ถอดโมเดลธุรกิจ "ไอออน" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

ถอดโมเดลธุรกิจ "ไอออน" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

ถอดโมเดลธุรกิจ "ไอออน เอนเนอร์ยี่" รับเทรนด์ใช้พลังงานสะอาดโตในยุคค่าไฟแพง พร้อมเผยทิศทาง และก้าวต่อไป ตั้งเป้ามุ่งสู่ผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดโซลาร์เมืองไทย

ตลาดโซลาร์เมืองไทยมูลค่า 6.7 หมื่นล้านบาทกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งซัพพลายและดีมานด์ ซึ่งเข้ามาทั้งผู้เล่นรายเล็กและรายใหญ่ที่กระโดดเข้ามาทำตลาดกว่าหลายร้อยรายเพื่อรองรับกรีนเทรนด์ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมรัฐสภากรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26 ในปีทีผ่านมา และ COP27 ในปีนี้ ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต่างมุ่งสู่ "Net Zero" ผนวกกับต้นทุนค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นเข้ามาเป็นตัวเร่ง บูมต่อ

พีรกานต์ มานะกิจ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด (ION Energy Corporation) ผู้จัดหาโซลูชันพลังงานโซลาร์ครบวงจร และผู้ดำเนินธุรกิจติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโครงการที่อยู่อาศัยรวมกว่า 700 หลังทั่วประเทศ กล่าวว่า แนวคิดการทำธุรกิจโซลาร์ในมุมของ ไอออน มีวิสัยทัศน์ Make Renewable Energy Possible For All เนื่องจากต้องการทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึง พลังงานสะอาด ได้ จากก่อนหน้านี้ภาคครัวเรือนที่มีปัญหาในการเข้าถึงและยังไม่ได้ให้ความสนใจ จนกระทั่งเริ่มมาจับมือกับ แสนสิริ เพื่อให้บริการแบบ "EPC" หรือ Engineering, Procurement and Construction เป็นโมเดล "รับเหมา" ออกแบบ จัดหา และติดตั้งระบบโซลาร์ให้กับลูกค้า ครอบคลุมทั้งภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และบ้านเดี่ยว

ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

ส่วนรูปแบบที่สองเป็น บริการแบบ "Private PPA" โมเดลสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดฟรี และไอออนจะเข้าไปดูแลลงทุนติดตั้งระบบให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อรองรับโรงงาน ขนาดกลาง ขนาดย่อมมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับบริษัทส่วนใหญ่ นิยมไปหาลูกค้าที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ในนิคมฯ ต่างๆ หรือแม้กระทั่งคอนโดของแสนสิริที่ก่อสร้างไปแล้วมีหลายโครงการใช้โมเดล PPA เช่นกัน

โดยค่าไฟฟ้าจากการใช้บริการแบบ PPA นี้จะมีราคาต่ำกว่าการใช้ไฟจากการไฟฟ้า ประมาณ 20-40% ทาง ไอออน จะทำสัญญาการใช้ไฟฟ้ากับลูกค้าเป็นระยะเวลา 15 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญารับสิทธิใช้ไฟฟรีอีกอย่างน้อย 10 ปี หรือตลอดอายุการใช้งานของแผงโซลาร์ ซึ่งปัจจุบันมีอายุขั้นต่ำ 25 ปีส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรงงานผลิต ห้องเย็น โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม โชว์รูม รีเทล โรงเรียน โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งโรงสี

"ภาพรวมของโรงงาน ภาคเอกชน โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียนต่างๆ หันมาติดตั้งโซลาร์ทำให้ตลาดโซลาร์เติบโตต่อเนื่องเพราะกลไกตลาดพร้อม ธนาคารยอมปล่อยสินเชื่อให้มีโปรดักส์สนับสนุนและลูกค้าในหลายๆอุตสาหกรรมให้ความสนใจ ส่วนหนึ่งเกิดจากต้นทุนค่าไฟแพงขึ้นด้วยทำให้โซลาร์ในภาคธุรกิจโมเดลถูกพัฒนาไปไกลกว่าภาคครัวเรือน"

ปัจจุบันบริษัทฯ มีสัดส่วนรายได้ระหว่างภาคครัวเรือนที่มาจากการเข้าไปให้บริการแก่ดีเวลลอปเปอร์ที่เปิดตัวโครงการบ้านใหม่อย่างแสนสิริ, เอสซี กับภาคเอกชนมีสัดส่วนเท่ากัน 50:50 หลักๆ จะเป็นกลุ่มใช้ไฟฟ้าสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางวัน

ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

พีรกานต์ กล่าวถึงพัฒนาการตลาดโซลาร์ ช่วง 15 ปีที่ผ่านมาการพัฒนาทางเทคโนโลยีมาไกลแล้ว ไม่เหมือน รถอีวี ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นมาไม่กี่ปี ทำให้ปัจจุบันเทคโนโลยีแผงโซลาร์ค่อนข้างเสถียรแล้ว ไม่ว่าปีนี้หรืออีก 3 ปีข้างหน้าลักษณะหน้าตารูปแบบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเหมือนสมัยก่อน และมีราคาบาทต่อวัตต์ที่ค่อนข้างนิ่งแล้ว โดยในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาต้นทุนลดลงเร็วมากราว 80% จากเดิม 1 เมกะวัตต์ 100 ล้านบาท ปัจจุบันเหลือ 20 ล้านบาท ปัจจุบันระบบโซลาร์ 4 แผง ราคา 95,000 จากเดิม 4-5 แสนบาท

สำหรับจุดเด่นของแผงโซลาร์ พีรกานต์ บอกว่า ราคาถูกลง ประสิทธิภาพดีขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบัน โซลาร์เป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่ถูกที่สุด สามารถคุ้มทุน (break even) ได้ภายใน 3-4 ปี สำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะแผงโซลาร์ที่ไอออนใช้ เป็นแผง Tier 1 ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด มีการรับประกันอายุการใช้งานถึง 25 ปี ยิ่งในปัจจุบันที่ค่าไฟแพงขึ้นกลายเป็น "แรงกระตุ้น" หันมาสนใจติดโซลาร์มากขึ้น 

ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

พีรกานต์ กล่าวต่อว่า 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจติดตั้งโซลาร์คือ ปัจจัยแรก "ราคา" ซึ่งไอออนได้เปรียบเนื่องจากเป็นผู้ให้บริการครบวงจรเจ้าเดียวในประเทศไทย ตั้งแต่ผลิตสายไฟจนถึงการติดตั้งและซ่อมบำรุง ปัจจัยที่สอง "ความเร็ว" ในแง่ของการให้บริการในการติดตั้งสำคัญมากผสมผสานกับความเชื่อมั่นของบริษัท แบรนด์ และปัจจัยที่สาม "เทคโนโลยี" ในเรื่องของแพลตฟอร์ม ซอฟแวร์ บริหารจัดการระบบโซลาร์ ซึ่งไอออน เป็นบริษัทแรกและรายเดียวในไทยตอนนี้ ที่มีแพลตฟอร์มครบวงจร รองรับการใช้งานในปัจจุบันและอนาคตที่สามารถเชื่อมต่อได้กับระบบ IOT และ Inverter ทุกยี่ห้อ รองรับการมอนิเตอร์การใช้ไฟฟ้ารวมทั้งการวางบิลและชำระเงินค่าไฟโซลาร์ของลูกค้า PPA

ปัจจุบันตลาดโซลาร์ ยัง "ไม่มี" แบรนด์ไหนเป็นผู้นำตลาด ลูกค้ายังไม่มีแบรนด์ที่อยู่ในใจ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นตลาดใหม่ที่เพิ่งเริ่มเป็นที่ยอมรับและรับความนิยมช่วง 1-2 ปีนี้ และมีผู้เล่นจำนวนมากกว่า 100 ราย จากการประเมินคาดว่า ดีมานด์โซลาร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถือเป็นเค้กใหญ่พอที่รองรับผู้เล่น เพราะมีความต้องการหลากหลาย 

ดังนั้น ในส่วนของ ไอออน เอนเนอร์ยี่ หรือ ION ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มบางกอกเคเบิ้ล ผู้ให้บริการโซลูชัน พลังงานแสงอาทิตย์ แบบครบวงจร ซึ่งกลุ่มบางกอกเคเบิ้ล เป็นโซลาร์เอกชนรายแรกเมืองไทยเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมาเริ่มจากการทำโซลาร์ฟาร์ม จึงได้เตรียมแผนสร้างแบรนด์ให้อยู่ในใจลูกค้า ผ่านพาร์ทเนอร์ชิพด้วยการจับมือกับดีเวลลอปเปอร์ที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย อาทิ แสนสิริ, เอสซี เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับ และมีโนฮาวในการติดตั้งโซลาร์ให้บ้านกว่า 700 โครงการ และมีการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับซัมซุงในการทำแอพพลิเคชั่นสำหรับ Smart Home Smart Energy ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถติดตามการใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน มาผสานกับความต้องการในการเลือกใช้พลังงานสะอาดจากโซลาร์เซลล์ได้ผ่านแอปพลิเคชันเดียว 

ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

นอกจากนี้ "ไอออน" ยังมีความได้เปรียบแง่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่ง 5-10% และเลือกที่จะโฟกัสตลาดขนาดกลาง-ขนาดย่อม ต่ำกว่า 1 MWp ซึ่งเป็นสัดส่วน 85% ของทั้งหมด จากมูลค่าตลาดรวม 67,000 ล้านบาทคาดว่า ปีหน้าตลาดโซลาร์โต 10-15%

"กลุ่มลูกค้าขนาดกลางขขนาดย่อมเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าหลักแสนขึ้นไปต่อเดือน ส่วนตลาดขนาดใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้ามูลค่า 2 ล้านบาทขึ้นไปต่อเดือน ซึ่งฐานลูกค้าขนาดกลาง-ขนาดย่อมเป็นฐานลูกค้าที่กว้าง เพราะเป็นพีระมิดหากเจาะกลุ่มนี้ได้สามารถเป็นผู้นำตลาดได้ในอนาคตและหวังว่าวันหนึ่งเราจะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่อยู่ในใจของลูกค้าที่ต้องการติดตั้งโซลาร์"

พีรกานต์ ระบุว่า เทรนด์โลกเข้ามาสนับสนุนการเติบโตของโซลาร์ ในเรื่องแรกคงหนีไม่พ้น "แบตเตอรี่" ที่เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการติดโซลาร์ในอนาคต เพราะถ้ามีแบตเตอรี่ในราคาถูกลงสามารถที่จะจูงใจให้คนติดโซลาร์ ไม่ว่าจะมีการซื้อไฟฟ้าหรือไม่ก็ตาม เชื่อว่า 3-5 ปีต่อจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องของแบตเตอรี่ เพราะแผงโซลาร์พัฒนาไปเรื่อยๆ ในแต่ละปีไม่หวือหวา เรื่องที่สอง ในเชิงของ "ผู้ควบคุม" หรือ regulator ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อไฟฟ้า หรือ Net Metering ที่ทำให้สามารถขายไฟได้ในราคาที่เหมาะสม และเรื่องที่สาม คือการซื้อ-ขายไฟฟ้า ด้วยกันเองภายในชุมชนหรือ Peer-to-Peer Trading
    
"ทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวทำให้เราใช้โซลาร์ ได้เต็มประสิทธิภาพตามกลไกตลาด เมื่อแบตเตอรีราคาถูกลง สามารถขายไฟให้กับภาครัฐ หรือแทนที่ขายให้ภาครัฐซื้อขายไฟกันเอง คล้ายๆกับการเทรดหุ้นทำให้ตลาดพลังงานไฟฟ้ามีการซื้อขายเสรีอย่างแท้จริง จากเดิมที่ต้องผ่านการไฟฟ้าทำให้การยอมรับเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเกิดขึ้นเร็ว สามารถตอบสนองดีมานด์ตลาด รวมถึงการเทรดคาร์บอนเครดิต"

ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

ก้าวต่อไปของ "ไอออน" คือ มุ่งสู่ผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดโซลาร์ และมองไปข้างหน้าเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นรูปแบบการทำงานที่รองรับการเติบโตครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่ Smart Home IoT integration, Peer-to-Peer Trading รวมทั้งการเทรดขายคาร์บอนเครดิต เมื่อทุกอย่างปลดล็อก "ไอออน" เป็นรายแรกในตลาดที่มีแพลตฟอร์มมารองรับความต้องการของลูกค้า

"สิ่งที่เราทำคือ ทำแพลตฟอร์มเชื่อมต่อให้กับสินค้าและบริการทุกยี่ห้อเป็นเรื่องที่สำคัญมากทั้งในแง่ของการบริการ และการนำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ เริ่มตั้งแต่วันนี้ เมื่อวันหนึ่งที่ผู้ควบคุม (regulator)อนุญาตให้มีการซื้อขายไฟผมมีความพร้อม ทั้งแพลตฟอร์มและข้อมูลเพื่อรองรับลูกค้าเพราะเชื่อว่าเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญสูงขึ้นและมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในอนาคต นอกเหนือจากบริการและราคา" พีรกานต์ กล่าวทิ้งท้าย

ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย

ถอดโมเดลธุรกิจ \"ไอออน\" รับเทรนด์พลังงานสะอาดโต มุ่งสู่เจ้าตลาดโซลาร์ของไทย