เปิดมุมมองประธานสภาหอการค้าไทย : APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ

เปิดมุมมองประธานสภาหอการค้าไทย : APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ

เปิดมุมมอง "สนั่น อังอุบลกุล" ประธานสภาหอการค้าไทย และเจ้าภาพของการประชุม APEC CEO Summit ในทัศนะประเด็น APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ

เมื่อพูดถึงการเดินทางเพื่อธุรกิจ "สนั่น อังอุบลกุล" คือผู้เชี่ยวชาญที่มีมากกว่าความเชี่ยวชาญการถ่ายทอดความรู้ ในบทบาทของประธานหอการค้าไทย (TCC) และเจ้าภาพของการประชุม APEC CEO Summit ซึ่งเป็นการประชุมของนักธุรกิจระดับสูง จัดขึ้นควบคู่ไปกับการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก หรือ APEC

สนั่น กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ที่ได้จัดงานในรูปแบบของการประชุมแบบเห็นหน้ากัน โดย APEC 2022 นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับภาคธุรกิจและคนไทย ซึ่งกว่าจะเวียนกลับมายังประเทศไทย ต้องรออีก 20 ปี

เปิดมุมมองประธานสภาหอการค้าไทย : APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ

APEC เป็นเวทีเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่มีสมาชิก 21 ประเทศ ทั่วเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งเมื่อปี 2532 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ในลักษณะที่ไม่ผูกพันทางกฎหมายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

สมาชิกกลุ่ม APEC มีประชากรรวมกันกว่า 2,900 ล้านคน ครองสัดส่วน 60% ของ GDP โลก ซึ่งนอกจาก 21 ประเทศสมาชิกในเขตเศรษฐกิจแล้ว ประเทศไทยยังได้ต้อนรับผู้นำของซาอุดิอาระเบีย ฝรั่งเศส และจีนที่มาร่วมงานด้วย ลำพังซาอุดิอาระเบียเพียงประเทศเดียวก็ขนคณะนักเดินทางเพื่อธุรกิจมาประเทศไทยมากกว่า 800 คน 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคว้าโอกาสที่บุคคลสำคัญจากภาครัฐและเอกชนของประเทศสมาชิกเขตเศรษฐกิจ และประเทศที่ได้รับเชิญจะมาพบกันที่กรุงเทพฯ ภาคธุรกิจของไทยจึงได้จับมือกันจัดตั้ง "สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค" (APEC Business Advisory Council) หรือ ABAC ขึ้นเพื่องานนี้ ประกอบด้วย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ทั้ง 3 องค์กรยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. 

สนั่น ให้ความเห็นว่า ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนรัฐบาลที่มุ่งเน้นไปที่แนวคิด "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล" (Open Connect Balance) ประเด็นด้านการค้า การลงทุน และการทำธุรกิจข้ามชาติจะถูกหยิบยกขึ้นมาหารืออย่างใกล้ชิด เมื่อพวกเขามาพบปะกัน และทุกคนหวังว่าจะสามารถปลดล็อกอุปสรรคได้ ซึ่งนอกเหนือจากการเจรจาระดับนานาชาติแล้ว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (SMEs) ยังสามารถเรียนรู้จากอีก 21 ประเทศสมาชิก APEC ได้อีกด้วย ซึ่งจะได้รับทั้งความมั่นใจและศักยภาพในระดับต่อไป

เปิดมุมมองประธานสภาหอการค้าไทย : APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ

"ABAC ทำงานอย่างหนัก เพื่อคว้าโอกาสในการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยได้นำเสนอประเด็นสำคัญ 5 ประการ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้นำโลก ได้แก่ การบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และความยั่งยืนของภาคการเงินและเศรษฐกิจ" 

สนั่น กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยแข็งแกร่งในภาคการเกษตร เมื่อเน้นประเด็นนี้ ประเทศตะวันตกอาจจะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ต้องทำให้พวกเขาเข้าใจ และแสดงให้เห็นว่า ประไทยมีความพร้อม อีกทั้งโอกาสสำหรับประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC 2022 นั้น ไม่อาจประเมินค่าได้ และจะส่งผลอย่างหลวงในระยะยาว โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ผู้นำแต่ละประเทศได้พาตัวแทนทั้งสื่อและนักธุรกิจมาด้วย กลุ่มนักธุรกิจจะกลับมาอีก และพาครอบครัว เพื่อนฝูงมาเที่ยวประเทศไทย การประชุม APEC จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน แต่พวกเขามาถึงก่อนที่การประชุมจะก่อนหน้าแล้วหลายสัปดาห์ 

สนั่น เสริมด้วยว่า ประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากในเรื่องการต้อนรับอย่างอบอุ่นแก่ผู้มาเยือน โดยเชื่อว่าทุกคนที่มาประเทศไทยจะตกหลุมรักประเทศไทย และเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจที่เข้าร่วมการประชุม APEC 2022 หอการค้าไทยและพันธมิตรทางธุรกิจ ได้คัดเลือกนักธุรกิจและผู้ประกอบการวัยหนุ่มสาว มาฝึกอบรมด้านการบริการอำนวยความสะดวก ซึ่งกิจกรรมนี้ จะทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาทัศนะเกี่ยวกับโลก และได้รับประสบการณ์จากการทำงานร่วมกับผู้บริหารธุรกิจจากประเทศอื่นๆ 

เปิดมุมมองประธานสภาหอการค้าไทย : APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ

นอกจากนั้น ยังได้เล่าถึงประสบการณ์จากการดำรงตำแหน่งประธานองค์การนักบริหารระดับสูงโลกแห่งประเทศไทย (World President Organization) หรือ WPO เมื่อหลายปีก่อน 

"นักเดินทางเพื่อธุรกิจต้องการการอำนวยความสะดวกที่มีความยืดหยุ่น การบริการสุดพิเศษที่เกินความคาดหมาย ผมเดินทางมามาก ถ้าต้องลงจากเครื่องบินตอนตี 1 ผมไม่จำเป็นต้องรบกวนคนขับรถของผม ผมสามารถใช้บริการพิเศษ และก็ต้องรู้ว่า บริการนั้นพร้อมใช้งานได้" 

ดังนั้น นักเดินทางเพื่อธุรกิจ ให้ความสำคัญกับการได้รับยกเว้นการต่อแถวยาวที่จุดตรวจคนเข้าเมือง ด้วยการผ่านช่องทาง "quick lane" เมื่อเดินทางถึงประเทศใดประเทศหนึ่ง นี่คือความสะดวกสบายที่นักเดินทางมองหา

สำหรับ APEC 2022 สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้เปิด "fast lane" สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมอย่างเป็นทางการ ถ้ามีบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค "APEC Business Travel Card" ก็สามารถใช้ช่องทางนี้ได้ และการมีบัตรสิทธิพิเศษจะทำให้พวกเขาได้บริการที่ดี เช่น ผู้ช่วยส่วนตัว บริการห้องรับรองที่สนามบินกว่า 600 สนามบินทั่วโลก หรือรถลีมูซีนทั้งในและต่างประเทศ ที่เข้าใจความต้องการของนักเดินทางเพื่อธุรกิจ

เปิดมุมมองประธานสภาหอการค้าไทย : APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ

สำหรับบัตร พริวิเลจ เอบีทีซี (ABTC Privilege Card) เป็นบัตรพริวิเลจสำหรับนักธุรกิจเอเปคไทยที่ถือบัตรเอเปค APEC Business Travel Card (ABTC) เป็นบัตรสิทธิพิเศษที่จะทำให้ผู้ถือบัตรได้รับสิทธิพิเศษที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การเดินทางเพื่อธุรกิจ ดำเนินการโดยบริษัท World Reward Solutions หนึ่งในธุรกิจภายใต้กลุ่มดับบลิวอาร์เอส (World Reward Solutions) ของไทย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านลักชัวรีไลฟ์สไตล์ ให้แก่บุคคลที่มีความมั่งคั่งและลูกค้าระดับ VVIP สำหรับองค์กรและบุคคล

ส่วนนักธุรกิจไทย สามารถรับสิทธิประโยชน์จากบัตรพริวิเลจ เอบีทีซี ได้แล้วเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

บัตร Privilege ABTC Card

ชื่อบัตรภาษาไทย : บัตรพริวิเลจ เอบีทีซี 

ประเภทบัตร : บัตรสิทธิพิเศษ

บัตรนี้ใช้รับสิทธิพิเศษตามสถานที่และร้านค้าที่ร่วมรายการ ไม่สามารถใช้แทนเงินสดเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ และไม่สามารถใช้แทนบัตรเอเปค APEC Business Travel Card (ABTC) ได้ บัตรมีอายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ชำระเงินค่าสมัครครบถ้วน

สำหรับบัตร  Privilege ABTC Card มี 3 ระดับ คือ

  1. APEC Prestige Ultimate - บัตรสีดำ บัตรระดับบนสุด มีค่าสมาชิก 60,000 บาท/ปี
  2. APEC Prestige Premier - บัตรสีแดง บัตรระดับกลาง มีค่าสมาชิก 20,000 บาท/ปี
  3. APEC Prestige Explorer - บัตรสีน้ำเงิน บัตรระดับแรก ไม่เสียค่าสมาชิกรายปี 

สามารถสมัครเพื่อรับสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ถือบัตร APEC Business Travel Card (ABTC) ไทย ที่ยังไม่หมดอายุ อ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Privilege ABTC Card หรือโทร. 02-113-4838