‘ฮาคูโฮโด’ เผยคนไทยพร้อมฉลองปีใหม่เต็มที่ เตรียมชอปปิงสูงสุดรอบ 2 ปี

‘ฮาคูโฮโด’ เผยคนไทยพร้อมฉลองปีใหม่เต็มที่ เตรียมชอปปิงสูงสุดรอบ 2 ปี

เรื่องงานพักก่อน! ได้เวลาใช้จ่ายแล้ว ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคล่าสุดจาก ‘ฮาคูโฮโด’ สะท้อนภาพคนไทยพร้อมมูฟออนจากโควิดสิ้นปีนี้เตรียมฉลองปีใหม่เต็มที่ และจะกลับมาจับจ่ายซื้อสินค้า ของขวัญ สูงสุดในรอบ 2 ปี

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เผยผลสำรวจแนวโน้มพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 พบคนไทยมีแนวโน้มในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยต้องการใช้จ่ายแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี และความสุขยังเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบหลายเดือนที่ผ่านมา สะท้อนภาพมูฟออนจากโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ คนไทยมุ่งเน้นการเฉลิมฉลองเต็มที่ เตรียมตัว “จับจ่ายใช้สอย” เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองและครอบครัว ทั้งเสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ “สินค้าฟุ่มเฟือย” เพื่อเป็น “ของขวัญ” รวมถึงอาาร สำหรับงานเลี้ยงสังสรรค์ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

ปลายปี จนถึงช่วงปีใหม่ยังเป็นห้วงเวลาแห่งการเดินทาง ทำให้ผู้บริโภคเตรียมเงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับ “ค่าเดินทาง” กลับภูมิลำเนาไปหาครอบครัว ซึ่งภาพการเตรียมพร้อม “ควักเงินในกระเป๋า” สะท้อนโมเมนตัมบวกสำหรับแบรนด์อย่างดี

ธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ และ สิตาพัชญ์ รุจิธันยพัชร์ เจ้าหน้าที่วางแผนกลยุทธ์อาวุโส บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้ข้อมูลเชิงลึกถึงความต้องการในการใช้จ่ายของคนไทยในเชิง มี 4 ประเด็นน่าสนใจ ดังนี้

1.แนวโน้มการใช้จ่ายสูงทำลายสถิติในรอบ 2 ปี ที่ 69% โดยเฉพาะสินค้าที่ตอบสนองด้านอารมณ์หรืออีโมชั่นนอล แรงส่งเกิดจากการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก ปลายปีมีเทศกาลต่างๆ และฝั่งแบรนด์สินค้าและบริการโหมโปรโมชั่นปลุกมู้ดใช้จ่าย ทำให้ให้คนไทยอยาก ‘ปลดล็อก’ จากพันธนาการความกังวลทั้งปวง

สำหรับสินค้าที่จะได้รับอานิสงส์ คือการหาของขวัญให้ครอบครัว จับฉลากปีใหม่ พบปะสังสรรค์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ใหม่ เสื้อผ้าคอลเล็คชั่นใหม่ร้านอาหารเปิดใหม่ที่ต้องไปลอง รวมถึงรถใหม่ป้ายแดงด้วย

2.คนไทยมีความสุขเพิ่มขึ้น 1% โดยเฉพาะสาวๆสุขขึ้นอีก 2% เพราะการได้กลับมาเดินทางท่องเที่ยวอีกครั้ง ปลายปียังมี “โบนัส” ให้ดีใจ จึงส่งผลต่อสภาพจิตใจโดยรวมดีขึ้น

‘ฮาคูโฮโด’ เผยคนไทยพร้อมฉลองปีใหม่เต็มที่ เตรียมชอปปิงสูงสุดรอบ 2 ปี ทั้งนี้ นิยามที่บ่งบอกความรู้สึกของคนไทยในเวลานี้ หนีไม่พ้นการ ‘ไม่มีความสุขน้อยลงไปกว่านี้อีกแล้ว’ และมีความความเชื่อมั่นว่าทิศทางปี 2566 จะมีเรื่องราวดีๆเข้ามาอย่างต่อเนื่องด้วย

3.คนกรุงเทพฯ ตื่นเต้น “วัยรุ่น” เน้นช้อปเพื่อ self-branding ส่วนคน “สูงวัย" เน้นช็อปเพื่อ reconnect เมื่อดูความสุขของคนกรุงเทพฯ กลับมามีคะแนนบวกสูงสุด 7% เพราะเตรียมตัวช้อปของฝาก ส่งเงินให้ที่บ้าน และเดินทาง ท่องเที่ยวที่มากกว่าภาคอื่น

ส่วนคนภาคเหนือความสุขกลับ “ติดลบ” เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM2.5 ค่าตั๋วเครื่องบินที่ปรับราคาสูงขึ้น เกิดการชะลอตัวในการเดินทาง เมื่อดูตามวัยพบว่า วัยรุ่นและวัยทำงานช่วงอายุ 20-39 เน้นการจับจ่ายที่แสดงความเป็นตัวตน รวมถึงไปร่วมกิจกรรมเพื่อทำคอนเทนท์โซเชียลในอีเวนท์เทศกาลต่างๆ ส่วนวัยกลางคนช่วงอายุ 40-59 จับจ่ายเพื่อสานสัมพันธ์ ซื้อของฝาก ของขวัญแก่ลูกหลาน ญาติสนิทมิตรสหาย

4.พักงานไว้ก่อน ได้เวลาคนไทยขอพักกายพักใจอยากเข้าสู่โหมดปีใหม่เต็มที่แล้ว อีกทั้ง “ชีวิตมีค่ามากกว่าเงินทอง” สะท้อน “balance life” แต่ปลายปีก็ยังมีเรื่องให้กังวลใจ โดยเฉพาะความปลอดภัย และยังเป็น “ครั้งแรก” ที่คนไทยให้ความสำคัญประเด็น “ความปลอดภัย” ติดอันดับท็อป 5

“ถึงแม้จะอยากเต็มที่กับความสุข แต่ยังใช้ชีวิตแบบระมัดระวังกับเหตุการณ์รอบตัวด้วย เช่น การเดินทาง การเลือกสถานที่เที่ยว หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เปลี่ยนมุกรายวัน”

‘ฮาคูโฮโด’ เผยคนไทยพร้อมฉลองปีใหม่เต็มที่ เตรียมชอปปิงสูงสุดรอบ 2 ปี เมื่อผู้บริโภคชาวไทยกลับมาจับจ่ายใช้สอยสูงสุดรอบ 2 ปี แนวทางที่แบรนด์ควรทำการตลาดคว้าโอกาสปลุกยอดขาย มีดังนี้

1. ‘เปิด’ เป็นกิมมิคใช้แล้วปัง! เมื่อการจับจ่ายท้ายปีเข้ามา และคนไทยกำลังอินกับการเปิดรับสิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ให้รางวัลกับตัวเองแต่ซื้อเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้อื่นด้วย ทั้งการแสดงความขอบคุณ ความรัก หรือ reconnect กับครอบครัว เพื่อก้าวสู่ปีใหม่ที่ดีกว่าเดิม แบรนด์จึงควรใช้จังหวะนี้กระตุ้นให้คนออกมาเปิดหูเปิดตา ด้วยกิจกรรมใหม่ๆ พร้อมดึง keyword ‘การเปิด’ เพื่อสร้างอารมณ์การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้งในด้านการสื่อสาร (communication) และการสร้างประสบการณ์ร่วม (engagement) เช่น เปิดตู้เสื้อผ้า อัพลุคใหม่ เปิดประตูออกเดินทางไปเที่ยว เปิดลิฟต์เสพบรรยากาศสวยๆบน rooftop

 2.‘ผสมผสาน’ การคือกลยุทธ์การตลาดที่ต้องทำ จะกี่ยุคสมัยการบูรณาการ หรือผสมผสานการทำตลาดยังใช้ได้ผล เมื่อวิกฤติโควิด ทำให้วิถีชิวิตคนไทยเปลี่ยนถาวร ช่องทางจับจ่ายเปลี่ยนไปจากสิ่งที่ไม่เคยทำจนเป็นเรื่องคุ้นเคย แบรนด์ต้องประเมินช่องทางสร้างประสบการณ์กับลูกค้า (touchpoint) ทุกมิติทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์ และจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนรวม (Interaction) ช่องการจำหน่าย (Distribution) และการสื่อสาร (Communication) เป็นลูกผสมกันไปเพื่อปิดรอยรั่วในช่วงลูกค้าที่มีกำลังซื้อที่ไหลเข้ามา เช่น หากปัจจุบันเน้นที่ลูกค้า online เป็นหลัก อาจต้องพิจารณาเพิ่มกิจกรรมการหน้าร้าน (physical) เพื่อตอบสนองลูกค้าที่หันกลับมาเดินชอปปิงกันมากขึ้น