กรมส่งเสริมการเกษตร MOU หน่วยงานรัฐ-เอกชน หวังยกระดับเกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร  MOU หน่วยงานรัฐ-เอกชน หวังยกระดับเกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิชาการ ใช้งานวิจัยงานวิชาการพัฒนายกระดับเกษตรกรไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับสถาบันเกษตรกร

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า  กรมส่งเสริมการเกษตรมุ่งมั่นขับเคลื่อนงานตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และการวิจัยและพัฒนา

 โดยการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพการเกษตร ภายใต้กรอบแนวคิดการนำ BCG Economy Model มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคการเกษตรของประเทศ ให้มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน สู่ความเป็นอยู่ที่ดีของพี่น้องเกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร  MOU หน่วยงานรัฐ-เอกชน หวังยกระดับเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร  MOU หน่วยงานรัฐ-เอกชน หวังยกระดับเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร  MOU หน่วยงานรัฐ-เอกชน หวังยกระดับเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร  MOU หน่วยงานรัฐ-เอกชน หวังยกระดับเกษตรกร

ซึ่งตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้ลงนาม MOU กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรของเกษตรกร ให้นำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ทั้งในด้านการเพิ่มปริมาณผลผลิต การเพิ่มคุณภาพผลผลิต และการลดต้นทุนการผลิต เช่น

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร บริษัท อายิโนะโมโต๊ะ (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท เอฟ ดี กรีน (ประเทศไทย) จํากัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

สำหรับความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย

1. ด้านการพัฒนาบุคลากรและเกษตรกร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย จัดอบรมเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร          จำนวน 1,630 คน   การออกแบบหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกที่เอื้อต่อการพัฒนาบุคลากร ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีผู้สนใจสมัครเข้ารับการศึกษาแล้ว รวม 19 คน ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโท จำนวน 16 คน และหลักสูตรปริญญาเอก จำนวน 3 คน ดำเนินการ

 พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรในการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ จำนวน 261 คน ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ คัดเลือกเกษตรกรเข้ารับการศึกษาต่อโครงการทุนปริญญาตรีเพื่อเกษตรกรรุ่นใหม่ และทุนปริญญาตรีเฉลิมพระเกียรติ สืบสาน ร.9 เพื่อเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 177 รายร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

และ 2) ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยดำเนินการร่วมกับ  สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ขยายผลงานวิจัยพร้อมใช้สู่เกษตรกร จำนวน 3,290 ราย ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในการขยายผลเทคโนโลยี Handy Sense ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร  ส่งเสริม                   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับเกษตรกร ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)   และร่วมกับ บริษัท อายิโนะโมโต๊ะ (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท เอฟ ดี กรีน (ประเทศไทย) จํากัด ดำเนินการผลิตพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์สะอาด รวมทั้งการนำเทคโนโลยีโดรนไปใช้ในการสำรวจแปลงปลูก

 ในปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรอยู่ระหว่างดำเนินงาน              ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนมะพร้าวอ่อนน้ำหอมดอนมโนราและวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมบางตลาดด้วยแพลตฟอร์ม GROW Model                เพื่อเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดที่เป็นธรรมอย่างยั่งยืน และโครงการวิจัยระบบอัจฉริยะ เพื่อการวินิจฉัยเฝ้าระวังและเตือนภัยโรคมันสำปะหลัง หรือ MunBot

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาการจัดการศัตรูพืชอย่างเป็นระบบด้วยนวัตกรรม เพื่อเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และโครงการพัฒนาวิธีการใช้แมลงที่เป็นหมันผสมผสานกับวิธีการกับดักทำลายเพศผู้ ที่ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อีกด้วย