WEF-PwC หนุนภาคธุรกิจ ยึดโมเดล ESG สร้างความยั่งยืน

WEF-PwC หนุนภาคธุรกิจ ยึดโมเดล ESG สร้างความยั่งยืน

เวทีซีอีโอ ซัมมิต หนุนภาคธุรกิจยึดโมเดล ESG สร้างความยั่งยืน เชื่อมซัพพลายเชนโลก WEF แนะทรานส์ฟอร์มดิจิทัล PwC เสนอสร้างความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ศาสตราจารย์เคลาส์ มาร์ติน ชวับ ผู้ก่อตั้ง และประธานบริหารสภาเศรษฐกิจโลก (World Economics Forum: WEF) กล่าวบนเวที APEC CEO Summit 2022 ในหัวข้อ “เศรษฐกิจโลกและอนาคตของเอเปค” เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2565 ว่า วิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เรากำลังเผชิญไม่ได้เป็นแค่ความผันผวนในระยะสั้นแต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่จะยังลากยาวในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้แก่ Climate Change และความจำเป็นในการเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยจากผลการศึกษาพบว่าจะต้องมีการลงทุนในด้านพลังงานสะอาดในระดับโลกกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 4% ของจีดีพีโลก ภายในปี 2030 รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านด้านซัพพลายเชนโลกให้มีความยืดหยุ่นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างภูมิรัฐศาสตร์

ทั้งนี้ สำหรับการเติบโต และอยู่รอดในอนาคต ภาคธุรกิจจะต้องพร้อมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะไม่อะลุ่มอล่วยให้ใครที่ทำช้ากว่า ทั้งยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และรวดเร็วเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมายมีความเฉพาะเจาะจง และซับซ้อนยิ่งกว่าครั้งที่ผ่านมา นำไปสู่การคิดวางแผนอย่างมีกลยุทธ์ สร้างความร่วมมือ และความเชื่อมโยงกันระหว่างภาครัฐ และเอกชน และดำเนินธุรกิจตามแนวทางทุนนิยมในรูปแบบใหม่ด้วยการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งประชาชน สังคมและโลก WEF-PwC หนุนภาคธุรกิจ ยึดโมเดล ESG สร้างความยั่งยืน

"การปฏิวัติครั้งใหม่นี้จะนำเศรษฐกิจไปสู่โอกาสในการเติบโตครั้งใหม่ของภาคธุรกิจ โดยกุญแจสำคัญคือ เราต้องทำในสิ่งที่พูด เพราะการพูดกันไปเรื่อยๆ ถึงเรื่องความยั่งยืนนั้นไม่เพียงพอแล้ว”

WEF-PwC หนุนภาคธุรกิจ ยึดโมเดล ESG สร้างความยั่งยืน นายโรเบิร์ต อี มอริตซ์ ประธาน บริษัท Price water house Coopers International Ltd. หรือ PwC กล่าวว่า ในท้ายที่สุดช่วงเวลาวิกฤติที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ความร่วมมือกันครั้งใหม่ ซึ่งในวันนี้การเติบโตของเศรษฐกิจไม่อาจสำเร็จได้ตามแนวทางเดิมในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สะท้อนได้จากผลกระทบของวิกฤติครั้งนี้ที่แตกต่างออกไปในแต่ละภูมิภาค อาทิ ในยุโรปกำลังเผชิญวิกฤติด้านพลังงาน และผลกระทบจากสงคราม ส่วนในอเมริกาเหนือมีสัญญาณชะลอตัวแต่กำลังซื้อยังมีอยู่ ขณะที่เอเชียยังมีช่วงการเติบโตของประชากรชนชั้นกลางอีกมาก

การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะเกิดขึ้น ประกอบไปด้วย โครงสร้างซัพพลายเชนการผลิตที่จะมีแนวคิดต่างไปจากในอดีต ที่เคยให้ความสำคัญกับการผลิตปริมาณมากด้วยราคาทุนที่ต่ำที่สุดแต่ในวันนี้ภาคธุรกิจมองการสร้างซัพพลายเชนที่ต่างออกไป โดยพิจารณาจากความเหมาะสมการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีที่สุด และการประยุกต์แนวคิด ESG เข้ากับการสร้างซัพพลายเชนใหม่นี้

ซึ่งภูมิภาคเอเปคมีความได้เปรียบ และโอกาสอย่างมากในการเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนโลก ด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ การมีทุนมนุษย์จำนวนมากที่พร้อมพัฒนาไปสู่บุคลากรทักษะสูง การใช้งานด้านดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวมเร็วในภูมิภาคนี้ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้ในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

“ความร่วมมือระหว่างภูมิภาคจะนำมาซึ่งการพัฒนานวัตกรรมขั้นสูงใหม่ๆ อย่างไรก็ตามการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และประยุกต์ใช้จริงจะเป็นโอกาสครั้งใหญ่ของภูมิภาค”

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์