องค์กรต้านโกง จี้นายกฯ สอบประมูลสายสีส้ม

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ จัดเวทีสาธารณะค้นหาความจริง "กรณี 6.8 หมื่นล้าน ในการประมูล รถไฟสายสีส้ม" ผลประโยชน์..หรือค่าโง่!! ที่รัฐฯ ต้องมีคำตอบ

จากกรณีการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ได้ผู้ชนะการประมูล คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ที่ขอรับการสนับสนุนค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ 78,287 ล้านบาท ขณะที่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC เปิดซองราคาที่ยื่นไว้ตั้งแต่การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ครั้งแรกในปี 2563 ขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเพียง 9,676 ล้านบาท น้อยกว่าผู้ชนะประมูลถึง 6.8 หมื่นล้านบาท 

เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ดร. มานะ นิมิตรมงคล ระบุ การประมูลสายสีส้มรอบแรกไม่มีผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม ได้เข้าไปในการประมูลครั้งที่สองที่พบว่านำทีโออาร์เก่ามาปรับปรุง เพราะฉะนั้นผู้สังเกตการณ์ที่เข้าไปจึงแสดงความคิดเห็นได้น้อยเกี่ยวกับข้อตกลงคุณธรรม และเมื่อเข้าไปทำงานมีบางครั้งที่ไม่ได้รับแจ้งให้เข้าร่วมประชุมทำให้ขาดข้อมูลที่จะใช้ประกอบ เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ดังนั้นการที่จะบอกว่าโครงการนี้ทุกอย่างโปร่งใสเพราะมีข้อตกลงคุณธรรมแล้วต้องมาพิสูจน์กัน แต่ทั้งนี้ยังฟันธงไม่ได้ว่าไม่โปรงใส ครั้งนี้จำเป็นต้องตรวจสอบโดยผู้มีอำนาจ อยากให้นายกรัฐมนตรีตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบโครงการนี้เพื่อตรวจสอบว่าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน มีความโปร่งใสหรือไม่

TDRI แนะรื้อรูปแบบประมูลโครงการรัฐ

ด้านผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ดร.สุเมธ องกิตติกุล ระบุ การประมูลสายสีส้มเกิดปัญหาหลายอย่างจนมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแผลงเงื่อนไขสัญญา หากรัฐบาลมองว่ายังดำเนินการต่อไปได้ก็ดำเนินการต่อไป ทีดีอาร์ไอมีข้อเสนอแนะรัฐบาลให้ทบทวนการประมูลใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการประมูลโครงการหากการประมูลโครงการในปัจจุบันไม่สามารถไม่ต่อได้ รวมถึงการประมูลในอนาคต เสนอให้มีการเปลี่ยน
รูปแบบการประมูลโครงการแยก สัญญาระยะที่ 1 ออกแบบและก่อสร้างงานโยรา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า และ สัญญาระยะที่ 2 งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุงออกจากกัน เพื่อให้เกิดเกิดการแข่งข้นแยกส่วนกันระหว่างส่วนก่อสร้างและส่วนการเดินรถ เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เข้ามาประมูลมากขึ้น อาจแยกสัญญาก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นส่วนต่างๆ เพื่อเพิ่มการแข่งขันให้มากขึ้น เหมือนของรถไฟฟ้าสายอื่น หรือ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก

ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาให้เหมาะต่อการกำหนดค่โดยสารร่วมเพื่อให้สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมในนาคตได้ ควรปรับเปลี่ยนสัญญารถไฟฟ้าในแต่ละสายทางให้เป็นรูปแบบเดียวกันและมีความซัดเจนมากขึ้นรัฐเป็นผู้ลงทุนโกรงสร้างพื้นฐานและขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมด (รัฐบาลรับผิดชอบในส่วนต้นทุนคงที่ทั้งหมด) เอกชนเป็นผู้วิ่งให้บริการในลักษณะการจ้างเดินรถเท่านั้นเป็นรูปแบบเดียวกันกับของสิงคไปร์ซึ่งสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ