กลยุทธ์การลงทุน วิเคราะห์ผลกระทบจากการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นตํ่า 5%

กลยุทธ์การลงทุน วิเคราะห์ผลกระทบจากการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นตํ่า 5%

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5% จะส่งผลกระทบต่อมุมมองทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในสัปดาห์ที่แล้ว มีการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศอีก 5% เป็นประมาณ 350-360 บาท/วัน ซึ่งยังต่ำกว่า 425 บาท/วัน ซึ่งมีการโฆษณาเอาไว้ในช่วงหาเสียงเอาในการเลือกตั้งปี 2562 อย่างมีนัยสำคัญ

เราเห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพียงเล็กน้อยในครั้งนี้ เพราะบริษัทต่าง ๆ เพิ่งจะฟื้นตัวจาก COVID-19 และเงินเฟ้อของไทยที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ห่วงโซ่อุปทานสะดุด ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของ  เรามองว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบนี้จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้ม GDP เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจะช่วยชดเชยราคาสินค้าและบริการที่อาจมีการปรับขึ้นได้ ดังนั้น เราจึงปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2565 เป็นประมาณ 3.0% จากเดิมที่ 3.5%

 

ผลกระทบรายกลุ่ม: รับเหมาก่อสร้าง, อิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์ และอาหาร (ร้านอาหาร) จะได้รับผลกระทบทางลบบ้าง แต่กลุ่มอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบจำกัด

เรามองว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลกระทบกับ EPS ของตลาดหุ้นไทยน้อยมาก เพราะหุ้นกลุ่มหลักที่ทำกำไรอย่างเช่น พลังงาน ปิโตรเคมี และธนาคาร ไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเลย ดังนั้น ประเด็นนี้จึงไม่น่าจะทำให้มีการปรับประมาณการ EPS ของตลาด และเป้าดัชนี SET ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นขนาดกลางถึงเล็ก เรามองว่ากลุ่มรับเหมาก่อสร้าง, อิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์ และอาหาร (ร้านอาหาร) จะได้รับผลกระทบทางลบบ้าง แต่กลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น commerce, อสังหาริมทรัพย์ และนิคมอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจำกัด ถึงแม้ว่า ค่าแรงจะคิดเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงในงบการเงินของหุ้นกลุ่ม commerce แต่เราคิดว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลดีต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคระดับล่าง และน่าจะชดเชยผลกระทบด้านลบไปได้เกือบหมด

 

 

 

กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคระดับล่างจะส่งผลดีต่อกลุ่ม non-bank และหุ้นในกลุ่มผู้บริโภคบางตัว

เรามองว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทยจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคระดับล่างได้เล็กน้อย และน่าจะส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่ม non-bank และหุ้นบางตัวในกลุ่มผู้บริโภค โดยในส่วนของกลุ่ม finance เราแนะนำกลุ่มย่อยที่ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้บริโภคระดับล่าง (AEONT*, SINGER*), สินเชื่อลิสซิ่งรถมอเตอร์ไซค์ (TK, NCAP) และธุรกิจบริหารจัดการหนี้ (JMT*, CHAYO) ส่วนกลุ่มผู้บริโภค เรามองว่า กลุ่มที่จะได้ประโยชน์คือบริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นผู้บริโภคระดับล่างอย่างเช่น SNNP และ OSP*