อว.ชูโครงการ 'มหาวิทยาลัยสู่ตำบล' ดัน 'ไพลศรีสะอาด' สร้างรายได้ท้องถิ่น

อว.ชูโครงการ 'มหาวิทยาลัยสู่ตำบล' ดัน 'ไพลศรีสะอาด' สร้างรายได้ท้องถิ่น

กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน จัดทำโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยทีมศรีสะอาด ร่วมคิดค้นและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย แบรนด์ “ไพลศรีสะอาด” เป็นสินค้าของตำบลเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนแก่ชาวบ้านและชุมชน 

หลังจากที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดให้มีโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยได้เปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล 77 จังหวัด กว่า 68,350 คน เข้าทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
 
ทีมศรีสะอาด เป็นหนึ่งในทีมที่เข้าร่วมทำงานในโครงการนี้ ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยรับผิดชอบตำบลศรีสะอาด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ปัจจุบันตำบลศรีสะอาดมีฐานะเป็นเทศบาลตำบลศรีสะอาด มีทั้งหมด 9 หมู่บ้านด้วยกัน คือ บ้านสะอาก (หมู่ 1)  บ้านภูมิร่มเย็น (หมู่ 2) บ้านคล้อ (หมู่ 3) บ้านศรีษะกระบือ(หมู่ท 4)  บ้านโคกกว้าง (หมู่ 5)   บ้านศรีสะอาด (หมู่ 6) บ้านศรีสมบูรณ์ (หมู่ 7) บ้านตะเคียนบังอีง (หมู่ 8) และ บ้านหนองตะเคียน (หมู่ 9)  โดยเป็น 1 ใน 22 ตำบล ของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีจำนวนประชากรในตำบลทั้งสิ้น 4,181 คน

สำหรับการปลูกพืชสมุนไพรไพล นับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านและชุมชนให้ดีขึ้นกว่าเดิม และยังช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นองค์ความรู้ให้อยู่คู่กับชาวบ้านและชุมชนสืบไป อีกทั้งยังเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่จะช่วยสร้างรายได้อย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการขายข้าวที่เป็นรายได้หลักของชาวบ้านในพื้นที่ หรือการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่ชาวบ้านเคยปลูกอยู่แต่เดิม นอกจากนี้ สมุนไพรไพล สามารถปลูกได้ง่ายในพื้นที่ว่างเปล่าและใช้เวลาปลูกเพียง 10 เดือน ก็สามารถนำหัวไพลดิบมาจำหน่ายได้ ซึ่งมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก แต่หากนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงมากขึ้นด้วย

ต่อมา ทีมศรีสะอาดได้ลงพื้นที่ปฏิบัติการ โครงการ การพัฒนาและแปรรูปไพลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดยสมาชิกของทีมศรีสะอาดมีกันทั้งสิ้น 10 คน แบ่งเป็นนักศึกษาที่จบปริญญาตรีในพื้นที่ 7 คน และประชาชนในพื้นที่ 3 คน มี นายกฤษฎารัตน์ ลีเขาสูง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลและประสานงานกับทางคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลศรีสะอาดและชาวบ้านในตำบลศรีสะอาด ทั้ง 9 หมู่บ้าน รวมกว่า 40 คน 

จากนั้นได้ร่วมกันทำกิจกรรมในโครงการ การพัฒนาและแปรรูปไพลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ด้วยการจัดอบรมทางวิชาการเกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพรไพลและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไพล รวมทั้ง การจัดอบรมความรู้ด้านการตลาดเบื้องต้น เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย กำไรและขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจ ทั้งในส่วนของการปลูกไพลและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไพลศรีสะอาดให้แก่ชาวบ้าน ซึ่งจัดขึ้นที่วัดศรีสะอาด และที่เทศบาลตำบลศรีสะอาด 

อว.ชูโครงการ \'มหาวิทยาลัยสู่ตำบล\' ดัน \'ไพลศรีสะอาด\' สร้างรายได้ท้องถิ่น การจัดทำกิจกรรมดังกล่าว เกิดผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม โดยชาวบ้านในตำบลศรีสะอาดได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทราบถึงคุณค่า ประโยชน์และสรรพคุณทางยาสมุนไพรของไพล รวมทั้งได้ช่วยกันปลูกไพลและแปรรูปผลิตภัณฑ์ไพลในชื่อแบรนด์ “ไพลศรีสะอาด” โดยมีแพ็กเกจจิ้งที่มีทั้งสเปรย์น้ำมันไพลศรีสะอาด เจลไพลศรีสะอาด ครีมนวดไพลศรีสะอาด และน้ำมันไพลศรีสะอาด ซึ่งเป็นสินค้าและความภาคภูมิใจของชาวตำบลศรีสะอาด เพื่อจัดจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ต่อไป 

นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับทาง อว.ส่วนหน้า และทางสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการโครงการ U2T for BCE ขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 2565 โดยเป็นงานมหกรรมสินค้าและการแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชน จากทุกตำบลในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร ที่ชาวบ้านและบัณฑิตจบใหม่ในพื้นที่ได้ร่วมกันคิดค้น ต่อยอดและจัดทำสินค้าขึ้นมาเป็นแบรนด์ของตำบลนั้น ๆ มาจัดแสดงและจำหน่ายภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือโครงการ U2T for BCE