คัมภีร์ ต่อกรธุรกิจหลังวิกฤติโควิด นักการตลาดต้อง “เปิด-ปรับ-เปลี่ยน”

คัมภีร์ ต่อกรธุรกิจหลังวิกฤติโควิด นักการตลาดต้อง “เปิด-ปรับ-เปลี่ยน”

The Game Chager หรือจุดเปลี่ยน ที่จะนำไปสู่การทำธุรกิจการตลาดที่แข็งแรง มีมากมาย ทว่าในงาน Thailand Marketing Day 2022 กูรูการตลาดตกผลึกคัมภีร์ต่อกร ในโลกธุรกิจหลังวิกฤติมากมาย พร้อมเผยเทรนด์ปี 2566 ทั้งเศรษฐกิจ การใช้งบตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค สิ่งต้องระวังเพื่อรับมือ

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จัดงานวันนักการตลาด ภายใต้ธีม “Thailand Marketing Day 2022 : The Game Changer” นำเสนอเรื่องราว กลยุทธ์ กรณีศึกษาการตลาดที่น่าสนใจ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ฉายภาพ 2 ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจ นักการตลาดเผชิญสารพันอุปสรรครุมเร้า ตั้งแต่โควิดระบาด เล่นงานการค้าขายหนักหนาสาหัสมาก ถัดมาสงครามรัสเซีย-ยูเครน เขย่าโลก จุดชนวนให้เกิดความไม่สงบกระจายสู่หลายภูมิภาค

สงครามสร้างความสูญเสียเลวร้าย แต่ซ้ำร้ายด้านธุรกิจคือ “ราคาพลังงานพุ่ง” อาหาร วัตถุดิบการผลิตสินค้าแพง ภาวะ “เงินเฟ้อสูง” มาเยือน ทำให้“ดอกเบี้ย” ปรับตัวสูงขึ้น สุดท้ายลามเศรษฐกิจให้ชะลอตัว

สถานการณ์ต่างๆไร้จุดจบและยากคาดเดา แต่สิ่งที่นักการตลาดรู้ได้คือการเดินหน้าต่อ เรียนรู้ และปรับตัวสู้ สร้างการเติบโตไปด้วยกัน

“The Game Chager สิ่งที่นักการตลาดต้องทำคือ เปิด ปรับ เปลี่ยน เป็นสิ่งสำคัญมาก”

สำหรับ Game Chager หรือจุดเปลี่ยน ที่จะนำไปสู่การทำธุรกิจการตลาดที่แข็งแรง มี 4P ประกอบด้วย 1.Perspective Changer จุดเปลี่ยนการเปิดมุมมอง ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ พลิกความคิด เพื่อพิชิตโลกธุรกิจ 2.Practice Changer จุดเปลี่ยนด้านวิธีการ ออกจากเส้นทางเดิมๆ เริ่มเดินทิศทางใหม่ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด

คัมภีร์ ต่อกรธุรกิจหลังวิกฤติโควิด นักการตลาดต้อง “เปิด-ปรับ-เปลี่ยน” ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ 

3.Platform Changer จุดเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี นักการตลาดต้องทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ว่าอะไรคือสิ่งที่ใช่ อะไรหรือสิ่งที่ต้องระวัง หรืออะไรคือสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนในอนาคตเพื่อเจาะผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย และ4.Planet Changer จุดเปลี่ยนด้านคุณค่าของธุรกิจต่อโลกและสังคม ยุคนี้ผู้บริโภคมองหาแบรนด์ที่มอบคุณค่าที่มากกว่าตัวสินค้า ธุรกิจจึงต้องหาจุดลงตัวของผลกำไรทางธุรกิจและผลลัพธ์เชิงบวกแก่โลก และสังคม

“นักการตลาดเราต้องเปิดมุมมอง ปรับวิสัยทัศน์ เพราะเป็นจุดสูงสุดในการกำหนดทิศทางธุรกิจตั้งแต่วิชั่นองค์กร วิชั่นของแบรนด์ ฯ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติทั้งหลาย ตามด้วยปรับเปลี่ยนกระบวนการให้สอดคล้องกับวิชั่น เพราะสิ่งที่ทำในอดีตไม่ได้บ่งบอกความสำเร็จในอนาคต ในภาวะแบบนี้เทคโนโลยี ดาต้ามีความสำคัญเพื่อนำมาวิเคราะห์ตลาด ผู้บริโภค และการทำตลาดออฟไลน์เชื่อมออนไลน์ ต่อยอดสู่ออมนิชาแนล อนาคตโลกจะมีเว็บ 3.0 เมตาเวิร์ส การใช้ IOT มากขึ้น จึงอยากให้ทุกคนกล้าที่ก้าวเปลี่ยนเพื่อไปสู่การสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้น”

สมาคมการตลาดฯ ยังมองเทรนด์ผู้บริโภคหลังโควิด พบความต้องการ 4C ที่ให้นักการตลาดทำความเข้าใจ ดังนี้ 1.Caring ผู้บริโภคต้องการแบรนด์ที่เสนอทั้ง “ของดี” และ “คิดดี” คือสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ตรงตามใจและมาตรฐาน ขณะเดียวกัน ก็คิดดีต่อโลกและสังคมด้วย 2.Community based แบรนด์ต้องเป็น “เพื่อนที่ดี” ใน “สังคมที่ดี”

คัมภีร์ ต่อกรธุรกิจหลังวิกฤติโควิด นักการตลาดต้อง “เปิด-ปรับ-เปลี่ยน” 3.Connected experiences การเชื่อมต่อกับผู้บริโภคต้อง “สื่อสารดี และ “ประสบการณ์ดี” ทุกช่องทางอย่างไร้รอยต่อทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ ปูทางสู่การตลาด 6.0 ในอนาคต และ 4.Competitive Price & Value สินค้าและบริการ “ราคาดี” และ “คุ้มดี” สำคัญ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน การเงินและสถานการณ์ต่างๆผันผวน อนาคตไม่แน่นอน ลูกค้าจึงมีความระวังในการใช้เงินมากขึ้น

รู้จักเทรนด์ผู้บริโภค นักการตลาดต้องมองกลับมาที่องค์กรด้วp คุณสมบัติ C.A.R.E เป็นสิ่งต้องมีหลังโควิด ได้แก่ Careful การทำธุรกิจต้องมีความมัดระวังทุกๆด้าน คิดให้ลึก คิดให้รอบด้าน คิดให้รอบคอบ เพื่อลดความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ  Authentic เป็นตัวจริง และยืนอยู่ในสนามของตนจริงๆ เพราะผู้บริโภคยุคปัจจุบันรู้ทันแบรนด์ทุกอย่าง จึงต้องมีความชัดเจน โปร่งใส ตั้งใจ และ ทำจริง

Resilience ความยืดหยุ่น ทำให้องค์กรพร้อมปรับตัว และเป็นคุณสมบัติสำคัญเพื่อ “อยู่รอด” ในยุคที่ธุรกิจไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว และ Empathy ทำความเข้าใจภายในองค์กรด้วยหัวใจ เพราะเป็นจุดตั้งต้นของความแข็งแกร่งทุกองค์กร

นอกจากนี้ เทรนด์การตลาดปี 2566 ที่น่าสนใจ ซึ่งสมาคมฯ ได้ทำการสำรวจผู้บริหารการตลาดในองค์กรชั้นนำกว่า 100 แห่งในประเทศไทย โดย ดร.สมชาติ วิศิษฐชัยชาญ อุปนายกฝ่ายองค์ความรู้ด้านการลาด สมาคมการตลาดฯ และ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอุปนายกฝ่ายกิจกรรมการสื่อสาร และการตลาดยั่งยืน สมาคมการตลาดฯ มาร่วมสรุปประเด็น ดังนี้

ผลสำรวจด้านเศรษฐกิจนักการตลาดมองปี 2565 จะเห็นการฟื้นตัว โดย 48% คาดการณ์จีดีพีจะเติบโตราว 5% เมื่อเป็นเช่นนั้น มิติการทำตลาดคึกคักขึ้น ดังนั้น ทำให้วางแผนจะเทงบประมาณเพื่อทำการตลาดสูงขึ้น 5-10%

คัมภีร์ ต่อกรธุรกิจหลังวิกฤติโควิด นักการตลาดต้อง “เปิด-ปรับ-เปลี่ยน” การลงทุนกลับมา เมื่อสำรวจว่าจะเทงบไปยังแพลตฟอร์มใด นักการตลาดยกให้ “อีคอมเมิร์ซ” มาอันดับ 1 ด้วยคะแนน 8.2 ตามด้วย คอนเทนท์คะแนน 7.8 ระบบการชำระเงิน(เพย์เมนท์)คะแนน 7.7 และลงทุนกับภาครัฐติดอันดับ 5 ด้วยคะแนน 6.2

“งบการตลาดปีหน้าจะขึ้นหรือลง นักการตลาดส่วนใหญ่บอกเศรษฐกิจโตเท่าไหร่ ใช้เงินเพิ่มเท่านั้น แล้วการลงทุนใหน้ำหนักกับอีคอมเมิรซ์อย่างมาก เพราะจะสร้างโอกาสทางการตลาด จากอดีตคือคอนเทนท์สำคัญสุด กรณีศึกษาโลตัส ที่ผนึกสารพัดแบรนด์ของซัพพลายเออร์มาสร้างรีเลชั่นชิป ทำให้เกิดคอนเทนท์มาพร้อมอีคอมเมิร์ซน่าสนใจ และไม่ใช่แค่สนุก แต่สร้างยอดขายได้ด้วย”

ส่วนเทรนด์ผู้บริโภคปีหน้า นักการตลาดมองว่า การให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้าและบริการมาอันดับแรก ตามด้วยการชอบทดลองแบรนด์ใหม่ สินค้าใหม่มากขึ้น และผู้บริโภคอยากรู้ที่มาที่ไปของสินค้า ด้าน 3P ที่นักการตลาดให้ความสำคัญในปีหน้า กลายเป็นเรื่องคน(People) รักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม(Planet) และกำไร(Profit)

คัมภีร์ ต่อกรธุรกิจหลังวิกฤติโควิด นักการตลาดต้อง “เปิด-ปรับ-เปลี่ยน” “นักการตลาดต้องดูแลผู้คน ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดกับโลก ไม่ใช่แค่เก่งการทำตลาดเท่านั้น ต้องทำให้สังคม โลกน่าอยู่ หรือ Do Good สร้าง Feel Good เพื่อนำไปสู่กำไรหรือ Profit”

ด้านเทคโนโลยีทรงพลังในอนาคต AI มาแรงสุด ตามด้วย IoT และ Bio-Technology ส่วนทักษะสำคัญในการทำตลาดอันดับ 1.การสื่อสาร 2. การวิเคราะห์ลูกค้า 3. การตลาดสร้างประสบการณ์ที่ดี 4. การสร้างสรรค์คอนเทนท์ 5. เทคโนโลยี

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะกระทบการตลาดไทยในปี 2566 มากสุด นักการตลาดฟันธง ความต้องการของลูกค้ายังเป็นตัวแปรใหญ่ ตามด้วยภาาวะเศรษฐกิจโลก และเทคโนโลยีดิจิทัล