นยังคงเติบโตอย่างร้อนแรง การเล่นเกมและสามารถรับรางวัลเป็นโทเคน (Token)

ซึ่งสามารถนำไปแลกเป็นเงินได้นั้นยังคงดึงดูดผู้เล่นทั้งในกลุ่มที่ชื่นชอบการเล่นเกมอยู่แล้ว และกลุ่มที่ต้องการหารายได้เสริมได้ในอัตราที่สูง อย่างไรก็ตามยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยว่าแท้จริงแล้วผลตอบแทนดังกล่าวนั้นเข้าข่ายการเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่ เนื่องจากมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเองระหว่างผู้เล่น และอาศัยผู้เล่นที่เข้ามาใหม่เรื่อยๆ ผลักดันให้รายได้สูงขึ้นเรื่อยๆ

หากเราสนใจเข้าในเรื่องของสกุลเงินดิจิทัลพื้นฐานและเรื่องของ Non-Fungible Token หรือที่เรียกกันว่า NFT นั้นเราจะพบว่ามันแตกต่างกันอย่างมาก จริงๆ แล้วต้องบอกว่าแชร์ลูกโซ่เสียมากกว่าที่พยายามหลอกลวงด้วยการทำหน้าตาและไอเดียให้เหมือนการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น นำเสนอการลงทุนฟาร์มปศุสัตว์หรือซื้อขายวัวออนไลน์

หลายๆ ท่านอาจยังสงสัยว่าผลตอบแทนของ Play-to-Earn นั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร เพื่อความง่ายขอยกเว้นความเป็นดิจิทัลออกไปก่อน ขอยกตัวอย่างการสะสมการ์ดนักฟุตบอลหรือโมเดลของเล่นต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าการที่เราเป็นเจ้าของการ์ดฟุตบอลเหล่านี้เราเอาไปฝากธนาคารหาดอกเบี้ยไม่ได้เอาไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกู้ยืมไม่ได้เอาไปปล่อยให้คนอื่นเช่าเพื่อรับผลตอบแทนไม่ได้รวมถึงเราไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธ์เหล่านี้แต่อย่างใด แต่การ์ดนักฟุตบอล หรือของสะสมเหล่านี้ก็ยังคงมีราคาและการซื้อขายในวงของนักสะสมอย่างต่อเนื่อง การ์ดบางชิ้นเมื่อเวลาผ่านไปมูลค่าจะยิ่งสูงขึ้นเสียด้วยซ้ำ..และสำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามแวดวงฟุตบอลจะการ์ดเหล่านี้จะมีมูลค่าไม่แตกต่างจากกระดาษธรรมดา ซึ่งไม่ต่างจากเรื่องของ NFT ต่างๆ เหล่านี้ โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้เรามั่นใจว่าของที่เราซื้อมานั้นเป็นของแท้แน่นอน แตกต่างจากการหาซื้อสินทรัพย์ที่จับต้องได้เสียด้วยซ้ำ

แล้วการ์ดนักฟุตบอลหรือของสะสมเหล่านี้มีมูลค่าเพราะเหตุใด..ปัจจัยหลักๆได้แก่ 1.ความหายากแน่นอนว่าของใดๆก็ตามยิ่งหายากของย่อมมีราคาแพง  2.ความนิยมในทำนองเดียวกันยิ่งเป็นที่นิยมมากก็จะทำให้ราคาสูงขึ้นมากและ 3. เรื่องของอรรถประโยชน์ซึ่งไม่ได้มาในรูปของผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวความพึงพอใจในการครอบครอง หรือความสะดวกสบายในการทำอะไรซักอย่างหนึ่ง ก็นับเป็นอรรถประโยชน์ในรูปแบบหนึ่งได้เช่นกัน ดังนั้นหากเราตัดสินใจซื้อการ์ดนักฟุตบอลซักใบหนึ่งเราก็คงคาดว่าราคาจะสูงขึ้นจากความหายากหรือไม่การ์ดนั้นก็อาจจะให้อรรถประโยชน์และมูลค่าทางใจที่เราได้ครอบครองแน่นอนว่าเราไม่สามารถไปทำซ้ำหรือไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธ์ของนักฟุตบอลนั้นๆแต่อย่างใด(เราเป็นเจ้าของการ์ดเราไม่ได้เป็นเข้าของลิขสิทธิ์)

แท้จริงแล้วการลงทุนในของสะสมต่างๆ เหล่านี้นั้นนอกเหนือไปจากมูลค่าทางจิตใจ เราอาจกำลังทำสิ่งที่เรารู้จักกันมาช้านานในโลกการเงินในรูปแบบเก่านั้น คือการเก็งกำไรซึ่งของทุกอย่างในโลกนี้สามารถเก็งกำไรได้ทั้งนั้น ถ้ามีการเคลื่อนไหวของราคาและการเก็งกำไรนั้นไม่ใช่เรื่องผิดตราบใดที่เราเข้าใจว่าเรากำลังเก็งกำไรในสินทรัพย์อะไรและอุปสงค์อุปทานนั้นเกิดจากอะไรบ้างรวมถึงเข้าใจความเสี่ยงเป็นอย่างดีจะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่ก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ

แล้วเรามีโอกาสขาดทุนจากการเก็งกำไรดังกล่าวหรือไม่แน่นอนว่ามีเช่นหากอยู่ดีๆการ์ดเกิดหมดความนิยมขึ้นมา ซึ่งGameFi กับเกม Play-to-Earn ต่างๆ ก็มีความเสี่ยงในส่วนนี้ที่อยู่ที่ผู้เล่นจำเป็นจะต้องเข้าใจEcosystemระบบการตอบแทนผู้เล่นและความนิยมต่างๆ …อาจจะให้มองว่าเป็นการลงทุนการเก็งกำไรที่อาศัยระบบเอนเตอร์เทนต์เป็นตัวขับเคลื่อนแทนที่จะต้องมานั่งวิเคราะห์งบการเงินติดตามว่านโยบายดอกเบี้ยจะเป็นไปในลักษณะใดเป็นต้นซึ่งแน่นอนว่าสนุกน้อยกว่า เปลี่ยนเป็นการทำความเข้าใจ เรื่องของความต้องการสินทรัพย์ดิจิทัลในเกมส์ เช่น ตัวละคร หรือ อุปกรณ์ในเกมส์

การค้นหาวิธีการได้รับ Reward Token หรือ รางวัลที่ได้รับเมื่อบรรลุจุดประสงค์หรือทำเงื่อนไขสำเร็จ ซึ่งสามารถนำไปซื้อตัวละครเพิ่ม นำไปฝากเพื่อรับผลตอบแทน หรือนำไปขายหรือแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่นได้ และการมีส่วนต่อ Governance Token เปรียบเสมือนหุ้นที่ทำให้ผู้ถือมีส่วนต่อการกำหนดทิศทางของเกมในอนาคตได้ การจ่ายเงินซื้อไอเทมในเกมส์ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในสมัยก่อนบางเกมส์มีการตั้งกระดานประมูลในเกมส์ (Auction House) หรือให้ผู้เล่นตั้งร้านค้าขายในเกมส์ เพื่อให้ผู้เล่นเอาอุปกรณ์มาขายเป็นเงินสดโดยตรง หรือซื้อขายเงินในเกมส์ด้วยซ้ำ การมาถึงของเทคโนโลยีบล็อกเชนเพียงแต่ทำให้เรื่องของการซื้อขายง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่สามารถทุจริตได้

ส่วนแชร์ลูกโซ่ไม่มีพื้นฐานใดๆ ในการเก็งกำไรหรืออรรถประโยชน์ใดๆ ทั้งนั้น นอกเหนือไปจากหลอกลวงให้มีการลงทุนเป็นทอดๆ และหลอกล่อด้วยผลตอบแทนที่สูงก่อนที่จะสูญเสียเงินต้นไปในท้ายที่สุด ท้ายนี้..ท่านผู้อ่านน่าจะเริ่มเห็นภาพว่าGameFiกับแชร์ลูกโซ่นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงโดยเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอนก่อนจะตัดสินใจทำอะไรก็ตามการจะสร้างผลตอบแทนในอะไรซักอย่างจำเป็นจะต้องเข้าใจให้ดีว่าเรากำลังลงทุนในอะไรและความเสี่ยงคืออะไร การลงทุนไม่เคยเป็นเรื่องง่ายไม่ว่าจะสินทรัพย์ใดๆก็ตามซึ่งแชร์ลูกโซ่หรือการลองลวงลงทุนเลี้ยงวัวเลี้ยงแกะออนไลน์ต่างๆนั้นเบื้องหน้าอาจจะพยายามทำหน้ากากให้เหมือน GameFiแต่หากเราเข้าใจได้ดีว่ากำลังทำอะไรอยู่เราจะสามารถแยกสองรูปแบบนี้ออกจากกันได้อย่างไม่ยากครับ..