อาการ BURN OUT กรณีศึกษา ทนายอาวุโส จองมยองซอก

อาการ BURN OUT กรณีศึกษา ทนายอาวุโส จองมยองซอก

การได้ทำงานที่เรารักก็ถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งในชีวิต และยิ่งได้ทำงานกับองค์กรดีที่นั้นถือว่าเป็นโชคสองชั้นเลยทีเดียว แต่ใช่ว่าเราทุกคนจะได้สัมผัสกับความสุขที่ทั้งได้ทำงานที่ชอบและองค์กรที่ดี

เพราะถึงจะเป็นงานที่เรารักมากขนาดไหนแต่หากต้องเจอกับองค์กรที่สร้างความกดดันมากๆ ก็อาจจะทำให้คนทำงานอย่างเราๆ เกิดอาการ Burnout ขึ้นได้

++ อาการ Burnout

อาการ Burnout เป็นสภาวะ “ชั่วคราว” เกิดจากความเครียดและงานหนัก ค่อนข้างเป็นเรื่องของบุคคล และเห็นอาการชัดเจนทำให้บุคคลและองค์กรก็สามารถเยียวยาได้ทัน

ขณะที่กับ Brownout ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความเหนื่อยจากการทำงาน แต่เป็นความหน่ายกับเงื่อนไขและระบบขององค์กร คนๆ นั้นจะยังทำงานได้เต็มที่ทุกอย่าง ไม่แสดงอาการ แต่จะค่อยๆ ลดทอนความรู้สึกผูกพันกับงานหรือองค์กรจนหมดไปในที่สุด

++ การ Burnout ของทนายอาวุโส “จองมยองซอก”

จากซีรีส์ Extraordinary Attorney Woo ทนายอาวุโส “จองมยองซอก” เป็นหนึ่งในคนทำงานส่วนใหญ่ของประเทศที่ทุ่มเทกับการทำงานหนัก 

หลายครั้งในซีรีส์ทำให้เห็นว่า เขาอดหลับอดนอน ทำงานจนถึงเช้า กินอาหารบนโต๊ะทำงานเป็นส่วนใหญ่ และอาหารที่กินอย่างรีบเร่งเพราะต้องรีบทำงาน รีบประชุม รีบออกไปพบลูกความ ส่วนใหญ่ก็เป็นฟาสต์ฟู้ด

 เขาไม่เคยหยุดงาน ไม่เคยพักร้อน แม้กระทั่งตอนแต่งงานและอยู่ในช่วงฮันนีมูน เขายังมีแต่งาน งาน และงาน จนสุดท้ายภรรยาที่อดทนกับเขามา 8 ปีก็ขอหย่าขาดจากเขา เขาเคยบอกใครสักคนว่า เคยคิดอยากจะขอคืนดีกับภรรยา แต่เขาไม่รู้จะเริ่มต้นบอกเธอยังไง สุดท้าย “งาน” ที่เคยกลืนกินชีวิตส่วนตัวและชีวิตครอบครัวของเขา ก็กลืนกิน “สุขภาพ” ของเขาด้วย

หลายครั้งที่ภาวะการหมดไฟของทนายอาวุโส “จองมยองซอก” มักเกิดขึ้นจากการที่เราแบกรับภาระมากเกินไปจนที่ไม่รู้ตัว ช่วงเวลาพักผ่อนหลังจาก Burnout จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดี ที่เขาจะได้ตัดสินว่าพร้อมจะปลดอะไรที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิตการทำงานบ้าง

++ ภาวะ Burnout มักเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ตกอยู่ในสภาวะการทำงานที่เคร่งเครียดและกดดันเป็นเวลานานจนเกินไป ต้องรับผิดชอบทำงานในส่วนที่ตนเองไม่ได้มีความรักและปรารถนาที่จะทำ (Passion) ขาดความถนัด หรืองานมีลักษณะน่าเบื่อ ขาดความท้าทาย ไม่ได้รับความใส่ใจ การยอมรับ หรือได้รับค่าตอบแทนน้อย ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำงานมีปริมาณมากแต่อัตราคนน้อย หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานขาดแคลน

องค์กรขาดความมั่นคง ความชัดเจนในนโยบายการบริหาร หรือมีค่านิยมองค์กรที่ขัดแย้งกับค่านิยมในใจของบุคคลระบบการทำงานขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถตัดสินใจหรือไม่มีอำนาจในการสั่งการ แต่มีความรับผิดชอบมากความไม่ยุติธรรมในองค์กร ความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงานหรือระหว่างลูกน้องกับเจ้านาย

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของบุคคล ทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอนอกเหนือจากการทำงานแล้ว ยังมีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบครอบครัวหรือสิ่งอื่นๆ โดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอ เช่น ต้องดูแลพ่อแม่สูงอายุและลูกเพียงลำพังอยู่ในสัมพันธภาพกับคู่สมรสหรือครอบครัวที่มีปัญหาความขัดแย้ง ไม่รู้สึกปลอดภัย ค่านิยมการทำงานหนักโดยไม่จำเป็น

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพส่วนบุคคล เป็นคนที่ยึดติดความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism) มีมาตรฐานในการทำงานสูงจนเกินไปไม่ยืดหยุ่น ต้องการที่จะควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปในทิศทางของตนมีความคาดหวังที่มากเกินกว่าความเป็นจริง

++ หยุดพักเถอะ เมื่อมีพบว่า BURN OUT

นอกจากการหยุดพัก เพื่อหาจังหวะใหม่ในการทำงานให้กับตัวเองแล้ว ยังมีคำแนะนำว่า ทางออกในระยะยาวๆ คือ การใช้เวลาที่หยุดพักนี่แหละ มาคิดใคร่ครวญกับตัวเองดู เช่น การตั้งคำถามถึงอนาคตที่เราต้องการ มีอะไรบ้างที่เราต้องปรับปรุง เช่นเดียวกับ เราแบกรับอะไรไว้เยอะเกินไปรึเปล่า แล้วเราจะสามารถขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้าง 

หลายครั้งที่ภาวะการหมดไฟ มักเกิดขึ้นจากการที่เราแบกรับภาระมากเกินไปจนที่ไม่รู้ตัว ช่วงเวลาพักผ่อนหลังจาก Burnout จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ตัดสินว่าพร้อมจะปลดอะไรที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิตการทำงานบ้าง