งบโฆษณา 2 เดือนแรก ยังไม่ฟื้นตัว เงินสะพัด 15,763 ล. ติดลบ 10%

งบโฆษณา 2 เดือนแรก ยังไม่ฟื้นตัว เงินสะพัด 15,763 ล. ติดลบ 10%

แม้จะเข้าสู่หน้าร้อน ไฮซีซั่นสินค้าหลายรายการ โดยเฉพาะหมวดเครื่องดื่ม แต่ภาพรวมแบรนด์ยังคงแตะเบรกใช้จ่ายงบโฆษณา จนฉุดให้ 2 เดือนแรก "ติดลบ" 10%

นีลเส็นรายงานภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาช่วง 2 เดือนแรก(ม.ค.-ก.พ.66) ยังออกตัวติดลบ 10% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเม็ดเงินสะพัด 15,763 ล้านบาท หากดูเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ 2566 แบรนด์เปย์งบรวมยมูลค่า 8,161 ล้านบาท ลดลง 8% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

สื่อโฆษณาที่ติดลบ ได้แก่

  • สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ “ติดลบ” หนักสุด 76% มีมูลค่า 120 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อ
  • ทีวี 4,202 ล้านบาท ติดลบ 12%
  • สื่อสิ่งพิมพ์ 184 ล้านบาท ติดลบ 10%
  • สื่อในห้าง 58 ล้านบาท ติดลบ 3%

สื่อโฆษณาที่เป็นบวก ได้แก่

  • สื่อโฆษณานอกบ้านและสื่อเคลื่อนที่มูลค่า 1,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25%
  • วิทยุ 246 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14%

 

 

ส่วนสื่ออินเตอร์เน็ตยังเป็นมูลค่า 2,168 ล้านบาท แต่ภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ จะเติบโตมากน้อยแค่ไหน สัปดาห์หน้า สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) จะเป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก

แม้กุมภาพันธ์ จะเริ่มเข้าฤดูร้อน ซึ่งเป็นไฮซีซั่นของตลาดสินค้าเครื่องดื่ม แต่การใช้จ่ายเงินของแบรนด์ในหมวดดังกล่าว ยังแตะเบรก! เช่นกัน

งบโฆษณา 2 เดือนแรก ยังไม่ฟื้นตัว เงินสะพัด 15,763 ล. ติดลบ 10%

 

สำรวจหมวดสำคัญๆ สถานการณ์จับจ่ายเงินเพื่อโฆษณา เป็นดังนี้

  • สินค้าเครื่องใช้ส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง 2,057 ล้านบาท ลดลง 14%
  • เครื่องดื่มและอาหาร มูลค่า 2,010 ล้านบาท ลดลง 26%
  • สื่อและการตลาด หรือทีวีโฮมชอปปิงต่างๆ 874 ล้านบาท ลดลง 13%
  • ยานยนต์ 587 ล้านบาท ลดลง 38%
  • การเงิน 537 ล้านบาท ลดลง 4%
  • โทรคมนาคมและการสื่อสาร 405 ล้านบาท ลดลง 28%
  • ภาครัฐ 351 ล้านบาท ลดลง 31% เป็นต้น

งบโฆษณา 2 เดือนแรก ยังไม่ฟื้นตัว เงินสะพัด 15,763 ล. ติดลบ 10%

 

ส่วนที่ใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นมีเพียง 3 หมวดสินค้าเท่านั้น ได้แก่

  • ห้างค้าปลีกและร้านอาหาร 1,812 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1%
  • อสังหาริมทรัพย์ 156 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%
  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ 91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 146%

 

บิ๊กคอร์ปที่ใช้จ่ายงบโฆษณาสูงสุด 10 อันดับ เป็นดังนี้

  • บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ทำตลาดซัลซิล บรีส ฯ ใช้เงินมูลค่า 265 ล้านบาท
  • บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ทำตลาดแพนทีน เฮดแอนด์โชว์เดอร์ฯ เปย์งบมูลค่า 188 ล้านบาท
  • บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จํากัด มีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอ เช่น นีเวีย ยูเซอริน ฯ ใช้งบ 162 ล้านบาท
  • บริษัทจีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้งจำกัด ใช้งบ 134 ล้านบาท
  • บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ใช้งบ 124 ล้านบาท
  • บริษัท โมโนช้อปปิ้ง จำกัด ใช้งบ 113 ล้านบาท
  • บริษัท ลาซาด้า จำกัด ใช้งบ 106 ล้านบาท
  • บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ใช้งบ 94 ล้านบาท
  • บริษัท แมส มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ทำตลาดยาสีฟันเทพไทย โอเค เฮอร์เบิล ฯ ใช้งบ 90 ล้านบาท
  • บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่ เบเวอเรจ (ประเทศไทย)จำกัด ใช้งบ 88 ล้านบาท