เปิดกลยุทธ ปศุสัตว์“จับให้เจ๊ง” ปิดเกม "หมูเถื่อนปี 66 "

เปิดกลยุทธ ปศุสัตว์“จับให้เจ๊ง”    ปิดเกม "หมูเถื่อนปี 66  "

การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกา (ASF)ในสุกร ในประเทศไทยในปีที่ผ่านมา เป็นตัวแรงหลักที่ รั้งภาวะเศรษฐกิจการเกษตรหรือจีพีดีเกษตร ไม่ถึงฝัน จากที่คาดว่าจะเติบโต 2-4 % แต่ทำได้เพียง 0.8 % เท่านั้น ในขณะที่ช่วงหนึ่งราคาเนื้อสุกรของไทยพุ่งสูงมากถึงกิโลกรัมละ 120 บาท

ราคาเนื้อสุกรที่สูงขึ้นทำให้เกิดปัญหาลักลอบนำเข้าสุกรเถื่อน มาจำหน่ายในประเทศไทย แรกๆจะเป็นลักษณะการสำแดงผิดประเภทตามด่านต่างๆ ส่วนใหญ่จะอ้างว่าเป็นอาหารทะเล  

การเข้ามาลักษณะนี้ติดตามและเอาผิดได้ไม่ยาก แต่ปัจจุบันวิธีการปรับเปลี่ยนไป การลักลอบนำเข้าจะเป็นในลักษณะกองทัพมด แกะกล่องใส่กระสอบเน่าๆ ซุกใต้กระบะ ปกปิดด้วยสินค้าเสื้อผ้ามือสอง หลังจากนั้นจะส่งต่อไปยังห้องเย็นจุดต่างๆ นำไปล้าง ที่น่าตกใจคือนำไปแช่ฟอร์มาลีน แล้วส่งขายตามร้านหมูกระทะ 100 %มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง  สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กรมปศุสัตว์ระบุไว้ และปนเปื้อนซาลโมเนลลา (salmonella)   ถือว่าเป็นอันตรายยิ่งต่อผู้บริโภค นอกเหนือไปจากที่เนื้อหมูเหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงของโรคติดต่อนานๆชนิด เป็นการทำลายวงจรการเลี้ยงหมูของไทย โดยเฉพาะผู้เลี้ยงรายย่อยจะไม่มีโอกาสฟื้นตัวได้อีกต่อไป  

 

เปิดกลยุทธ ปศุสัตว์“จับให้เจ๊ง”    ปิดเกม "หมูเถื่อนปี 66  " เปิดกลยุทธ ปศุสัตว์“จับให้เจ๊ง”    ปิดเกม "หมูเถื่อนปี 66  " เปิดกลยุทธ ปศุสัตว์“จับให้เจ๊ง”    ปิดเกม "หมูเถื่อนปี 66  " เปิดกลยุทธ ปศุสัตว์“จับให้เจ๊ง”    ปิดเกม "หมูเถื่อนปี 66  "

นายสมชวน รัตนมังคลานนท์  อธิบดีกรมปศุสัตว์  กล่าวว่าสถานการณ์สุกรในไทยปี65 ได้รับผลกระทบหนักจริง ทั้ง ASF และราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงมาก ทำให้ระดับราคาเนื้อหมูในตลาดแพงตามไปด้วย แต่ระดับราคาดังกล่าวไม่จูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงสุกร เพราะเสี่ยงเกินไป หากเลี้ยงไม่รอดก็ขาดทุน หรือเลี้ยงแล้วรอดเอาสุกรออกขายได้ แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ประกาศคุมราคา ต่อสู้กับหมูเถื่อนลำบาก ดังนั้นเกษตรกรจึงเลือกที่จะไม่เสี่ยง ปริมาณสุกรก็ลดลง  

อย่างไรก็ตามในปี 66 นี้ มีทิศทางที่ดีขึ้นเกษตรกรเริ่มปรับตัว เรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดได้จากASF กล้าที่จะลงเลี้ยงสุกรได้คาดว่าปริมาณจะกลับเข้าสู่ตลาดประมาณ 15.5 ล้านตัว จากความต้องการของผู้บริโภค 16-18 ล้านตัว จะขาดไปนิดหน่อยราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 96-100 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลประกาศรักษาเสถียรภาพเอาไว้ แต่สถานการณ์โดยรวมจะดีขึ้น ในจำนวนนี้ 80-90 %จะใช้บริโภคในประเทศ ที่เหลือส่งออกเป็นเนื้อสดในตลาดฮ่องกง และแปรรูปในญี่ปุ่น  

แต่ปัจจัยเสี่ยงยังมีอยู่กรณีสงครามรัสเซีย -ยูเครน ยังมีอยู่ ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้ามีแนวโน้มราคาสูงและขาดแคลน โรคระบาดจะซาๆลง ในที่วัคซีนเริ่มคิดค้นขึ้น

ส่วนการลักลอบนำเข้านั้น ในลักษณะเป็นตู้สินค้าข้ามแดน ตอนนี้ถือว่าเป็นศูนย์ เหลือแต่กองทัพมด กรมปศุสัตว์ ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินงานเข้าสืบใกล้ และเข้าจับกุมแล้วทำลายสินค้าทิ้ง ตามเป้าหมาย จับให้เจ๊ง เพราะบทลงโทษ ตามพ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ 2558 มาตรา 18 22​ 31​ และ​ 34 และพ.ร.บ.ศุลกากร 2560 มาตรา 242 246 247 และ​ 252  นั้นเบาไป จำและปรับไม่เกิน 2 แสนบาท  

                ซึ่งบางคดีค่าปรับต่ำกว่ามูลค่าสินค้าที่จับได้ ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกิดความกลัวแล้วกลับมาทำซ้ำอีก ดังนั้นการจับกุมแล้วทำลายทิ้ง จะเป็นการตัดวงจร โดยในปี 2565 มีเนื้อสุกรที่ต้องทำลายกว่า 4 แสนกิโลกรัม คาดว่าจะดำเนินการได้ช่วงต้นปี 66 ด้วยวิธีการฝังกลบ นอกจากนี้จะทำหนังสือไปหารือกับสถานเอกอัครราชทูตบราซิลประจำประเทศไทย เพื่อให้ช่วยดูแลการส่งออกเนื้อสุกรในประเทศ เนื่องจากเนื้อสุกรลักลอบกว่า 90 % มาจากบราซิล   

                นอกจากนี้กรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบการติดตามอิเล็กทรอนิกส์ วงเงิน 32 ล้านบาท เพื่อเชื่อมระบบกับรถขนส่งของภาคเอกชนที่มีระบบ GPS  ตามเงื่อนไขการขอต่อใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์  ทั้งนี้เพื่อติดตามการขนซากสัตว์สุกรตั้งแต่ฟาร์ม โรงชำแหละ จนถึงห้องเย็น คาดว่าจะเริ่มได้ในปี 66   

รวมทั้งจะร่วมกับภาคเอกชนเพื่อหารือกับกระทรวงพาณิชย์ กรณีการควบคุมราคาเนื้อสุกร เนื่องจากยังเป็นปัญหาที่ทำให้เกษตรกรไม่กล้าเสี่ยงลงทุน และกระทรวงพาณิชย์ควรมีมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ชัดเจนกว่าปัจจุบัน เพื่อสร้างความมั่นคง ความมั่นใจในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ที่มีตัวเลขความต้องการใช้แต่ละปีของสัตว์แต่ละประเภทชัดเจนอยู่แล้ว การกำหนดมาตรการนำเข้าที่ชัดเจนจะช่วยให้การวางแผนการผลิตการตลาดได้ง่ายขึ้น