เมื่อผู้ซื้อสวมหมวก​ “ผู้จัดสรรที่ดิน”(1)

เมื่อผู้ซื้อสวมหมวก​ “ผู้จัดสรรที่ดิน”(1)

ภายใต้บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดสรรที่ดิน​ 2543​ และแก้ไขเพิ่มเติม​ 2558 กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

ระหว่างผู้ซื้อที่ดินจัดสรร​ และผู้จัดสรรที่ดินอย่างชัดเจน​ ได้แก่​ ผู้ซื้อมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน​-สิ่งปลูกสร้าง​

ทั้งการชำระค่าที่ดิน​ สิ่งปลูกสร้าง​ การตรวจรับทรัพย์สินก่อนการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์​ การชำระค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิ์​ ค่าส่วนกลาง​ หรือบริการสาธารณะ​ การปฏิบัติตามระเบียบการใช้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภค​ และบริการสาธารณะเมื่อเข้าใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน​หรือการเข้าร่วมประชุมสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเมื่อถึงคราวจดทะเบียน​ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน​ หรือการประชุมปรึกษา​ หารือเรื่องที่เกี่ยวข้อง​ตามความจำเป็น​ เหมาะสม​ เป็นต้น​ 

สำหรับผู้จัดสรรที่ดิน​ การซ่อมแซมบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ชำรุด​บกพร่อง ​ทั้งเอกสารหลักฐาน และสถานที่​แก่ผู้ซื้อ​ เมื่อประสงค์จดทะเบียน​ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือจัดทำบัญชีรายรับ​-​รายจ่าย​ มอบค่าบริการสาธารณะ​ มอบค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค​และค่าบริการสาธารณะ​ คงเหลือ (ถ้ามี)​ เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจดทะเบียน​ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น​ เป็นต้น​ ซึ่งโครงการจัดสรรที่ดิน​ ทั่วประเทศ” ไม่ว่าขนาดเล็ก​ กลาง​ และใหญ่​ ล้วนปฏิบัติดังเช่นที่กล่าวข้างต้นทั้งสิ้น​ โดยเฉพาะการบริการสาธารณะ​และบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน​ และตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน

ในทางกลับกัน​ หาก​ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ตกลง​รับเงื่อนไขการบริหารโครงการจัดสรรที่ดินแทน​ ผู้จัดสรร​ที่ดิน ทั้งการบริการสาธารณะ​และการซ่อมแซมบำรุงรักษาสาธารณูปโภค สามารถกระทำได้ หรือไม่​ขัด​แย้งข้อกำหนดการขออนุญาตจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน​หรือไม่?

ติดตาม​ศึกษา บทความ ผู้เขียนครับ

โครงการจัดสรรที่ดิน​ในพื้นที่ท่องเที่ยวใหญ่ของไทยชื่อ​ “ ได้รับอนุญาตให้มีสาธารณูปโภค​และบริการสาธารณะตามที่ได้รับอนุญาต​ จัดเก็บค่าส่วนกลาง​ หรือค่าบริการสาธารณะ ต่อมา​เมื่อปี 2554 ผู้จัดสรรที่ดินเเจ้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบไม่อาจแบกรับภาระค่าใช้จ่ายการบริหารโครงการส่วนที่ขาดทุน​ จึงแสดงความประสงค์ขอโอนหน้าที่การบริหารโครงการ​ โดยมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร​หรือคณะตัวแทนชุมชนของโครงการจัดสรรที่ดิน​ ผู้จัดสรรที่ดินตกลงทำสัญญาส่งมอบสาธารณูปโภคส่วนกลาง​กับตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร​ เมื่อ ม.ค.2555 สรุปความสำคัญ​ของสัญญา โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

1.เจ้าของโครงการ ตกลงส่งมอบงานบริหารจัดการด้านบริการสาธารณะของโครงการจัดสรรที่ดิน​  ให้แก่​ ตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร” และ​ ตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ตกลงรับมอบงานบริหารจัดการด้านบริการสาธารณะจาก เจ้าของโครงการ” นับแต่วันที่​ 1 ก.พ.2555 เป็นต้นไป

2.เจ้าของโครงการ ตกลงมอบทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน​ ตามรายการแนบท้าย 1 โดย​ เจ้าของโครงการ ยินยอมมอบสิทธิครอบครองให้แก่สมาชิกโครงการ​ ก​ ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และหาก​ ตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร พร้อมจะทำการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน​ เจ้าของโครงการ ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่​ ตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ทั้งนี้​ค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิ์​ ตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร เป็นผู้ชำระทั้งสิ้น

3.เจ้าของโครงการ ตกลงสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการด้านบริการสาธารณะ​ โดยจะมอบเงินกองทุน​ จำนวน​ 2​ ล้านบาท​ สำหรับการขยายเขตบริการน้ำประปา​ พร้อมเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหารงานต่างๆ​ ในด้านบริการสาธารณะอีก​ 1​ ล้านบาท​ พร้อมเงินค่าบริการสาธารณะที่สมาชิกชำระล่วงหน้ามาแล้ว 127,278บาท​ รวมทั้งสิ้น​ 3,127,278​ บาท​ โดย​ ตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวในวันทำสัญญานี้เรียบร้อยแล้ว

4.เจ้าของโครงการ ตกลงจะชำระภาษีโรงเรือน​ ภาษีบำรุงท้องที่​ เเละภาษีป้ายตามระเบียบราชการจนกว่า​ “ตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จะจัดตั้ง​ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร​ ตามกฎหมายเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินต่อจาก​ เจ้าของโครงการ

5.ตัวแทนผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ตกลงที่จะดูแลบริหารจัดการด้านบริการสาธารณะภายในโครงการจัดสรรที่ดิน​ ก​ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย​ มีทัศนียภาพสวยงามด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองทั้งสิ้น

โดย...

พิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย 

“ที่ปรึกษา” ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ

[email protected]